Skip to main content

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เนื้อหา ประวัติ สิ่งก่อสร้างภายในวัด ลำดับเจ้าอาวาส การศึกษา อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางwww.watpho.com"การอ่านชื่อพระอารามหลวง"ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวงก้าวไปในบุญ :เสริมมงคลไหว้พระ ๙ วัดพจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อมพระพุทธไสยาสเที่ยว"วัดโพธิ์" สัมผัสวัดเก่า ในมุมมองใหม่ดูของดี ที่ "วัดโพธิ์"วัดสุทัศน์พระระเบียงพระเจดีย์สี่รัชกาล พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว พระเจดีย์รายพระมหาสถูป กำแพงแก้วเขาฤๅษีดัดตนการนวดตามแบบท่าฤๅษีดัดตนเที่ยว"ท่าเตียน"ชุมชนเก่าแก่คู่วัดโพธิ์อดีตเจ้าอาวาสพิพิธพาเพลินมหาวิทยาลัยวัดโพธิ์ประวัติวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเว็บไซต์วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน)ภาพพาโนรามา 360 องศา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามภาพพาโนรามา 360 องศาพระพุทธไสยาสน์วิกิแมเปียกูเกิลแมปส์มัลติแมปโกลบอลไกด์เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์13°44′47″N 100°29′36″E / 13.746519°N 100.493338°E / 13.746519; 100.493338surabutr ภาพ 3 ใน 4 ของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ยามเย็น

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดพระปฐมเจดีย์วัดพระพุทธบาท (สระบุรี)วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์วัดสุทัศนเทพวรารามวัดอรุณราชวรารามวัดญาณสังวรารามวัดพระธาตุพนมวัดพระธาตุหริภุญชัยวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารวัดพระศรีมหาธาตุ (บางเขน)วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (พิษณุโลก)วัดพระสิงห์


วัดประจำรัชกาลพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหารวัดไทยในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายวัดในเขตพระนครไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพมหานครสิ่งก่อสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยามรดกโลกในประเทศไทย


พระอารามหลวงวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมหาวิทยาลัยยูเนสโกมรดกความทรงจำโลกมรดกความทรงจำโลกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมัยอยุธยากรุงธนบุรีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพ.ศ. 2331พ.ศ. 2344พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตารพนมเปญราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพ.ศ. 2411พระพุทธรูปแม่น้ำเจ้าพระยาวิหารพระพุทธไสยาสพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสาวิกาเอตทัคคะอุบาสกเอตทัคคะอุบาสิกาเอตทัคคะมงคล 108 ประการมหาปุริสลักขณะชมพูทวีปจีนพระศรีสรรเพชดาญาณวัดพระศรีสรรเพชญ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระเจดีย์ศรีสุริโยทัยวัดสวนหลวงสบสวรรค์พระพุทธศาสดาพระพุทธเทวปฏิมากรพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชท้าวจตุโลกบาลการแพทย์แผนโบราณสังกะสีดีบุกรามเกียรติ์ท่าเตียนพระอิศวร










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา






















วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร
02-วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม.jpg
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวัดโพธิ์ ท่าเตียน
ที่ตั้ง2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไทย ประเทศไทย 10200
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธเทวปฏิมากร
พระพุทธรูปสำคัญ
พระพุทธไสยาส
พระพุทธโลกนาถ
พระพุทธศาสดามหากรุณาธิคุณ
พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์
พระพุทธชินราชวโรวาท
พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ
พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก
พระศรีสรรเพชญุดาญาณ
วัดประจำรัชกาลที่ 1
จุดสนใจวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารทิศฝั่งตะวันออก (วิหารพระโลกนาถ) และพระอุโบสถ
กิจกรรมนวดแผนไทย
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนภายในอาคาร บางอาคารห้ามถ่ายภาพ ควรสังเกตป้าย
เว็บไซต์www.watpho.com

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[1] (/พระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม/[2]) หรือ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[3] และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[4] และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์[5] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน[6]




เนื้อหา





  • 1 ประวัติ


  • 2 สิ่งก่อสร้างภายในวัด

    • 2.1 เขตวัดโพธาราม (เดิม)

      • 2.1.1 วิหารพระพุทธไสยาส


      • 2.1.2 พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล


      • 2.1.3 ศาลาการเปรียญ



    • 2.2 เขตพระอุโบสถ

      • 2.2.1 พระอุโบสถ


      • 2.2.2 พระวิหารทิศ


      • 2.2.3 พระเจดีย์

        • 2.2.3.1 พระเจดีย์ราย


        • 2.2.3.2 พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว


        • 2.2.3.3 พระมหาสถูป




    • 2.3 ประติมากรรมอื่น ๆ

      • 2.3.1 รูปปั้นฤๅษีดัดตน


      • 2.3.2 ยักษ์วัดโพธิ์




  • 3 ลำดับเจ้าอาวาส


  • 4 การศึกษา

    • 4.1 มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย


    • 4.2 โรงเรียนภายในวัด



  • 5 อ้างอิง


  • 6 แหล่งข้อมูลอื่น




ประวัติ




พิธีราชาภิเษกของพระนโรดมที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า "วัดโพธาราม" หรือ "วัดโพธิ์" ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม
เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช


นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร" และภายในพระอารามยังได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร โดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย


พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่มีความสำคัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์


นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2411 ว่า "วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คนยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน" และมีพระราชดำริว่า "ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ชนะ"[7]



สิ่งก่อสร้างภายในวัด




แผนผังวัดพระเชตุพนฯ อย่างคร่าวๆ


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึงพระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ



เขตวัดโพธาราม (เดิม)


ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ (ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล



วิหารพระพุทธไสยาส




พระพุทธไสยาส


วิหารพระพุทธไสยาส[8] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่โปรดฯ ให้ขยายพระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์โปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วย[9]


ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน[9][10]



พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล




พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ (กลาง) , พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน (ซ้าย) ,พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร (ขวา) และพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย (หน้า)


พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ[11]


เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชดาญาณจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1


ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์มีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิธาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย


เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์โปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้[12] ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4


หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 มีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็นแบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น"[13] ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา



ศาลาการเปรียญ


เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนแล้ว จึงได้ลดฐานะเป็นศาลาการเปรียญ โดยภายในมี "พระพุทธศาสดา" ประดิษฐานเป็นพระประธาน



เขตพระอุโบสถ


เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่



พระอุโบสถ


ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)



พระวิหารทิศ


ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ[14] ได้แก่



  • พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก)


  • พระวิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช


  • พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ


  • พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญจวัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย


พระเจดีย์


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย[5] ซึ่งสามารถแบ่งพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 4 องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตวัดโพธารามเดิม ส่วนที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถนั้น ได้แก่ พระเจดีย์ราย 71 องค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวรวม 20 องค์ และพระเจดีย์ทรงปรางค์หรือพระมหาสถูป 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 99 องค์ โดยพระเจดีย์ที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถ มีรายละเอียดดังนี้



พระเจดีย์ราย

พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่บริเวณโดยรอบของพระระเบียงชั้นนอกมีจำนวนทั้งสิ้น 71 องค์[15] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมมีพระราชประสงค์ให้เป็นให้เป็นที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์ พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียว นับเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระเจดีย์อื่น ๆ พระเจดีย์รายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองที่งามที่สุดของยุครัตนโกสินทร์[16]



พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว

พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระเจดีย์ 5 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ตรงกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 องค์ที่ล้อมรอบอยู่ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง 4 ด้าน นับรวมได้ 20 องค์ ลักษณะพระเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ล้อมรอบองค์กลางซึ่งเป็นเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์[15]



พระมหาสถูป

พระมหาสถูป เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระอัคฆีย์เจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน บริเวณซุ้มของพระเจดีย์มีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลหล่อด้วยดีบุก แล้วลงรักปิดทอง ประดิษฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านบนมีรูปยักษ์ซึ่งหล่อด้วยดีบุกแบกยอดปรางค์ พระมหาสถูปมีชื่อเรียกที่ต่างกัน[17] ดังนี้


  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป

  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป

  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป

  • องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป


ประติมากรรมอื่น ๆ


นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น



รูปปั้นฤๅษีดัดตน




เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโคลงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตนทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น[18][19]



ยักษ์วัดโพธิ์




ยักษ์วัดโพธิ์บริเวณซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป


ยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์[10]นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดแจ้งกลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา[20]



ลำดับเจ้าอาวาส


นับตั้งแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระเชตุพนฯ มีเจ้าอาวาสมาแล้ว 15 รูป ดังนี้[21]


































































ลำดับที่รายนามเริ่มวาระ
สิ้นสุดวาระ
1สมเด็จพระพนรัตน (แก้ว)พ.ศ. 2325พ.ศ. 2356
2สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสพ.ศ. 2356พ.ศ. 2396
3พระพิมลธรรม (ยิ้ม)พ.ศ. 2400พ.ศ. 2412
4สมเด็จพระวันรัตน์ (สมบุรณ์)พ.ศ. 2415พ.ศ. 2419
5พระพิมลธรรม (อ้น)พ.ศ. 2421พ.ศ. 2432
6หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์)พ.ศ. 2434พ.ศ. 2443
7พระอุบาฬีคุณูปมาจารย์ (ปาน)พ.ศ. 2443พ.ศ. 2447
8พระธรรมเจดีย์ (แก้ว)พ.ศ. 2448พ.ศ. 2453
9สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร)พ.ศ. 2453พ.ศ. 2484
10สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต)พ.ศ. 2484พ.ศ. 2490
11สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)พ.ศ. 2490พ.ศ. 2516
12พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (กมล กมโล)พ.ศ. 2517พ.ศ. 2520
13พระวิสุทธาธิบดี (สง่า ปภสฺสโร)พ.ศ. 2520พ.ศ. 2534
14พระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร)พ.ศ. 2534พ.ศ. 2557
15พระเทพวีราภรณ์ (สีนวล ปญฺญาวชิโร)พ.ศ. 2557ปัจจุบัน


การศึกษา



มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่าง ๆ จารึกลงบนศิลาจารึกหรือแผ่นศิลา รวมทั้งได้ปั้นฤๅษีดัดตน ประดับไว้ภายในบริเวณวัด ซึ่งอาจจะแบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดประวัติการสร้างวัดพระเชตุพนฯ หมวดตำรายาแพทย์แผนโบราณ หมวดอนามัย หมวดประเพณี หมวดวรรณคดีไทย หมวดสุภาษิต หมวดทำเนียบ (จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) และหมวดพระพุทธศาสนา[12] โดยเมื่อเทียบในปัจจุบันอาจจะแบ่งออกเป็นคณะต่าง ๆ ดังนี้ คณะประวัติศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ (ไม่เป็นทางการ)[22]



โรงเรียนภายในวัด



  • โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น


  • โรงเรียนวัดพระเชตุพน เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 - ประถมศึกษาปีที่ 6

ในวัดมีบริการนวดโดยหมอนวดซึ่งศาลานวดจะอยู่ทางทิศตะวันออกของพระอุโบสถ



อ้างอิง




  1. https://readthecloud.co/walk-wat-pho/


  2. "การอ่านชื่อพระอารามหลวง". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2558. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em


  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๙


  4. http://www.siamrath.co.th/UIFont/NewsDetail.aspx?cid=70&nid=10887


  5. 5.05.1 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ก้าวไปในบุญ :เสริมมงคลไหว้พระ ๙ วัด, กุมภาพันธ์ 2548


  6. Global Market Information Database, Tourist Attractions - World, 10 Apr 2008


  7. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม, หน้า 86-87, จากเว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน


  8. ปัจจุบันทางวัดใช้ว่า "พระพุทธไสยาส" (ไม่มี น์) ตามมติของสมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) โดยให้เหตุผลว่า คำว่า "ไสยาส" แปลว่า นอน ส่วนคำว่า ไสยาสน์ มาจาก ไสยา + อาสน แปลว่า นอนและนั่ง


  9. 9.09.1 พระพุทธไสยาส


  10. 10.010.1 ผู้จัดการออนไลน์,เที่ยว"วัดโพธิ์" สัมผัสวัดเก่า ในมุมมองใหม่, 29 มกราคม 2548


  11. ผู้จัดการออนไลน์, ดูของดี ที่ "วัดโพธิ์", 21 มกราคม 2548


  12. 12.012.1 ผู้จัดการออนไลน์, วัดสุทัศน์, 17 ธันวาคม 2545


  13. ประชุมพงศาวดาร เล่มที่ 15 (ประชุมพงศาวดารภาคที่ 25 ถึง 27) , องค์การค้าของคุรุสภา, 2507


  14. พระระเบียง


  15. 15.015.1 พระเจดีย์สี่รัชกาล พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว พระเจดีย์ราย จาก เว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


  16. วัชรี วัชรสินธุ์, วัดพระเชตุพน มัชฌิมประเทศอันวิเศษในชมพูทวีป, สำนักพิมพ์มติชน,กันยายน 2548 ISBN 974-323-476-4


  17. พระมหาสถูป กำแพงแก้ว จาก เว็บไซต์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


  18. เขาฤๅษีดัดตน


  19. การนวดตามแบบท่าฤๅษีดัดตน


  20. ผู้จัดการออนไลน์, เที่ยว"ท่าเตียน"ชุมชนเก่าแก่คู่วัดโพธิ์, 19 กันยายน 2549


  21. อดีตเจ้าอาวาส, วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


  22. พิพิธพาเพลินมหาวิทยาลัยวัดโพธิ์, สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ



  • ประวัติวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม


แหล่งข้อมูลอื่น









สถานีย่อย:ประเทศไทย


สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา



  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

  • เว็บไซต์วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน)

  • ภาพพาโนรามา 360 องศา วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

  • ภาพพาโนรามา 360 องศาพระพุทธไสยาสน์

  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
    • ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์

    • แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์

    • ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์


พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′47″N 100°29′36″E / 13.746519°N 100.493338°E / 13.746519; 100.493338


  • surabutr ภาพ 3 ใน 4 ของพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ยามเย็น



ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร&oldid=8103566"










รายการเลือกการนำทาง



























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.356","walltime":"0.472","ppvisitednodes":"value":1384,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":62729,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":5464,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":13,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":3,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":23494,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":1,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 357.198 1 -total"," 32.17% 114.898 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 22.40% 80.019 1 แม่แบบ:Cite_web"," 16.97% 60.600 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_พุทธศาสนสถาน"," 15.80% 56.443 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล"," 9.04% 32.284 1 แม่แบบ:Wikisource"," 8.03% 28.673 1 แม่แบบ:คอมมอนส์-หมวดหมู่"," 7.75% 27.666 2 แม่แบบ:Sister"," 7.11% 25.414 1 แม่แบบ:Geolinks-bldg"," 6.59% 23.556 2 แม่แบบ:Side_box"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.093","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2357088,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1302","timestamp":"20190323075602","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e27u0e31u0e14u0e1eu0e23u0e30u0e40u0e0au0e15u0e38u0e1eu0e19u0e27u0e34u0e21u0e25u0e21u0e31u0e07u0e04u0e25u0e32u0e23u0e32u0e21u0e23u0e32u0e0au0e27u0e23u0e21u0e2bu0e32u0e27u0e34u0e2bu0e32u0e23","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q1059910","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q1059910","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2005-07-02T10:11:46Z","dateModified":"2019-02-05T06:09:51Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/82/02-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":136,"wgHostname":"mw1272"););

Popular posts from this blog

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Masuk log Menu navigasi

อาณาจักร (ชีววิทยา) ดูเพิ่ม อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง10.1086/39456810.5962/bhl.title.447410.1126/science.163.3863.150576276010.1007/BF01796092408502"Phylogenetic structure of the prokaryotic domain: the primary kingdoms"10.1073/pnas.74.11.5088432104270744"Towards a natural system of organisms: proposal for the domains Archaea, Bacteria, and Eucarya"1990PNAS...87.4576W10.1073/pnas.87.12.4576541592112744PubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by hand"A revised six-kingdom system of life"10.1111/j.1469-185X.1998.tb00030.x9809012"Only six kingdoms of life"10.1098/rspb.2004.2705169172415306349"Kingdoms Protozoa and Chromista and the eozoan root of the eukaryotic tree"10.1098/rsbl.2009.0948288006020031978เพิ่มข้อมูล