พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เนื้อหา การศึกษา ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง บทบาททางการเมือง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อ้างอิง ดูเพิ่ม แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางนายกฯคนแรก OSK พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 'คนนอกคณะราษฎร' นายกรัฐมนตรีคนแรกของสยามประเทศพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญประวัติที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลประวัติที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประวัติที่เว็บไซต์สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกาประวัติที่เว็บไซต์รัฐสภาสำหรับเยาวชน-ยุวชนรัฐสภากกกกกก
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2427บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2491นักการเมืองไทยนายกรัฐมนตรีไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทยบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาบุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยบุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหารชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศมาเลเซียสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
นายกรัฐมนตรีประเทศไทยจังหวัดพระนครปีนังกฎหมายประเทศอังกฤษตุลาการการเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎรปรีดี พนมยงค์สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระยาทรงสุรเดชรัฐธรรมนูญประเทศฝรั่งเศสพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์รัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476พระยาพหลพลพยุหเสนาปีนังรถไฟพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีอินโดจีนของฝรั่งเศสวัดปทุมวนาราม
(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | |
---|---|
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (1 ปี) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้ว่าการแทน | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ถัดไป | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) |
ประธานคณะกรรมการราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (50000000000000000000 ปี 7002165000000000000165 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2478 (50000000000000000000 ปี 7002197000000000000197 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) |
ก่อนหน้า | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะเสนาบดี) |
ถัดไป | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (50000000000000000000 ปี 7002164000000000000164 วัน) | |
ก่อนหน้า | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม |
ถัดไป | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะรัฐมนตรีว่าการ) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 (64 ปี) ปีนัง ประเทศมาเลเซีย |
คู่สมรส | คุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา เชย หุตะสิงห์ |
ศาสนา | พุทธ |
มหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย ชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนายฮวด กับนางแก้ว หุตะสิงห์ ท่านถึงแก่อนิจกรรม ณ ปีนัง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2491 รวมอายุได้ 64 ปีเศษ
เนื้อหา
1 การศึกษา
2 ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
3 บทบาททางการเมือง
3.1 ลำดับเหตุการณ์
3.2 ผลงานที่สำคัญ
3.3 ครอบครัว
4 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
5 อ้างอิง
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น
การศึกษา
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- โรงเรียนอัสสัมชัญ
- โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม (เนติบัณฑิตสยาม)
- The Middle Temple (เนติบัณฑิต) ประเทศอังกฤษ
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
- สมัยที่ 1 : 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1)
- สมัยที่ 2 : 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 1 เมษายน พ.ศ. 2476 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2)
- สมัยที่ 3 : 1 เมษายน พ.ศ. 2476 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (คณะรัฐมนตรี คณะที่ 3)
บทบาททางการเมือง
พระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นผู้ที่จบการศึกษาวิชากฎหมายระดับเนติบัณฑิต จากประเทศอังกฤษ เป็นข้าราชการตุลาการผู้ที่ได้ชื่อว่ามือสะอาด ไม่เคยมีเรื่องด่างพร้อยมาตลอดชีวิตการรับราชการ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านได้รับเลือกจากคณะราษฎรโดยนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คน ที่มาจากการแต่งตั้ง และได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไปตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา[1]
หลังจากมีกรณีเรื่อง "สมุดปกเหลือง" เค้าโครงเศรษฐกิจที่ร่างโดยนายปรีดี ขึ้นถวายให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวินิจฉัย ซึ่งพระองค์ท่านไม่เห็นชอบด้วย ก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่สมาชิกคณะราษฎร ข้าราชการ ขุนนาง และบุคคลในสภา ฯ พระยามโนปกรณ ฯ เองก็ไม่เห็นชอบด้วยกับเค้าโครงเศรษฐกิจฉบับนี้ ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกคณะราษฎรกลุ่มทหารที่นำโดย พระยาทรงสุรเดช ท่านจึงได้ใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีปิดสภา พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา รวมทั้งได้เนรเทศนายปรีดี พนมยงค์ ให้กลับไปยังประเทศฝรั่งเศส และออกพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์เป็นฉบับแรกด้วย ซึ่งเรียกกันว่าท่านกระทำรัฐประหารด้วยการใช้ "ปากกาด้ามเดียว" ท่ามกลางความไม่พอใจของกลุ่มคณะราษฎรที่สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์
เหตุการณ์ความขัดแย้งเหล่านี้ ได้บานปลายนำไปสู่การรัฐประหารในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ที่ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะราษฎรได้รัฐประหารคณะรัฐบาลของท่าน และเนรเทศท่านไปยังปีนังด้วยรถไฟ พร้อมกับเรียกตัวนายปรีดีกลับมาจากฝรั่งเศส ซึ่งพระยามโนปกรณนิติธาดาก็ได้ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่ปีนัง ตราบจนถึงแก่อสัญกรรม
พระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและคุณวุฒิสูง แต่เป็นบุคคลที่มีบุคลิกพูดจาตรงไปตรงมาแบบขวานผ่าซาก ชีวิตส่วนตัวชื่นชอบในการเดินป่าและล่าสัตว์ป่า[2]
ลำดับเหตุการณ์
27-28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณนิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน
9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ลาออก
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง
1 เมษายน พ.ศ. 2476 แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาล พระยามโนปกรณนิติธาดาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ผลงานที่สำคัญ
พ.ศ. 2461 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการในพระองค์[3]
ครอบครัว
พระยามโนปกรณนิติธาดาสมรสครั้งแรกกับคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา (สกุลเดิม สาณะเสน) ธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน)
คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เมื่อคราวเสด็จประพาสอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 จนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข เนื่องจากความประมาทของพลขับ[4] ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะมีบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงเสียชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[4]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงร่นระยะเวลาพระราชกรณียกิจ และโปรดให้งดงานรื่นเริงต่าง ๆ ระหว่างการเสด็จประพาสไปเสียสิ้น[4] ทั้งยังได้สร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านางสี่หน้าเพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม[4]
หลังการเสียชีวิตของคุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา พระยามโนปกรณนิติธาดาจึงใช้ชีวิตคู่กับ เชย หุตะสิงห์[4] และมีบุตรคนเดียวคือ ตุ้ม หุตะสิงห์[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2470 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2474 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)[6]
- พ.ศ. 2455 - เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) [7]
- พ.ศ. 2454 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5[8]
- พ.ศ. 2469 - เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4[9]
อ้างอิง
↑ นายหนหวย. เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ. กรุงเทพฯ : พิมพ์จำหน่ายด้วยตัวเอง, 2530. 704 หน้า. หน้า 284.
↑ นายกฯคนแรก
↑ http://www.thaiembdc.org/bio/pms/manopakorn.htm
↑ 4.04.14.24.34.44.5 OSKNETWORK. OSK พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 'คนนอกคณะราษฎร' นายกรัฐมนตรีคนแรกของสยามประเทศ. เรียกดูเมื่อ 5 กันยายน 2555
↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
↑ พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ
ดูเพิ่ม
- รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476
- รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476
แหล่งข้อมูลอื่น
- ประวัติที่เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล
- ประวัติที่เว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- ประวัติที่เว็บไซต์สถานทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ประวัติที่เว็บไซต์รัฐสภาสำหรับเยาวชน-ยุวชนรัฐสภา
ก่อนหน้า | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะประธานคณะกรรมการราษฎร) | นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476) | พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | ||
สถาปนาตำแหน่ง | ประธานคณะกรรมการราษฎร (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะนายกรัฐมนตรี) | ||
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม | เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (29 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475) | พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะรัฐมนตรีว่าการ) | ||
พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) (ในฐานะเสนาบดี) | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476) | เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) |
|
|
|
|
|
|
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2427
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2491
- นักการเมืองไทย
- นายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังไทย
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้นำที่พ้นตำแหน่งจากรัฐประหาร
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศมาเลเซีย
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.412","walltime":"0.505","ppvisitednodes":"value":9179,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":233587,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":32780,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":27,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":4884,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 337.655 1 -total"," 53.52% 180.722 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_ผู้นำประเทศ"," 29.95% 101.122 16 แม่แบบ:Infobox_officeholder/Office"," 18.18% 61.389 9 แม่แบบ:Navbox"," 13.00% 43.912 3 แม่แบบ:อายุปีและวัน"," 11.72% 39.584 1 แม่แบบ:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง"," 10.68% 36.071 6 แม่แบบ:Nts"," 9.83% 33.176 1 แม่แบบ:Navbox_with_collapsible_groups"," 8.48% 28.643 1 แม่แบบ:นายกรัฐมนตรีไทย"," 7.07% 23.875 1 แม่แบบ:Infobox_officeholder/Personal_data"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.033","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":1492865,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1333","timestamp":"20190331072021","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e1eu0e23u0e30u0e22u0e32u0e21u0e42u0e19u0e1bu0e01u0e23u0e13u0e19u0e34u0e15u0e34u0e18u0e32u0e14u0e32 (u0e01u0e49u0e2du0e19 u0e2bu0e38u0e15u0e30u0e2au0e34u0e07u0e2bu0e4c)","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2_(%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99_%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C)","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q983541","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q983541","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2004-11-13T05:08:50Z","dateModified":"2019-03-30T09:04:44Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b0/Phraya_Manopakorn_Nititada.jpg"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":122,"wgHostname":"mw1273"););