Skip to main content

ช่อง 7 เอชดี เนื้อหา ประวัติ การยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก การเปิดและปิดสถานี แบบทั่วไป สถานีถ่ายทอดสัญญาณ ประเภทรายการ แชนแนลเซเว่น บันเทิงเจ็ดสี ดูเพิ่ม อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางดูปูมwww.ch7.comชมรายการสด(เว็บไซต์)(เว็บไซต์)ประกาศสำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจเกี่ยวกับการรับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2511ดูชัดๆ สถานะธุรกิจ "คุณแดง-สุรางค์" ก้างขว้างคอ "ช่อง 7" ประมูลคลื่นดิจิตอล?"ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อใคร?"ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7พระราชกรณียกิจ ประจำวันที่ 5, 6 และ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514ปลดฟ้าผ่า "คุณแดง" พ้นช่อง 7 พิษเรตติ้งตกวูบ"คุณแดง" หลุดวงโคจรช่อง 7 สี สั่งปลดอีกรอบพ้นเก้าอี้บอร์ด'หน่อง' คุมเก้าอี้ช่อง 7 แทน 'ศรัณย์'การปิดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปี 2552ผู้ประกาศข่าว 7HD ยุคปัจจุบันเว็บไซต์ ช่อง 7 HDช่อง 7 HDช่อง 7 HDช่อง 7 HDประกาศเตือนการใช้ เครื่องหมายสัญลักษณ์ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาNBT ส่วนภูมิภาคคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกรมประชาสัมพันธ์บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยชมรมผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิตอลสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกรมประชาสัมพันธ์บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหมสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยสถานีโทรทัศน์ไอทีวีสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกNBTไทยพีบีเอสสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาNBT ส่วนภูมิภาคช่อง 3 แฟมิลีเอ็มคอตแฟมิลีทีเอ็นเอ็น24นิวทีวีสปริงนิวส์ไบรต์ทีวีวอยซ์ทีวีเนชั่นทีวีช่องเวิร์คพอยท์ทรูโฟร์ยูจีเอ็มเอ็ม 25สปริง 26ช่อง 8ช่อง 3 เอสดีโมโน 29เอ็มคอตเอชดีช่องวัน 31ไทยรัฐทีวีช่อง 3 เอชดีอมรินทร์ทีวีช่อง 7 เอชดีพีพีทีวีโลกาไทยทีวีพีซทีวีดีเอ็นซีนิวส์วันฟ้าวันใหม่ไฟว์แชนเนลไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์กช่อง 2เอ็มแชนเนลทรูเอ็กไซต์ทีสปอร์ตแชนแนลทรูสปอร์ตบีอินสปอร์ตส ประเทศไทยทรูเรียลิตีทรูอินไซด์ไฮช้อปปิ้งเพลินทีวีแชนแนลวีไทยแลนด์แฟนทีวีทรูมิวสิกเวรี่ทีวีไทยไทยแชนแนลสบายดีทีวียูทูเพลย์ทีวีท็อปไลน์ทีวีสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมอาร์ยูทีวีเอสทีโอยูแชนเนลอาร์เอสยูวิสดอมทีวีบีทียูทีวีทรูสปาร์กช่องการ์ตูนคลับช็อคโกแลตทีวีบูมเมอแรงตูนตูนจ๊ะทิงจาเอ็นบีทีเวิลด์ทรูไทยฟิล์มทรูเอเชียนซีรีส์ทรูซีรีส์ทรูมูฟวี่ฮิตส์ซีรีส์ แชนแนลทรูเอ็กซ์พลอร์พีเอสไอ สาระดีสำรวจโลกธรรมะทีวีทีวีมุสลิมทีบีซีไวท์แชนแนลโทรทัศน์สำนักจุฬาราชมนตรีพีทีวีสถานีประชาธิปไตย/สถานีประชาชนเจเอสแอลทีวีไทยอาเซียนนิวส์เน็ตเวิร์คอาเซียนทีวีย๊ากทีวีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็นบีทีทีแชนแนลโทรทัศน์ดาวเทียมมหาดไทยบางกอกซิตีแชนแนลเดลินิวส์ทีวีมะจังทีวีอินแชนแนลสาระแนแชนแนลกรุงเทพธุรกิจทีวีมีเดียนิวส์แชนแนลเอเอสทีวีจีเอ็มเอ็ม มิวสิคกรีนแชนแนลเอเอฟแชนแนลช่อง 6ทรูไลฟ์ทีวีแอ็กซ์แชนแนลซันแชนเนลจีเอ็มเอ็มสปอร์ตจีทีเอชออนแอร์แบงแชนแนลทรูเฮฮาป๊อปทีวีตูนแชนแนลทีนิวส์ทีวีมีเดีย 84ดีเอ็มซีเอ็มคอตวันเอ็มคอตเวิลด์ชิคแชนแนลมงคล แชนแนลไทยไชโยช่องแก๊งการ์ตูนทูนามิสยามสปอร์ตแชนแนลมิราเคิลทีวี 24มันนีแชนแนลยูแชนแนลรายการทีวีNBT ส่วนภูมิภาคการจัดระดับรายการผังรายการภาพทดสอบนิตยสารรายการโทรทัศน์การถ่ายทอดโทรทัศน์


สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยสื่อในความควบคุมของกองทัพบกไทยเขตจตุจักรโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย


อังกฤษสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สถานีโทรทัศน์ประเทศไทยกองทัพบก1 ธันวาคมพ.ศ. 2510กฤตย์ รัตนรักษ์บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัดสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง25 ตุลาคมพ.ศ. 2510ไสว จารุเสถียรจอมพล ประภาส จารุเสถียรเรวดี เทียนประภาสพ.ศ. 2501ชาติเชื้อ กรรณสูตร้อยโทชายชาญ กรรณสูตพ.ศ. 2517สุรางค์ เปรมปรีดิ์สมภพ ศรีสมวงศ์22 กันยายนธนาคารกรุงศรีอยุธยาผู้บัญชาการทหารบกกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุฟิลิปส์ฮอลแลนด์นางสาวไทยพระราชวังสราญรมย์25 พฤศจิกายน27 พฤศจิกายน1 ธันวาคมพ.ศ. 2511สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5รถประจำทางททบ.55 มีนาคมพ.ศ. 2512บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัดเสาอากาศวิทยุกระจายเสียง30 มกราคมพ.ศ. 25131 มิถุนายนสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)รถไฟฟ้าบีทีเอสรถไฟฟ้ามหานครสถานีสวนจตุจักรวันเสาร์6 พฤศจิกายนพ.ศ. 2514พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมวยไทยมวยสากลมูลนิธิอานันทมหิดล1 พฤษภาคมพ.ศ. 2516ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์มิถุนายนพ.ศ. 2517พ.ศ. 2521ดาวเทียมอินโดนีเซียกรุงเทพมหานครอินเทลแซทงานประเพณี21 มิถุนายนพ.ศ. 2522พ.ศ. 2527จังหวัดอุบลราชธานี4 เมษายนพ.ศ. 2523พ.ศ. 25246 กันยายนพ.ศ. 2536พ.ศ. 2513พุทธทศวรรษ 2530อัมพาต1 กรกฎาคมพ.ศ. 254120 ธันวาคมพ.ศ. 255430 ธันวาคม1 มกราคมพ.ศ. 2555เมษายนพ.ศ. 2556แอนะล็อกพ.ศ. 2541พ.ศ. 256615 มิถุนายนพ.ศ. 25601 สิงหาคมพ.ศ. 2560จังหวัดพิจิตรกำแพงเพชรพิษณุโลกสุโขทัยชุมพรพังงาพัทลุงสงขลา31 ธันวาคมพ.ศ. 2560จังหวัดกาญจนบุรีตราดบุรีรัมย์นครสวรรค์แพร่ลำปางแม่ฮ่องสอนระนองนครศรีธรรมราชสตูลยะลา16 มิถุนายนพ.ศ. 2561พ.ศ. 251616 มิถุนายนพ.ศ. 2561เช้าข่าว 7 สีเจาะประเด็นข่าวค่ำกระจกเงาคำรณ หว่างหวังศรีไทยทีวีสีช่อง 3วิดีโอ19 เมษายนพ.ศ. 2553พ.ศ. 2537จักรพันธุ์ ยมจินดาศันสนีย์ นาคพงศ์พิษณุ นิลกลัดศศินา วิมุตตานนท์จรณชัย ศัลยพงษ์ศุภรัตน์ นาคบุญนำพิสิทธิ์ กีรติการกุลนิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรืองเอกชัย นพจินดาวีรศักดิ์ นิลกลัดศรสวรรค์ ภู่วิจิตรอดิสรณ์ พึ่งยาสุฐิตา ปัญญายงค์เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์ช่อฟ้า เหล่าอารยะกฤษดา นวลมีภัทร จึงกานต์กุลเหมือนฝัน ประสานพานิชศรีสุภางค์ ธรรมาวุธนารากร ติยายนอนุวัต เฟื่องทองแดงศจี วงศ์อำไพณัชฐพงศ์ มูฮำหมัดชัยอนันต์ ปันชูไพรม์ไทม์ลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลกฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งเอเชียฟุตบอลชิงแชมป์แห่งอาเซียนฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกยูฟ่าซูเปอร์คัพฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเอฟเอคัพลีกคัพเทนนิสแกรนด์สแลมเทนนิสมาสเตอร์ซีรีส์เทนนิสเอทีพีทัวร์เทนนิสดับเบิลยูทีเอทัวร์มวยสากลอังกฤษบริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด1 ธันวาคมพ.ศ. 2558พ.ศ. 2523พ.ศ. 2539










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());


หน้านี้ถูกกึ่งล็อก



ช่อง 7 เอชดี




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา



































ช่อง 7 เอชดี
Channel 7 HD
Ch7 Logo.png
เริ่มออกอากาศ
ระบบแอนะล็อก:
27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 (51 ปี)


ระบบดิจิทัล:
25 เมษายน พ.ศ. 2557 (4 ปี)



ระบบดาวเทียมและดิจิทัล:
2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (3 ปี)
ยุติออกอากาศ
เฉพาะระบบแอนะล็อก:
16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (700150000000000000050 ปี 7002201000000000000201 วัน)
เครือข่าย
สถานีโทรทัศน์/สถานีวิทยุ
ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล
ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ
เจ้าของบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
ระบบภาพ1080i (16:9 ภาพคมชัดสูง)
บุคลากรหลัก

  • กฤตย์ รัตนรักษ์
    ประธานกรรมการ

  • สรรสฤษดิ์ เย็นบำรุง
    รองประธานกรรมการ

  • สมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง
    รักษาการกรรมการผู้จัดการ

คำขวัญช่อง 7HD ทีวีเพื่อคุณ
(ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ)
ประเทศไทย
พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย
สำนักงานใหญ่เลขที่ 998/1 ซอยพหลโยธิน 18/1 (ร่วมศิริมิตร) ถนนพหลโยธิน
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เว็บไซต์www.ch7.com
ช่องรายการที่แพร่ภาพ
ภาคพื้นดิน
ดิจิทัลช่อง 35 (มักซ์#2 : ททบ.)
โทรทัศน์ดาวเทียม
ช่อง 35
โทรทัศน์เคเบิล
ช่อง 35
ออนไลน์
Ch7ชมรายการสด

ช่อง 7 เอชดี (Channel 7 HD) (ชื่อเดิม: สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 อังกฤษ: Bangkok Broadcasting Television Channel 7) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินซึ่งออกอากาศด้วยระบบภาพสีแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ดำเนินกิจการภายใต้สัญญาสัมปทานกับกองทัพบก เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2510 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบภาพสี และย้ายการออกอากาศ ไปทางช่องสัญญาณที่ 7 จนถึงปัจจุบัน มีกฤตย์ รัตนรักษ์ เป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด และสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง เป็นกรรมการผู้จัดการ




เนื้อหา





  • 1 ประวัติ


  • 2 การยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก


  • 3 การเปิดและปิดสถานี

    • 3.1 ภาพทดสอบ


    • 3.2 ภาพเปิดสถานี


    • 3.3 ภาพราตรีสวัสดิ์


    • 3.4 เปิดสถานี


    • 3.5 ปิดสถานี


    • 3.6 วันสุดท้ายของการปิดสถานีและการเริ่มออกอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง



  • 4 แบบทั่วไป

    • 4.1 ฉากผู้ประกาศแจ้งรายการต่อไป



  • 5 สถานีถ่ายทอดสัญญาณ


  • 6 ประเภทรายการ

    • 6.1 รายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน


    • 6.2 ละครโทรทัศน์


    • 6.3 การโฆษณา


    • 6.4 รายการกีฬาและถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา



  • 7 แชนแนลเซเว่น บันเทิงเจ็ดสี


  • 8 ดูเพิ่ม


  • 9 อ้างอิง


  • 10 แหล่งข้อมูลอื่น




ประวัติ


บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุน 10,000,000 บาท เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เพื่อประกอบธุรกิจโฆษณา ขณะที่ปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) มีทุนจดทะเบียนที่ 61,000,000 บาท[2] โดยมีรายชื่อผู้ก่อตั้งประกอบด้วย คุณหญิงไสว จารุเสถียร (คำนำหน้าชื่อขณะนั้น; ภริยาจอมพล ประภาส จารุเสถียร), เรวดี เทียนประภาส (น้องสาวคุณหญิงไสว), ร้อยเอกชูศักดิ์ บุณยกะลิน, เฑียร์ กรรณสูต (น้องชายสุชาติ กรรณสูต สามีของเรวดี ซึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ พ.ศ. 2501), ชาติเชื้อ กรรณสูต (บุตรชายคนโต), ร้อยโทชายชาญ กรรณสูต (ยศขณะนั้น; บุตรชายคนที่สอง เปลี่ยนมาใช้นามสกุลฝ่ายแม่ เมื่อ พ.ศ. 2517) และสุรางค์ เปรมปรีดิ์ (บุตรสาวคนเล็ก) ซึ่งคณะผู้ก่อตั้งมอบหมายให้สมภพ ศรีสมวงศ์ (ปัจจุบันชื่อสหสมภพ) เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนบริคณห์สนธิ กับกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) จากนั้นมีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กันยายน ซึ่งมีมติแต่งตั้งให้คุณหญิงไสว เป็นประธานกรรมการบริษัท ส่วนเฑียร์, ชาติเชื้อกับร้อยโทชายชาญ เป็นกรรมการบริษัท ทั้งสี่ถือหุ้นจำนวน 100 หุ้นเท่ากัน, ชวน รัตนรักษ์ ผู้บริหารธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นรองประธานกรรมการ ถือ 50 หุ้น, เรวดีเป็นกรรมการผู้จัดการ ถือ 230 หุ้น และร้อยเอกชูศักดิ์ เป็นกรรมการบริษัท ถือ 20 หุ้น[3]


ในระยะเดียวกัน จอมพลประภาส ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก มีนโยบายให้ คณะกรรมการควบคุมวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ลงมติอนุมัติให้ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ดำเนินการติดต่อให้นำเครื่องส่งโทรทัศน์สี ของบริษัทฟิลิปส์แห่งฮอลแลนด์ ระบบแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที มาทดลองใช้งาน โดยบันทึกภาพการประกวดนางสาวไทย ภายในงานวชิราวุธานุสรณ์ ที่พระราชวังสราญรมย์ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน มาถ่ายทอดผ่านคลื่นวิทยุ ในย่านความถี่สูงมาก ทางช่องสัญญาณที่ 7 และออกอากาศคู่ขนาน ด้วยระบบแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที ทางช่องสัญญาณที่ 9[1] ในอีกสองวันถัดมา คือวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน หลังจากนั้น ก็ยุติการแพร่ภาพชั่วคราว เพื่อดำเนินการในทางเทคนิค โดยเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม มีการประกอบพิธีสถาปนา บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ อย่างเป็นทางการ โดยในปีถัดมา (พ.ศ. 2511) ผู้ถือหุ้นมีมติให้เฑียร์ ลาออกจากตำแหน่ง กรรมการบริษัท, หัวหน้าฝ่ายรายการ และหัวหน้าฝ่ายเทคนิค โดยแต่งตั้งให้สุรางค์ เปรมปรีดิ์ เข้าเป็นกรรมการแทน พร้อมถือ 80 หุ้น[3] และในปีเดียวกัน คณะกรรมการฯ ทำสัญญาร่วมกับทาง บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ซึ่งกำหนดให้บริษัทฯ จัดสร้างอาคารที่ตั้ง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ภายในบริเวณที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.) สนามเป้า พร้อมติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 500 วัตต์ เพื่อมอบทั้งหมดให้แก่ ททบ.5 แล้วจึงทำสัญญาเช่าช่วงจาก ททบ.เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อเข้าบริหารงานอีกทอดหนึ่ง โดยในระยะสองปีแรก ใช้บุคลากรและห้องส่ง ร่วมกับ ททบ. พร้อมทั้งนำรถประจำทางเก่าสามคัน เข้าไปจอดไว้ภายในที่ทำการ ททบ.5 สนามเป้า แล้วรื้อที่นั่งออกทั้งหมด เพื่อใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ไปพลางก่อน


เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2512 บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด จัดหาเครื่องส่งโทรทัศน์สี กำลังออกอากาศ 10 กิโลวัตต์ พร้อมเสาอากาศสูง 570 ฟุต และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ระบบเอฟเอ็ม กำลังส่ง 1 กิโลวัตต์ เพื่อส่งมอบให้แก่ ททบ. และในวันที่ 30 มกราคม ปีถัดมา (พ.ศ. 2513) เรวดีและร้อยเอกชูศักดิ์ เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ผู้ถือหุ้นมีมติแต่งตั้งให้ชาติเชื้อ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ ย้ายเข้าใช้อาคารที่ทำการถาวร ของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 บริเวณหลังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) แห่งเดิม (ปัจจุบันเป็น อาคารศูนย์ซ่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส และลานจอดรถ สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร บริเวณสถานีสวนจตุจักร)[4] และเมื่อวันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 เวลา 15:30 นาฬิกา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปยัง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เพื่อทอดพระเนตรการแข่งขัน มวยไทยและมวยสากล โดยเสด็จพระราชกุศล สมทบทุนนักมวยไทย ในมูลนิธิอานันทมหิดล พร้อมทั้งพระราชทานถ้วยรางวัล แก่นักกีฬามวยไทยและมวยสากลยอดเยี่ยม[5] จากนั้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ชาติเชื้อขอลาออก ผู้ถือหุ้นจึงมีมติให้ร้อยเอกชายชาญ เข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ แล้วแต่งตั้งให้ไพโรจน์ เปรมปรีดิ์ สามีของสุรางค์ ที่มีอยู่ 20 หุ้น เป็นกรรมการบริษัท และในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2517 ท่านผู้หญิงไสวลาออกจากกรรมการบริษัท ชวนจึงขยับขึ้นเป็นประธานกรรมการแทน และให้ร้อยเอกหญิงสุมิตรา จารุเสถียร บุตรสาวท่านผู้หญิงไสว ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการที่ว่าง[3]


ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ททบ. ร่วมกับ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ เช่าช่องสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย เพื่อถ่ายทอดสัญญาณจากกรุงเทพมหานคร ไปสู่สถานีเครือข่ายทุกภูมิภาค เป็นสถานีแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเช่าสัญญาณดาวเทียมนานาชาติ (อินเทลแซท) ถ่ายทอดเหตุการณ์จากทั่วโลกมายังไทย และในเวลาใกล้เคียงกัน ก็ริเริ่มใช้รถถ่ายทอดสัญญาณดาวเทียมย่านความถี่สูง (เคยู-แบนด์) และรถบรรทุกเครื่องถ่ายทอดนอกสถานที่ (โอ.บี.) ใช้ย่านความถี่ ซี-แบนด์ ทำหน้าที่เป็นสถานีแม่ข่ายชั่วคราว เพื่อถ่ายทอดสดงานประเพณีที่น่าสนใจ กีฬานัดสำคัญ และเหตุการณ์ในท้องที่ต่างๆ ทั่วประเทศ[4] ผลงานสำคัญของชายชาญ ในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ โดยตำแหน่งคือ การขยายสถานีส่งสัญญาณช่อง 7 สีออกไปสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากกว่า 300 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2522 บริษัทจึงเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งใช้วิธีขายหุ้นเพิ่มทุน ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ เป็นจำนวน 10 ล้านบาท อีกส่วนหนึ่งให้ประธานกรรมการ (ชวน รัตนรักษ์) และกรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ดำเนินการตามที่เห็นสมควร เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และให้ลดมูลค่าต่อหุ้นลงเหลือ 100 บาท เมื่อรวมกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกครั้ง เป็นจำนวน 61 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2527 จึงทำให้ในที่สุด สกุลรัตนรักษ์ กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บจก.กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ แทนกลุ่มสกุลจารุเสถียร กรรณสูต และเทียนประภาส[3]
พันโทชายชาญ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด 11 มิลลิเมตร ยิงจนเสียชีวิตที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2523 ส่งผลให้ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการว่างลง ผู้ถือหุ้นมีมติให้จัดตั้ง คณะกรรมการผู้จัดการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อร่วมกันปฏิบัติหน้าที่ ในความรับผิดชอบของกรรมการผู้จัดการ โดยมีไพโรจน์เป็นประธาน คณะกรรมการชุดดังกล่าว และมีกรรมการคือพิสุทธิ์ ตู้จินดา, สมภพ ศรีสมวงศ์, ร้อยเอกสุพจน์ แสงสายัณห์, ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ (อดีตนักร้องชื่อดัง ผู้เป็นภรรยาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรส ของพันโทชายชาญ) และวีระพันธ์ ทีปสุวรรณ ซึ่งเป็นญาติของสกุลรัตนรักษ์ ซึ่งวีระพันธ์เข้ามารับตำแหน่ง กรรมการบริษัทที่ว่างลงด้วย ทว่าต่อมาไม่นาน ระบบคณะกรรมการผู้จัดการก็ยกเลิกไป โดยผู้ถือหุ้นแต่งตั้งให้ไพโรจน์ เป็นกรรมการผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียว[3] จากนั้นในปี พ.ศ. 2524 ชาติเชื้อกลับเข้ารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการอีกครั้ง พร้อมทั้งให้น้องสาว คือสุรางค์เข้ามาช่วยงานด้วย ซึ่งเป็นผลให้ช่อง 7 สีประสบความสำเร็จอย่างสูงในระยะต่อมา และเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536 ชวนก็เสียชีวิตลง โดยมีบุตรชายคือกฤตย์ รัตนรักษ์ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เข้าดำรงตำแหน่งแทนบิดา อนึ่ง ในช่วงปลายพุทธทศวรรษ 2530 ชาติเชื้อล้มป่วยด้วยอาการอัมพาต จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่มาหลายปี ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 สุรางค์จึงต้องรับตำแหน่งแทนพี่ชาย โดยที่ยังเป็นผู้จัดการฝ่ายข่าว (2541-2545) และผู้จัดการฝ่ายรายการ (2524-2551) อยู่ด้วย[3] ทว่าเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554 กฤตย์ลงนามในคำสั่งบริษัทฯ ให้สุรางค์พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ โดยให้ส่งมอบงานแก่ศรัณย์ วิรุตมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม และให้ศรัณย์เริ่มเข้ารักษาการกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555[6] ต่อมาในเดือนเมษายน ปีเดียวกัน ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติ ให้แต่งตั้งพลากร สมสุวรรณ อดีตพิธีกรในสังกัดช่อง 7 สีขึ้นเป็นกรรมการแทนสุรางค์ ซึ่งเป็นการพ้นจากตำแหน่งสุดท้ายในบริษัทฯ พร้อมทั้งมอบหมายให้พลากร เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และรักษาการในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายรายการด้วย[7] จากนั้นพลากรก็ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการ แทนศรัณย์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน[8]



การยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก


สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เตรียมที่จะกำหนดยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก ก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง (สัมปทาน 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2566) ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยทางบริษัทฯ เห็นความจำเป็นในการยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกเพื่อลดต้นทุนการส่งสัญญาณ ประกอบกับโครงข่ายโทรทัศน์ระบบดิจิทัลที่ช่อง 7 เช่าใช้ร่วมกับ ททบ. ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศแล้ว [9] โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย ชุมพร พังงา พัทลุง และสงขลา และวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ตราด บุรีรัมย์ นครสวรรค์ แพร่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ระนอง นครศรีธรรมราช สตูล และยะลา และจะยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อกโดยสมบูรณ์จากสถานีกรุงเทพมหานครในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 พร้อมกับสถานีอื่นๆ อีก 18 สถานี[10]ทั้งนี้ พันธะผูกพันต่างๆกับกองทัพบกในฐานะคู่สัญญาสัมปทานยังคงมีอยู่จนกระทั่งหมดสัญญาสัมปทาน [9]



การเปิดและปิดสถานี



ภาพทดสอบ


  • ปี พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2525 ภาพทดสอบจอสีฟ้า

  • ปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2537 ภาพทดสอบ FuBK (ใช้เฉพาะ ASEAN News Trade)

  • ปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2553 ภาพทดสอบ พีเอ็ม 5544 (สร้างโดยเครื่องทำภาพทดสอบจากประเทศโปแลนด์ซึ่งใช้ในช่อง TVP)

  • ปี พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีภาพทดสอบ (ในกรณีที่มีเหตุขัดข้องในการออกอากาศ จะใช้ภาพทดสอบเป็นภาพสัญลักษณ์ของทางสถานี)


ภาพเปิดสถานี


  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ภาพอวกาศ ถ่ายเข้ามาที่โลก และเป็นภาพเป็นกลุ่มเมฆ และภาพมหาสมุทร จากการ์ตูนของญิ่ปุ่นเรื่องหนึ่ง และแสดงสัญลักษณ์ช่องสถานี - เสียงยานอวกาศ (หน้าจออวกาศ) เสียงกลอง (หน้าจอกลุ่มเมฆ) เสียง sound effect Ta-Da (หน้าจอมหาสมุทร) และเพลงประจำสถานี
    ฉากรอง พื้นหลังเป็นอาคารสถานี และแสดงตราสัญลักษณ์กองทัพบก - เพลงประกอบใช้เพลงมาร์ชกองทัพบก

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2529 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2543 ฉากแรกจะเป็นรูปท้องฟ้ามีกลุ่มเมฆลอยอยู่กลางอากาศ (เปรียบเสมือนเข้าสู่เช้าวันใหม่) และแสดงสัญลักษณ์ของสถานี และข้อความภาษาไทยแบบโค้งเขียนว่า "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลง Mechanised Infantry March
    ฉากรอง พื้นหลังเป็นสีฟ้า แสดงตราส้ญลักษณ์กองทัพบกแบบโครงเส้นสีขาว และขึ้นข้อความภาษาไทยแบบโค้งเขียนว่า "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลงมาร์ชกองทัพบก

  • 1 เมษายน พ.ศ. 2543 - 24 เมษายน พ.ศ. 2557 ภาพพื้นหลังจะเป็นน้ำเงินไล่สีมีดาวเปล่งประกายเรียงต่อกันหลายๆดวง แสดงสัญล้กษณ์ของสถานี และตราสัญลักษณ์กองทัพบกแบบสีทอง และขึ้นข้อความภาษาไทยแบบโค้งล่างที่มีคำว่า"สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลง Mechanised Infantry March ต่อด้วย เพลงมาร์ชกองทัพบก

  • 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 กราฟิกมึสองแบบ โดยสลับใช้วันต่อวัน แบบที่ 1 ใช้กราฟิกพื้นหลังสีเขียว และแบบที่ 2 ใช้กราฟิกพื้นหลังแบบแสงแฟลช ทั้งสองแบบแสดงสัญล้กษณ์ของสถานี และ ตราสัญลักษณ์กองทัพบก มีข้อความภาษาไทยเขียนว่า "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7" วางไว้ใต้ตราสัญล้กษณ์ - เพลงประกอบใช้เพลง Mechanised Infantry March ต่อด้วย เพลงมาร์ชกองทัพบก

  • 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ใช้ภาพพื้นหลังสีขาว แสดงสัญลักษณ์ของสถานี เพิ่มข้อความสัญลักษณ์ HD (เอชดี) ข้างขวาของโลโก้ และ ตราสัญลักษณ์กองทัพบกแบบ 3 มิติ และขึ้นข้อความภาษาไทยใต้ตราสัญล้กษณ์ว่า "สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7" - เพลงประกอบใช้เพลงเดิมที่ใช้ในรูปแบบก่อนหน้านั้น

  • 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน ใช้ภาพลักษณะเดียวกัน แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบ Bumper คือแสดงสัญลักษณ์ของสถานี เพียงอย่างเดียว เป็นเวลา 5 วินาที


ภาพราตรีสวัสดิ์


  • ปี พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2532 ภาพอาคารของสถานีในตอนกลางคืน และมีไฟสีแดงอยู่บนยอดเสาอากาศ / ภาพจุดพลุสะพานแม่น้ำแคว

  • ปี พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2539 ภาพผีเสื้อบินอยู่รอบภูเขาพื้นสีม่วง แบบภาพวาดฉาย

  • ปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 ภาพแมลงหิ่งห้อยหลายตัวพร้อมภาพกลางคืน มีดวงจันทร์ปรากฏอยู่กลางคืน

  • ปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2553 ภาพเสาอากาศอยู่ตรงกลางและมีจานดาวเทียม 2 ใบหันหน้าเข้าหากัน[11]


เปิดสถานี


  • ปี พ.ศ. 2510 - 2523 เปิดเวลา 11.00 น. เริ่มมิวสิควีดีโอ และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2534 เปิดเวลา 08.00 น., 09.15 น. หรือ 16.00 น. เริ่มเคารพธงชาติ เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเสียงแตรเพลงประจำสถานี (ชื่อเพลง:เพลง Mechanised Infantry March) ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2545 เปิดเวลา 05.30 น. เริ่มด้วยเสียงแตรเพลงประจำสถานี ต่อต้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548 เปิดเวลา 05.00 น. เริ่มด้วยรายการแนะนำสินค้า เสียงแตรเพลงประจำสถานี ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2553 เปิดเวลา 04.35 น. เริ่มด้วยรายการแนะนำสินค้า เสียงแตรเพลงประจำสถานี ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2554 ในช่วงการออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงเวลา 05.00 น. หลังรายการแนะนำสินค้าจบ เปิดเสียงแตรเพลงประจำสถานี ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2557 เมื่อถึงเวลา 05.00 น. หลังรายการแนะนำสินค้าจบ เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเสืยงแตรเพลงประจำสถานื ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559 เมื่อถึงเวลา 04.35 น. เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเสืยงแตรเพลงประจำสถานื ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 เมื่อถึงเวลา 05.00 น. เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี และเสียงแตรเพลงประจำสถานี ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2560 เมื่อถึงเวลา 05.00 น. โดยประมาณ เริ่มด้วยเสียงแตรเพลงประจำสถานี ต่อด้วยเพลงมาร์ชกองทัพบก และเพลงสรรเสริญพระบารมี แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2561 เมื่อถึงเวลา 05.00 น. โดยประมาณ เริ่มด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก

  • ปี พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน เมื่อถึงเวลา 04.30 น. โดยประมาณ เริ่มด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี แจ้งรายการประจำวัน และเริ่มรายการแรก


ปิดสถานี






















ขั้นตอนที่
หน้าจอ
เสียง
ความยาว
1
รายการแนะนำสินค้า
รายการแนะนำสินค้า
20 นาที
2
ราตรีสวัสดิ์
ไม่มีเสียง
8 วินาที
3
เพลงสรรเสริญพระบารมี
เพลงสรรเสริญพระบารมี
1.15 นาที
4
ภาพทดสอบ
เพลง
จนถึงเปิดสถานีเวลา 5.00
  • ปี พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2535 ปิดเวลา 00.15 น. เริ่มด้วยภาพราตรีสวัสดิ์ ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี และภาพทดสอบ

  • ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2543 ปิดเวลา 01.00 น. เริ่มด้วยภาพราตรีสวัสดิ์ ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี และภาพทดสอบ

  • ปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2553 ปิดเวลา 02.30 น. หรือ 03.00 น. เริ่มด้วยภาพราตรีสวัสดิ์ ต่อด้วยเพลงสรรเสริญพระบารมี และภาพทดสอบ

  • ปี พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน เปิดสถานี 24 ชั่วโมง

หมายเหตุ : การปิดสถานีในวันเสาร์ จะขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ในบิ๊กซีนีม่าประจำวันนั้นด้วย หรือวันที่มีการถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ (ซึ่งบางวันอาจจะไม่มีการปิดสถานีเลย)



วันสุดท้ายของการปิดสถานีและการเริ่มออกอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง


สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้เริ่มออกอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 - ตามผังรายการวางแผนเป็นวันที่ 1 มีนาคม แต่ด้วยความที่ยังไม่พร้อม ทำให้เริ่มออกอากาศได้ในวันที่ 11 มีนาคม ปีเดียวกัน


เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 04.30 เป็นแอนิเมชั่นภาพทดสอบ ค่อยๆ แยกส่วนจนเหลือเพียงกล่องล่าง และกล่องล่างค่อยๆ ขยาย และมีข้อความเขียนว่า "เชิญรับชม ช่อง 7 สี ได้ตลอด 24 ชั่วโมง" และ slideshow ของสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย โดยขั้นตอนการแยกส่วนมีดังนี้


  • วันที่และเวลา เริ่มเห็นไม่ชัดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นภาพทดสอบแบบไม่โชว์วันที่

  • กล่องบน ค่อยๆ เลื่อนขึ้นจนออกนอกวงกลม

  • สีแดงข้างล่างค่อยๆ เปลี่ยนสีจนเป็นสีเหลือง

  • 6 สีข้างบนเริ่มหมุน และค่อยๆ รวมกันเป็นโลโก้ช่อง 7 สีในส่วนบนขวาของจอ

  • CH7 ในกล่องล่าง ค่อยๆ เคลื่อนที่ไปเหนือโลโก้ช่อง 7 และกลายเป็น www.ch7.com

  • แถบเหลืองข้างล่าง กลายเป็นสีดำ

  • สีขาวข้างๆ กล่องล่าง กลายเป็นสีดำ

  • Grayscale ใต้บาร์โค้ดค่อยๆ ดำขึ้น จนกลายเป็นสีดำ

  • บาร์โค้ดเปลี่ยนเป็นสีดำ

  • วงเล็บ [ ] ข้างๆ วงกลม เปลี่ยนเป็นตารางในพื้นหลัง

  • ตารางในพื้นหลังค่อยๆ หายไปจนกลายเป็นสีเทา

  • พื้นหลังเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน

  • ในส่วนบนของภาพทดสอบ (สีขาว และแถบ ดำ-เทา-ดำ-เทา) ค่อยๆ เลื่อนขึ้นจนออกนอกภาพทดสอบ

  • ตารางตรงกลางของภาพทดสอบ (ที่เคยมีวันที่-เวลา) เปลี่ยนเป็นสีดำ

  • ตัวอักษรสีขาว ค่อยๆ เห็นชัดขึ้น (ในกล่องดำ) เขียนว่า "เชิญรับชม ช่อง 7 สีได้ตลอด 24 ชั่วโมง"

  • กล่องดำหายไป และพื้นหลังเปลี่ยนเป็น slideshow สถานที่ต่างๆ ของประเทศไทย เป็นเวลา 2 นาที

  • เริ่มรายการ เช้าข่าว 7 สี


แบบทั่วไป


  • พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2528 ลักษณะโลโก้ช่อง 7 โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก โดยมีความละเอียด 16 สี ถูกย้อมด้วยสีเหลือง จะแสดงบนหน้าจอ 2 ครั้ง โดยอัตลักษณ์ช่อง 7 และจะแสดงอยู่ข้างล่างซ้ายจอ

  • พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530 ลักษณะอัตลักษณ์ช่อง 7 แบบโครงเส้น โดยสีของอัตลักษณ์ช่อง 7 จะเป็นสีเขียว ชมพู (เปลี่ยนไปเรื่อยๆ) จะแสดงบนหน้าจอประมาณ 2 ครั้ง และจะแสดงอยู่ที่ข้างล่างซ้ายจอ

  • พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2531 ลักษณะเป็นเลข 7 อยู่ที่ข้างล่างขวาของจอ โดยสีของเลข 7 จะเป็นสีเขียว ชมพู ฟ้า (เปลื่ยนไปเรื่อยๆ)

  • พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2532 ลักษณะอัตลักษณ์ช่อง 7 โดยใช้กล้องถ่ายวีดีโอจับภาพใว้ในสมัยนั้นจะเป็นกรอบภาพเป็นรูปเรขาคณิต

  • พ.ศ. 2532 - เมษายน พ.ศ. 2534 เป็นอัตลักษณ์ช่อง 7 แบบสี โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก 16 สี เลข 7 อ่อน

  • เมษายน พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2543 เป็นอัตลักษณ์ช่อง 7 แบบสี โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก โดยมีความละเอืยด 16 สี พร้อมเลข 7 เข้ม มีขอบหนา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในบางรายการจะมีการกำกับเว็บไซต์ www.ch7.com ใต้อัตลักษณ์

  • พ.ศ. 2543 - 16 มิถุนายน 2561 เป็นอัตลักษณ์ช่อง 7 แบบสี โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก โดยมีความละเอียด 16 สี (พ.ศ. 2543 - 2544) และ 32 สี (พ.ศ. 2544 - 2561) พร้อมเว็บไซต์ช่อง 7 www.ch7.com กำกับไว้ใต้อัตลักษณ์ (ต่อมาได้ปรับขนาดหน้าจอกว้างเป็น 16:9 โดยเฉพาะรายการต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นต้นไป) อัตลักษณ์นี้มีในระบบแอนะล็อกเท่านั้นจนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2561 ซึ่งเป็นการยุติระบบแอนะล็อก

  • 25 เมษายน พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน เป็นอัตลักษณ์ช่อง 7 HD แบบสีในระบบดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก โดยมีความละเอียด 64 สี พร้อมอัตลักษณ์เคลื่อนไหวแบบหมุนซ้ายสำหรับช่วงเข้ารายการ


ฉากผู้ประกาศแจ้งรายการต่อไป


  • ปี พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2541 ฉากสีดำ

  • ปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2543 ฉากภาพสถานที่ท่องเที่ยว

  • ปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2548 ฉากประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคอนเสิร์ตและภาพยนตร์

  • ปี พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน ฉากภาพละครโทรทัศน์ของสถานีและภาพยนตร์
    • ภายหลัง ปี พ.ศ. 2557 มีการเพิ่มภาพประชาสัมพันธ์รายการต่างๆของสถานี และภาพประชาสัมพันธ์อื่นๆ รวมอยู่ด้วย


สถานีถ่ายทอดสัญญาณ


สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มดำเนินการจัดตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณระบบแอนะล็อกในส่วนภูมิภาค มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 นับจนถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ซึ่งเป็นการยุติระบบแอนะล็อก มีจำนวนทั้งสิ้น 37 สถานีฯ[4] ดังต่อไปนี้









*เฟสที่1 (1 สิงหาคม 2560)
**เฟสที่2 (31 ธันวาคม 2560)
***เฟสที่3 (16 มิถุนายน 2561)
ทั้ง 3 เฟส ได้ยุติระบบเดิมแล้ว






ภาพหน้าจอของสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หลังจากยุติการออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบแอนะล็อก


โดยการออกอากาศระบบแอนะล็อกเฟสที่ 3 ของช่อง 7 ยุติลงในเวลา 00:01 น. ของวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยตัดเข้าสู่หน้าจอแจ้งผู้ชมซึ่งมี 2 รูปแบบ คือแบบแรกเป็นแถบสี หรือคัลเลอร์บาร์ และข้อความแสดงการยุติออกอากาศในระบบแอนะล็อก และพื้นหลังสีฟ้า พร้อมข้อความแจ้งช่องทางการรับชมหลังจากการยุติการออกอากาศ



ประเภทรายการ



รายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน


ดูบทความหลักที่: ข่าวช่อง 7 เอชดี

ช่อง 7 HD จัดตั้งฝ่ายข่าวขึ้น พร้อมกับการเปิดดำเนินงานของสถานีฯ มีบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ทางวิทยุโทรทัศน์ ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชน อย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง ปัจจุบัน รายการข่าวของช่อง 7 ที่นิยมเรียกกันว่า ข่าวเด็ดเจ็ดสี (หรือชื่อ ข่าว 7HD ในปัจจุบัน) นำเสนอข่าวสาร แบบเกาะติดสถานการณ์ตลอดทั้งวัน ผ่านช่วงเช้าข่าว 7 สี ห้องข่าวภาคเที่ยง เจาะประเด็นข่าวค่ำ ข่าวดึก 7HD รวมถึงข่าวสั้น ซึ่งทำหน้าที่กระจกเงา สะท้อนวิถีชีวิตและสภาพปัญหา ของประชาชนในทั่วทุกภาคของประเทศ ผ่านรายงานข่าวต่างๆ เช่น สกู๊ปชีวิต ข่าวช่วยชาวบ้าน โดยป๋าแหงม-ศักดินา รักษ์อุดมการณ์ ด้วยลำแข้ง รายงานของคำรณ หว่างหวังศรี (ต่อมาทั้งสองคนย้ายไปทำรายการข่าวแนวเดิมทางไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งในปัจจุบันคำรณก็ยังคงอยู่ที่ช่อง 3 แต่สำหรับศักดินาได้ย้ายไปอยู่ที่ไบรท์ทีวี) ตลอดจนช่วงสะเก็ดข่าว และภาพกีฬามันมันส์ในข่าวภาคค่ำ ซึ่งล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งยังได้รับความนิยมจากผู้ชม


ตลอดระยะเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายข่าวของสถานีฯ เก็บรักษาและรวบรวมแฟ้มข่าวในประเทศ และแฟ้มภาพเคลื่อนไหว (วิดีโอ) ข่าวในประเทศ อันมีคุณค่าไว้เป็นจำนวนมาก มีระบบการจัดเก็บและดูแลรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน จนมีการก่อตั้ง "ศูนย์ข้อมูลทางโทรทัศน์" ของสถานีฯ ขึ้นเพื่อให้บริการแฟ้มข่าว และแฟ้มภาพข่าวดังกล่าว แก่สถานีโทรทัศน์และสำนักข่าวต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ ทางสถานีฯ ยังริเริ่มจัดตั้งศูนย์ข่าวภูมิภาคขึ้น โดยมีอุปกรณ์เทคโนโลยีอันทันสมัยครบครัน เพื่อรายงานข่าวสารและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้ผู้ชมทั่วประเทศรับชมได้พร้อมกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553 ข่าวภาคค่ำทั้งสองช่วง เริ่มนำเสนอข่าวและใช้ฉากข่าวรูปแบบใหม่ ซึ่งผลิตขึ้นด้วยระบบเวอร์ชวลสตูดิโอ พร้อมทั้งเปลี่ยนไตเติลข่าวภาคต่างๆ, กราฟิกหัวข้อข่าว และข่าวแถบตัววิ่ง ส่วนจิงเกิลประกอบข่าวภาคค่ำ ยังคงเป็นเพลงเดิมซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2537


โดยทั้งฝ่ายข่าวส่วนกลาง และศูนย์ข่าวภูมิภาค ต่างประกอบไปด้วยผู้ประกาศข่าวซึ่งมีชื่อเสียงหลายคน เช่น จักรพันธุ์ ยมจินดา, ศันสนีย์ นาคพงศ์, พิษณุ นิลกลัด, ศศินา วิมุตตานนท์, จรณชัย ศัลยพงษ์, ศุภรัตน์ นาคบุญนำ, พิสิทธิ์ กีรติการกุล, นิลาวัณย์ พาณิชย์รุ่งเรือง, เอกชัย นพจินดา, วีรศักดิ์ นิลกลัด, ศรสวรรค์ ภู่วิจิตร, อดิสรณ์ พึ่งยา, สุฐิตา ปัญญายงค์, เกณฑ์สิทธิ์ กันธจันทร์, ช่อฟ้า เหล่าอารยะ, กฤษดา นวลมี, ภัทร จึงกานต์กุล, เหมือนฝัน ประสานพานิช, ศรีสุภางค์ ธรรมาวุธ, นารากร ติยายน, อนุวัต เฟื่องทองแดง, ศจี วงศ์อำไพ, ณัชฐพงศ์ มูฮำหมัด, ชัยอนันต์ ปันชู เป็นต้น[12] และผู้สื่อข่าวคุณภาพ ซึ่งรายงานข่าวต่างๆ ภายใต้แนวนโยบายเชิงวิสัยทัศน์ ในอันที่จะรายงานข่าวอย่างรวดเร็ว ฉับไว และเที่ยงตรง เป็นข่าวยอดนิยม มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง ตลอดจนสะท้อนเรื่องราวหรือปัญหาต่างๆ จากมุมมองของประชาชนทั่วไป


อนึ่ง ช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2532 โดยฝ่ายข่าวช่อง 7 สี ถือได้เป็นสถานีแห่งแรก ที่ริเริ่มการถ่ายทอดการรายงานความเคลื่อนไหวข้อมูลซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผ่านการรายงานสดจากห้องค้าหลักทรัพย์ที่อาคารสินธร ถนนวิทยุ ตลอดเวลาทำการตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีเชื้อเชิญนักวิเคราะห์หลักทรัพย์มาร่วมประเมินสถานการณ์ตลาดหุ้นด้วย



ละครโทรทัศน์


ดูบทความหลักที่: รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี

ช่อง 7 HD ถือเป็นผู้นำของการนำเสนอรายการละครโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยเริ่มต้นด้วยการนำเสนอละครพื้นบ้านในช่วงเช้าวันสุดสัปดาห์ จนกระทั่งเปลี่ยนแปลงมาเป็น การนำบทประพันธ์ของนักเขียนชื่อดัง ตลอดจนบทละครที่เขียนขึ้นใหม่ มาสร้างเป็นละครเพื่อนำเสนอในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ 20.30 น. ช่วงเย็นประมาณ 18.30 น. ภายหลังได้มีละครเยาวชนเพิ่มอีกในเวลา 18.00 น. และมีเวลาของละครซิตคอมในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00 น. และเวลา 13.00 น. นอกจากนี้ ก่อนออกอากาศละครภาคเย็นและภาคค่ำ ยังมีข้อความแสดงคำเตือนเรื่องลิขสิทธิ์ เป็นสถานีฯ แรกด้วย



การโฆษณา


ดูบทความหลักที่: ฝ่ายเซ็นเซอร์โฆษณา สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี


รายการกีฬาและถ่ายทอดการแข่งขันกีฬา


ดูบทความหลักที่: แชมป์กีฬา 7 สี

ช่อง 7 HD ริเริ่มกระตุ้นให้ชาวไทย สนใจในกีฬาต่างๆ ด้วยการบุกเบิกถ่ายทอดสด และบันทึกการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ กล่าวคือ ฟุตบอลโลก, ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งเอเชีย, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งอาเซียน, ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก, ฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ฟุตบอลยูฟ่าซูเปอร์คัพ, ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก, ฟุตบอลเอฟเอคัพ, ฟุตบอลลีกคัพ, ฟุตบอลยุโรป, เทนนิสแกรนด์สแลม, เทนนิสมาสเตอร์ซีรีส์, เทนนิสเอทีพีทัวร์, เทนนิสดับเบิลยูทีเอทัวร์, กอล์ฟเมเจอร์, กอล์ฟยูเอสพีจีเอ, กอล์ฟแอลพีจีเอ, กอล์ฟไรเดอร์คัพ, มวยสากลชิงแชมป์โลก เป็นต้น[4]



แชนแนลเซเว่น บันเทิงเจ็ดสี













แชนแนลเซเว่น บันเทิงเจ็ดสี
ประเภท
นิตยสารรายการโทรทัศน์
นิตยสารราย
รายเดือน
วันจำหน่ายฉบับแรก
1 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ประเทศ
ไทย
ภาษา
ไทย

แชนแนลเซเว่น บันเทิงเจ็ดสี (อังกฤษ: Channel 7 Magazine) นิตยสารแบบรายเดือนจาก ช่อง 7 HD ภายใต้การดูแลของบริษัท มีเดีย สตูดิโอ จำกัด


ซึ่งฉบับปฐมฤกษ์ออกวางแผงเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยนิตยสารฉบับนี้ได้รวบรวมข่าวสาร เบื้องหลังกองละคร และบทสัมภาษณ์รวมถึงภาพถ่ายสวยๆ จากดาราในสังกัดช่อง 7 จนถึงปี 2560 ได้ยุติการผลิตลง


ก่อนหน้านั้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 ทางช่อง 7 ได้เคยผลิตนิตยสารแนวเดียวกันออกมาจนถึงปี พ.ศ. 2539 จึงได้ยุติการผลิตไป



ดูเพิ่ม


  • รายชื่อละครโทรทัศน์ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี

  • ข่าวช่อง 7 เอชดี

  • 7 สีคอนเสิร์ต

  • บิ๊กซินีม่า

  • มวยไทย 7 สี

  • มิสแกรนด์ไทยแลนด์

  • ไทยซุปเปอร์โมเดลคอนเทสต์

  • มิสทีนไทยแลนด์

  • แชมป์กีฬา 7 สี

  • สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

  • สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5

  • เอ็มคอตเอชดี

  • สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

  • สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส


อ้างอิง




  1. 1.01.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจเกี่ยวกับการรับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2511, เล่ม 86 ตอน 10 ง หน้า 241, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512. (ในหน้า 25 ของเอกสารตามลิงก์ ระบุตารางรายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย พร้อมช่องสัญญาณที่ใช้ในขณะนั้น)


  2. ดูชัดๆ สถานะธุรกิจ "คุณแดง-สุรางค์" ก้างขว้างคอ "ช่อง 7" ประมูลคลื่นดิจิตอล?, สำนักข่าวอิศรา, 1 ตุลาคม 2556.


  3. 3.03.13.23.33.43.5 "ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อใคร?" จากนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539


  4. 4.04.14.24.3 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 จากเว็บไซต์ช่อง 7 สี


  5. พระราชกรณียกิจ ประจำวันที่ 5, 6 และ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514, สำนักราชเลขาธิการ, ธันวาคม 2515.


  6. ปลดฟ้าผ่า "คุณแดง" พ้นช่อง 7 พิษเรตติ้งตกวูบ จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ปีที่ 21 ฉบับที่ 7692 วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554


  7. "คุณแดง" หลุดวงโคจรช่อง 7 สี สั่งปลดอีกรอบพ้นเก้าอี้บอร์ด, ไทยรัฐออนไลน์, 18 พฤษภาคม 2555.


  8. 'หน่อง' คุมเก้าอี้ช่อง 7 แทน 'ศรัณย์', คมชัดลึก, 27 มกราคม 2556.


  9. 9.09.1 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/753517 กสทช.แจง "ช่อง7" ทยอยยุติทีวีอนาล็อก มิ.ย.นี้] กรุงเทพธุรกิจ.


  10. [https://yarmfaojor.com/content/171 เผยแผนยุติทีวีอนาล็อกช่อง 7 เริ่ม ส.ค. 60 นี้!


  11. การปิดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ปี 2552 จากเว็บไซต์ Youtube


  12. ผู้ประกาศข่าว 7HD ยุคปัจจุบัน จากเว็บไซต์ช่อง 7 HD




แหล่งข้อมูลอื่น


  • เว็บไซต์ ช่อง 7 HD


  • ช่อง 7 HD ที่เฟซบุ๊ก


  • ช่อง 7 HD ที่ยูทูบ


  • ช่อง 7 HD ที่อินสตาแกรม

  • ประกาศเตือนการใช้ เครื่องหมายสัญลักษณ์ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7




ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ช่อง_7_เอชดี&oldid=8183734"










รายการเลือกการนำทาง


























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.520","walltime":"0.689","ppvisitednodes":"value":5745,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":304478,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":29879,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":20,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":8634,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":1,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 437.784 1 -total"," 33.49% 146.630 11 แม่แบบ:Navbox"," 23.20% 101.549 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_สถานีโทรทัศน์"," 14.22% 62.236 1 แม่แบบ:กึ่งล็อก2"," 13.29% 58.162 7 แม่แบบ:Navbox_subgroup"," 13.03% 57.023 1 แม่แบบ:Top_icon"," 11.19% 48.977 1 แม่แบบ:โทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย"," 10.68% 46.752 1 แม่แบบ:Category_handler"," 8.51% 37.249 1 แม่แบบ:โทรทัศน์ไทย"," 7.89% 34.529 1 แม่แบบ:อายุปีและวัน"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.070","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2155439,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1321","timestamp":"20190327002554","ttl":3600,"transientcontent":true););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e0au0e48u0e2du0e07 7 u0e40u0e2du0e0au0e14u0e35","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87_7_%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%B5","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q795641","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q795641","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2006-11-27T12:31:56Z","dateModified":"2019-03-21T11:45:54Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/3/38/Ch7_Logo.png","headline":"u0e2au0e16u0e32u0e19u0e35u0e42u0e17u0e23u0e17u0e31u0e28u0e19u0e4cu0e41u0e2bu0e48u0e07u0e17u0e35u0e48 3 u0e02u0e2du0e07u0e1bu0e23u0e30u0e40u0e17u0e28u0e44u0e17u0e22"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":827,"wgHostname":"mw1321"););

Popular posts from this blog

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Masuk log Menu navigasi

อาณาจักร (ชีววิทยา) ดูเพิ่ม อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง10.1086/39456810.5962/bhl.title.447410.1126/science.163.3863.150576276010.1007/BF01796092408502"Phylogenetic structure of the prokaryotic domain: the primary kingdoms"10.1073/pnas.74.11.5088432104270744"Towards a natural system of organisms: proposal for the domains Archaea, Bacteria, and Eucarya"1990PNAS...87.4576W10.1073/pnas.87.12.4576541592112744PubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by hand"A revised six-kingdom system of life"10.1111/j.1469-185X.1998.tb00030.x9809012"Only six kingdoms of life"10.1098/rspb.2004.2705169172415306349"Kingdoms Protozoa and Chromista and the eozoan root of the eukaryotic tree"10.1098/rsbl.2009.0948288006020031978เพิ่มข้อมูล