Skip to main content

มหาเถรสมาคม เนื้อหา ประวัติ กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน หน่วยงาน อ้างอิง รายการเลือกการนำทางmahathera.onab.go.thพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕"พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์' (ร.ศ. 121)""พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484"พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑

มหาเถรสมาคมสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมหานิกายธรรมยุติกนิกายจีนนิกายอนัมนิกายสภาประมุขบาทหลวงสภาคริสตจักรสหกิจคริสเตียนสหคริสตจักรแบ๊บติสต์แอดเวนทิสต์คาทอลิกโปรเตสแตนต์ออร์ทอดอกซ์สมาคมศรีคุรุสิงห์สภานานักปันณินิลิมเลกรมการศาสนาเสรีภาพทางศาสนา


มหาเถรสมาคม


อังกฤษคณะรัฐมนตรีสมเด็จพระสังฆราชผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชพระมหากษัตริย์สมเด็จพระราชาคณะพระราชาคณะพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าคณะใหญ่พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ตำแหน่งต่าง ๆประเทศสยามสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3สังฆสภาสมาชิกจอมพลแปลก พิบูลสงครามรัฐสภากฎหมายปกครองกฎหมายรัฐธรรมนูญราชกิจจานุเบกษาสมเด็จพระสังฆราชพระมหากษัตริย์สมเด็จพระสังฆราชนายกรัฐมนตรีพระมหากษัตริย์สมเด็จพระสังฆราชนายกรัฐมนตรีราชกิจจานุเบกษาพระมหากษัตริย์สมเด็จพระสังฆราชผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชนายกรัฐมนตรีพระมหากษัตริย์ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศพระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)วัดยานนาวาสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาพระเทพพุทธิวิเทศ (ประชัน ชุตินฺธโร)วัดพุทธาวาสสหรัฐอเมริกาพระธรรมทูตไทยอินเดียเนปาลพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)วัดไทยพุทธคยาอินเดียสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรปพระธรรมพุทธิวงศ์ (สวัสดิ์ อตฺถโชโตวัดพุทธารามเนเธอร์แลนด์องค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์พระเทพภาวนามงคล (ธีรวัฒน์ อมโร)วัดพุทธปทีปสหราชอาณาจักรสมัชชาสงฆ์ไทยในสิงคโปร์พระเทพสิทธิวิเทศ (สุจินต์ โชติปญฺโญ)วัดอานันทเมตยารามสิงคโปร์พระธรรมทูตไทยสายโอเชียเนียพระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต)วัดนาคปรกกรุงเทพมหานครพระราชาคณะเจ้าคณะรอง










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




มหาเถรสมาคม




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา












มหาเถรสมาคม
The Sangha Supreme Council of Thailand

Buddhism dham jak.png
ตราธรรมจักร
ที่ทำการ

ไทย
อาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
ภาพรวม
วันก่อตั้ง
1 มกราคม พ.ศ. 2506 (56 ปี)

[1]


เขตอำนาจ
ทั่วราชอาณาจักร
บุคลากร
300,000 รูป (จำนวนพระสงฆ์ในประเทศไทยโดยประมาณ)
ผู้บริหาร

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร), ประธานกรรมการ
คณะกรรมการชุดปัจจุบัน, ดูในบทความ
พ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์[2], เลขาธิการ
สิปป์บวร แก้วงาม, ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม ในฐานะโฆษกมหาเถรสมาคม
ลูกสังกัด

ดูในบทความ
เจ้าคณะทั่วประเทศไทย
พระสงฆ์ทั่วประเทศไทย
เว็บไซต์

mahathera.onab.go.th

มหาเถรสมาคม (อังกฤษ: The Sangha Supreme Council of Thailand) เป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ไทยตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทำหน้าที่คล้ายกับคณะรัฐมนตรี โดยมีสมเด็จพระสังฆราชหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่เกิน 20 รูปซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ หรือพระภิกษุซึ่งมีพรรษาอันสมควรและมีจริยวัตรในพระธรรมวินัยที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์




เนื้อหา





  • 1 ประวัติ

    • 1.1 การจัดตั้งมหาเถรสมาคมครั้งแรก


    • 1.2 ยุคสังฆสภา


    • 1.3 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505


    • 1.4 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535


    • 1.5 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560


    • 1.6 พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561



  • 2 กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน


  • 3 หน่วยงาน

    • 3.1 หน่วยงานในปกครองมหาเถรสมาคม


    • 3.2 หน่วยงานในบัญชาของมหาเถรสมาคม คณะสงฆ์อื่น


    • 3.3 หน่วยงานเผยแผ่พระธรรมทูตในต่างประเทศ


    • 3.4 หน่วยงานรับสนองงานของมหาเถรสมาคม


    • 3.5 หน่วยงานเผยแพร่พระศาสนาในประเทศ


    • 3.6 หน่วยงานด้านการศึกษาในความดูแลของมหาเถรสมาคม



  • 4 อ้างอิง




ประวัติ



การจัดตั้งมหาเถรสมาคมครั้งแรก


มหาเถรสมาคมเป็นถ้อยคำที่ใช้ครั้งแรกใน พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) อันตราขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[3] คำว่า "เถระ" หมายถึง "พระผู้ใหญ่, ตามพระวินัยกำหนดว่า พระมีพรรษาตั้งแต่สิบขึ้นไป เรียกว่า พระเถระ"[4] โดยตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) มาตรา 4 ให้เรียกสมเด็จเจ้าคณะใหญ่ และพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ตำแหน่งต่าง ๆ ว่า "มหาเถระ" และมหาเถระเหล่านี้จะประชุมกันเพื่อถวายความเห็นแก่พระมหากษัตริย์ในเรื่องพุทธศาสนาตามที่ทรงปรึกษา ที่ประชุมนี้เรียกว่า "มหาเถรสมาคม" โดยต้องมีมหาเถระอย่างน้อยห้ารูปมาประชุม จึงจะเป็นองค์ประชุม[5]พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) ไม่ได้ใช้บังคับทันที แต่จะมีประกาศให้ใช้บังคับในมณฑลต่าง ๆ เป็นรายมณฑลเรื่อยไปจนทั่วประเทศสยาม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย)



ยุคสังฆสภา


ต่อมาใน พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 3 ยกเลิก พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) แล้วตรา พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ขึ้นใช้แทน[6] โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2484[7] พระราชบัญญัติใหม่นี้เปลี่ยนชื่อ "มหาเถรสมาคม" เป็น "สังฆสภา" โดยให้ประกอบด้วยกรรมการที่เรียก "สังฆสภาสมาชิก" จำนวนไม่เกินสี่สิบห้ารูป และประธานสังฆสภานั้นมาจากการแต่งตั้งของสมเด็จพระสังฆราชตามคำแนะนำของสังฆสภา[8]


พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 เป็นแนวคิดของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ที่จะเลียนการปกครองฝ่ายอาณาจักรมาใช้แก่ฝ่ายศาสนจักร โดยเรียก "สังฆสภา" ให้เป็นทำนองเดียวกับ "รัฐสภา" และมีอำนาจหน้าที่ทำนองเดียวกันด้วย คือ ตราสังฆาณัติ แล้วถวายให้สมเด็จพระสังฆราชลงพระนาม จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติหลาย ๆ บทเลียนมาจากกฎหมายฝ่ายอาณาจักรหมวดหมู่กฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ อาทิ ให้สังฆสภามีอำนาจตราสังฆาณัติได้ ถ้าสมเด็จพระสังฆราชไม่ทรงเห็นด้วยหรือไม่ทรงลงพระนามตามกำหนด และสังฆสภาลงมติเห็นชอบตามเดิม ทำนองเดียวกับรัฐสภามีอำนาจตราพระราชบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นด้วยหรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยตามกำหนด และรัฐสภามีมติเห็นชอบตามเดิม



พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505


  • มหาเถรสมาคม มีอำนาจและหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 [9]


พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535


  • มหาเถรสมาคม มีอำนาจและหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 [10]


พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560


เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[11] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 ว่าด้วยการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช จากเดิมเป็น "พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ" โดยให้เหตุผลว่า โดยที่ตามโบราณราชประเพณีที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานนั้น เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งต่อมาได้เริ่มมีบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เป็นต้นมา สมควรบัญญัติกฎหมายให้สอดคล้องเพื่อเป็นการสืบทอดและธำรงรักษาไว้ซึ่งโบราณราชประเพณีดังกล่าวโดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ



พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561


เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[12] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยส่วนใหญ่เป็นการมอบพระราชอำนาจให้พระมหากษัตริย์เกี่ยวกับการแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมโดยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งหรือให้ออก โดยจะทรงปรึกษาหารือกับสมเด็จพระสังฆราชก่อนก็ได้ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชโดยทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการที่จะทรงพระกรุณาโปรดหรือมีพระราชวินิจฉัยให้ปฏิบัติเป็นประการอื่นได้ตามพระราชอัธยาศัย โดยทั้งหมดให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ การกำหนดวาระของกรรมการมหาเถรสมาคม การแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่างลง การแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หรือเจ้าคณะภาคและตำแหน่งอื่นตามพระราชดำริ



กรรมการมหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน
























































































กรรมการมหาเถรสมาคม ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
สถานะตามพระราชบัญญัติเดิมรายนามวัดเริ่มวาระวันเกิดและอายุ
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคมสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร)วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารพ.ศ. 256026 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (91 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งสมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต)วัดบวรนิเวศราชวรวิหารพ.ศ. 255217 กันยายน พ.ศ. 2479 (82 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งสมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย)วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารพ.ศ. 255322 ตุลาคม พ.ศ. 2490 (71 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน)วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารพ.ศ. 255622 มกราคม พ.ศ. 2493 (69 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระพรหมวิสุทธาจารย์ (มนตรี คณิสฺสโร)วัดเครือวัลย์วรวิหารพ.ศ. 25551 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (78 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระธรรมธัชมุนี (อมร ญาโณทโย)วัดปทุมวนารามราชวรวิหารพ.ศ. 255523 เมษายน พ.ศ. 2483 (78 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกพ.ศ. 255513 มีนาคม พ.ศ. 2480 (82 ปี)

กรรมการมหาเถรสมาคม ฝ่ายมหานิกาย
สถานะตามพระราชบัญญัติเดิมรายนามวัดเริ่มวาระวันเกิดและอายุ
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)วัดปากน้ำ ภาษีเจริญพ.ศ. 253826 สิงหาคม พ.ศ. 2468 (93 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม)วัดพิชยญาติการามวรวิหารพ.ศ. 25542 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (78 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ)วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหารพ.ศ. 255717 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 (76 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
วัดญาณเวศกวัน (จังหวัดนครปฐม)
พ.ศ. 255912 มกราคม พ.ศ. 2481 (81 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)วัดยานนาวาพ.ศ. 255624 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 (81 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ)วัดปากน้ำ ภาษีเจริญพ.ศ. 25567 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 (81 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน)วัดปากน้ำ ภาษีเจริญพ.ศ. 255723 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (64 ปี)
กรรมการมหาเถรสมาคมโดยแต่งตั้งพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารพ.ศ. 255517 กันยายน พ.ศ. 2498 (63 ปี)

หมายเหตุ : กรรมการมหาเถรสมาคมชุดนี้ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าพระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมชุดใหม่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2561 ดังนั้น จึงไม่มีการแบ่งกรรมการมหาเถรสมาคมเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการโดยแต่งตั้ง ทุกรูปดำรงตำแหน่งสถานะเดียวกัน ยกเว้นประธานกรรมการ จนกว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่



หน่วยงาน



หน่วยงานในปกครองมหาเถรสมาคม



  • เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร


  • เจ้าคณะใหญ่หนเหนือฝ่ายมหานิกาย พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


  • เจ้าคณะใหญ่หนกลางฝ่ายมหานิกาย สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร


  • เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกฝ่ายมหานิกาย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร


  • เจ้าคณะใหญ่หนใต้ฝ่ายมหานิกาย พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง

  • เจ้าคณะใหญ่ชายแดนภาคใต้เขตเผยแผ่พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทยแบบพิเศษ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส

  • เจ้าคณะภาค

  • เจ้าคณะจังหวัด

  • เจ้าคณะอำเภอ

  • เจ้าคณะตำบล

  • เจ้าอาวาส


  • วัดทุกวัดธรรมยุตและมหานิกาย


หน่วยงานในบัญชาของมหาเถรสมาคม คณะสงฆ์อื่น



  • พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เจ้าคณะใหญ่จีนนิกายและประธานกรรมการสงฆ์จีนนิกาย เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม


  • พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (ถนอม เถี่ยนถึก) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายและประธานกรรมการสงฆ์อนัมนิกาย เจ้าอาวาสวัดโลกานุเคราะห์


หน่วยงานเผยแผ่พระธรรมทูตในต่างประเทศ


  • สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

ผู้รักษาการแทนประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) วัดยานนาวา


  • สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
พระเทพพุทธิวิเทศ (ประชัน ชุตินฺธโร) วัดพุทธาวาส สหรัฐอเมริกา


  • สำนักงานพระธรรมทูตไทยในอินเดีย-เนปาล

หัวหน้าพระธรรมทูตไทยในอินเดีย-เนปาล
พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)
วัดไทยพุทธคยา อินเดีย


  • สหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป

ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป
พระธรรมพุทธิวงศ์ (สวัสดิ์ อตฺถโชโต
วัดพุทธาราม เนเธอร์แลนด์


  • องค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์

ประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และตำแหน่งหัวหน้าพระธรรมทูตสายสหราชอาณาจักร
พระเทพภาวนามงคล (ธีรวัฒน์ อมโร)
วัดพุทธปทีป สหราชอาณาจักร


  • สมัชชาสงฆ์ไทยในสิงคโปร์

ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสิงคโปร์
พระเทพสิทธิวิเทศ (สุจินต์ โชติปญฺโญ)
วัดอานันทเมตยาราม สิงคโปร์


  • สำนักงานพระธรรมทูตไทยสายโอเชียเนีย

หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายโอเชียเนีย
พระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) วัดนาคปรก กรุงเทพมหานคร



หน่วยงานรับสนองงานของมหาเถรสมาคม


  • สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


หน่วยงานเผยแพร่พระศาสนาในประเทศ



  • สำนักงานแม่กองงานพระธรรมทูต สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) แม่กองงานพระธรรมทูต


  • สำนักงานคณะพระธรรมจาริก พระเทพกิตติเวที (ฉ่ำ ปุญฺญชโย) ประธานคณะพระธรรมจาริก


หน่วยงานด้านการศึกษาในความดูแลของมหาเถรสมาคม



  • แม่กองธรรมสนามหลวง พระพรหมมุนี (สุชิน อคฺคชิโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร


  • แม่กองบาลีสนามหลวง พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ


  • นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระธรรมปัญญาบดี (พีร์ สุชาโต) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร


  • อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พระเทพบัณฑิต (ธรณิศ ชาคโร) วัดเฉลิมกาญจนาภิเษก จังหวัดอ่างทอง


  • นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร


อ้างอิง




  1. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๑๕ ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙-๔๔ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๐๕


  2. มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ บัญญัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง


  3. "พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์' (ร.ศ. 121)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 19, แผ่นที่ 13, 29 มิถุนายน ร.ศ. 121, หน้า 213). สืบค้นเมื่อ 2011-08-16..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em


  4. "พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". ม.ป.ป. Text "urlhttp://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp" ignored (help); Missing or empty |url= (help); |access-date= requires |url= (help)


  5. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ (ร.ศ. 121) มาตรา 4:

    "สมเด็จเจ้าคณะใหญ่ทั้ง 4 ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ 1 เจ้าคณะใหญ่คณะใต้ 1 เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุติกา 1 เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง 1 ทั้งพระราชาคณะเจ้าคณะรองในคณะเหนือ คณะใต้ คณะธรรมยุติกา คณะกลาง ทั้ง 4 ตำแหน่งนั้น ยกเป็นพระมหาเถระที่ทรงปรึกษาในการพระศาสนาและการปกครองบำรุงสังฆมณฑลทั่วไป ข้อภารธุระในพระศาสนาหรือในสังฆมณฑลซึ่งได้โปรดให้พระมหาเถระทั้งนี้ประชุมวินิจฉัยในที่มหาเถรสมาคมตั้งแต่ 5 พระองค์ขึ้นไป คำตัดสินของมหาเถรสมาคมนั้น ให้เป็นสิทธิ์ขาด ผู้ใดจะอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปอีกไม่ได้"




  6. "พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 58, 14 ตุลาคม 2484, หน้า 1391). สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.


  7. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 58/14 ตุลาคม 2484/หน้า 1391) และมาตรา 2 ว่า:

    "ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"




  8. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484:

    "มาตรา 11. สังฆสภาประกอบด้วยสมาชิก มีจำนวนรวมกันไม่เกินสี่สิบห้ารูป คือ


    " (1) พระเถระชั้นธรรมขึ้นไป


    " (2) พระคณาจารย์ชั้นเอก


    " (3) พระเปรียญเอก


    "...


    "มาตรา 12. ทุกคราวสมัยประชุมสามัญ สมเด็จพระสังฆราชทรงตั้งสมาชิกในสังฆสภาตามมติของสังฆสภา ให้เป็นประธานสภาหนึ่งรูป เป็นรองประธานหนึ่งรูปหรือหลายรูปก็ได้


    "ในการตั้งประธานและรองประธานสังฆสภา ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลงนามรับสนอง"




  9. http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538973928&Ntype=19


  10. http://www.songbr.org/main/god/prb_all.htm


  11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๒ ก หน้า ๑-๒ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๖๐


  12. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๕๐ ก หน้า ๑-๔ วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑







ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=มหาเถรสมาคม&oldid=8116184"










รายการเลือกการนำทาง


























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.296","walltime":"0.380","ppvisitednodes":"value":2808,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":45169,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":4786,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":12,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":17204,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 281.880 1 -total"," 39.27% 110.691 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 28.16% 79.383 2 แม่แบบ:Cite_journal"," 23.62% 66.580 3 แม่แบบ:โครงส่วน"," 22.54% 63.549 1 แม่แบบ:Ambox"," 17.85% 50.318 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_หน่วยงานของรัฐ_2"," 6.64% 18.727 15 แม่แบบ:วันเกิดและอายุ"," 6.33% 17.834 1 แม่แบบ:ศาสนาในไทย"," 6.31% 17.777 16 แม่แบบ:ชื่อเดือน"," 5.49% 15.463 1 แม่แบบ:วันเกิด-อายุ"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.091","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2592364,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1326","timestamp":"20190328043104","ttl":3600,"transientcontent":true););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e21u0e2bu0e32u0e40u0e16u0e23u0e2au0e21u0e32u0e04u0e21","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q13018844","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q13018844","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2007-04-30T17:50:10Z","dateModified":"2019-02-12T18:04:19Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6d/Buddhism_dham_jak.png"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":504,"wgHostname":"mw1326"););

Popular posts from this blog

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Masuk log Menu navigasi

อาณาจักร (ชีววิทยา) ดูเพิ่ม อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง10.1086/39456810.5962/bhl.title.447410.1126/science.163.3863.150576276010.1007/BF01796092408502"Phylogenetic structure of the prokaryotic domain: the primary kingdoms"10.1073/pnas.74.11.5088432104270744"Towards a natural system of organisms: proposal for the domains Archaea, Bacteria, and Eucarya"1990PNAS...87.4576W10.1073/pnas.87.12.4576541592112744PubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by hand"A revised six-kingdom system of life"10.1111/j.1469-185X.1998.tb00030.x9809012"Only six kingdoms of life"10.1098/rspb.2004.2705169172415306349"Kingdoms Protozoa and Chromista and the eozoan root of the eukaryotic tree"10.1098/rsbl.2009.0948288006020031978เพิ่มข้อมูล