Skip to main content

วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/มีนาคม รายการเลือกการนำทางแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติแก้ไขประวัติ

วันนี้ในอดีต


วันเอกราชพ.ศ. 2535อ็องรี เบ็กแรลดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันเอกราชพ.ศ. 2499พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว1 มีนาคม3 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันปลดปล่อยพ.ศ. 2421ญี่ปุ่นซากปรักของจดหมายเหตุเทศบาลโคโลญ2 มีนาคม4 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติเนบิวลานายพราน3 มีนาคม5 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติภาพเกร์รีเยโร เอโรยโกต้นฉบับ4 มีนาคม6 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันเอกราชพ.ศ. 2500ดมีตรี เมนเดเลเยฟ5 มีนาคม7 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติแอลเบเนียโรอัลด์ อะมุนด์เซน6 มีนาคม8 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติอากาศยานมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 3707 มีนาคม9 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติเอมัน เดฟเลอรา8 มีนาคม10 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติดาวยูเรนัสกับดวงจันทร์บางส่วน9 มีนาคม11 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันเอกราชพ.ศ. 2533ซูการ์โน10 มีนาคม12 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันเอกราชพ.ศ. 2511คานธีระหว่างสัตยาเคราะห์เกลือ11 มีนาคม13 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวิลเลียม เฮอร์เชล12 มีนาคม14 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันขึ้นปีใหม่ญี่ปุ่นเอลี วิทนีย์13 มีนาคม15 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติภาพวาดการลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์ โดย Vincenzo Camuccini14 มีนาคม16 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติคนอสซอส15 มีนาคม17 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติแวนการ์ด 116 มีนาคม18 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติอารูบาพ.ศ. 2519จักรพรรดิฟรีดริชที่ 217 มีนาคม19 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติสะพานฮาร์เบอร์ในซิดนีย์18 มีนาคม20 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันเอกราชพ.ศ. 2499แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์19 มีนาคม21 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติโลกอาหรับวันเอกราชพ.ศ. 2533ออทโท ฟอน บิสมาร์ค20 มีนาคม22 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติรูปปั้นอเมริโก เวสปุชชี21 มีนาคม23 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันชาติพ.ศ. 2499สถานีอวกาศมีร์22 มีนาคม24 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติโรเบิร์ต คอค23 มีนาคม25 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันประกาศเอกราชพ.ศ. 2363ภาพวาดคริสเตียน ไฮเกนส์24 มีนาคม26 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวันประกาศเอกราชพ.ศ. 2514โจนัส ซอล์กใน ค.ศ. 195925 มีนาคม27 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัตินิกิตา ครุสชอฟ26 มีนาคม28 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติสาธารณรัฐเช็กโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรีไมล์27 มีนาคม29 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติกองทัพเครื่องดินเผา28 มีนาคม30 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติวาง จิงเว่ย29 มีนาคม31 มีนาคมดู อภิปรายแก้ไขประวัติหอไอเฟล30 มีนาคม1 เมษายนดู อภิปรายแก้ไขประวัติ










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/มีนาคม




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

< วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต





ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา


มกราคม - กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม - สิงหาคม - กันยายน - ตุลาคม - พฤศจิกายน - ธันวาคม


วันนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 15:03 น.

1 มีนาคม: วันเอกราชในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (พ.ศ. 2535)



อ็องรี เบ็กแรล




  • พ.ศ. 2108 (ค.ศ. 1565) – ชาวโปรตุเกสก่อตั้งรีโอเดจาเนโร


  • พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) – นักเคมีชาวรัสเซีย ดมีตรี เมนเดเลเยฟ ออกแบบตารางธาตุฉบับแรกแล้วเสร็จ


  • พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) – มีการตั้งอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน อุทยานแห่งชาติแห่งแรกในโลก ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐไวโอมิง สหรัฐ


  • พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) – อ็องรี เบ็กแรล (ในภาพ) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบหลักการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี


  • พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – กองทุนการเงินระหว่างประเทศเริ่มการดำเนินการทางการเงิน


  • พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – ยานอวกาศเวเนรา 3 ของสหภาพโซเวียต พุ่งชนดาวศุกร์ นับเป็นยานลำแรกในประวัติศาสตร์ที่สัมผัสพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงอื่น

ดูเพิ่ม: 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



2 มีนาคม: วันเอกราชในโมร็อกโก (พ.ศ. 2499)



พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว




  • พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในภาพ) ทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ หลังรัฐบาลพยายามกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศ แต่ไม่เป็นผล


  • พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) – เอวเจนีโอ ปาเชลลี พระคาร์ดินัลชาวอิตาลี ได้รับเลือกเป็นสมเด็จพระสันตะปาปา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12


  • พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – พลเอกเน วิน นำรัฐประหารรัฐบาลอู นุในประเทศพม่า และปกครองประเทศต่อมาเป็นเวลา 26 ปี


  • พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – คองคอร์ด เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง ขึ้นบินทดสอบครั้งแรก ที่เมืองตูลุส ประเทศฝรั่งเศส


  • พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – โรดีเชียตัดความเชื่อมโยงกับสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการและประกาศตนเป็นสาธารณรัฐ

ดูเพิ่ม: 1 มีนาคม – 2 มีนาคม – 3 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



3 มีนาคม: วันปลดปล่อยในบัลแกเรีย (พ.ศ. 2421); ฮินะมะสึริในญี่ปุ่น



ซากปรักของจดหมายเหตุเทศบาลโคโลญ




  • พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) – การ์เมน อุปรากรของคีตกวีชาวฝรั่งเศส ฌอร์ฌ บีแซ จากนวนิยายชื่อเดียวกันของพรอสแพร์ เมอริมี แสดงรอบปฐมทัศน์ ณ โรงอุปรากรออเปรากอมิก กรุงปารีส


  • พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – บอลเชวิครัสเซียลงนามสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์กับฝ่ายมหาอำนาจกลางและออกจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง


  • พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1923) – ไทม์ นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ที่แพร่หลายที่สุดในโลก พิมพ์ฉบับประเดิม


  • พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) – "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" เดิมเป็นบทกวีที่ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ ผู้ประพันธ์ชาวอเมริกัน เขียนหลังชมยุทธการที่บัลติมอร์ระหว่างสงคราม ค.ศ. 1812 กลายเป็นเพลงชาติของสหรัฐ


  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – อาคารที่ตั้งของจดหมายเหตุประวัติศาสตร์นครโคโลญ จดหมายเหตุชุมชนใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปยุโรป ถล่ม (ซากปรักในภาพ)

ดูเพิ่ม: 2 มีนาคม – 3 มีนาคม – 4 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



4 มีนาคม:



เนบิวลานายพราน




  • พ.ศ. 2004 (ค.ศ. 1461) – สงครามดอกกุหลาบ: พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ถูกพระภารดรขับออกจากราชสมบัติ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งราชวงศ์ยอร์ค


  • พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) – ชาร์ล เมซีเย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบเนบิวลานายพราน (ในภาพ) เนบิวลาสว่างซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในกลุ่มดาวนายพราน


  • พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – นักการเมืองสายปรีดี พนมยงค์สี่คน ได้แก่ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ถวิล อุดล, จำลอง ดาวเรือง และทองเปลว ชลภูมิ ถูกตำรวจสังหารบนถนนพหลโยธิน เขตบางเขน


  • พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ซึ่งเป็นเที่ยวบินที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะโดยสารไปด้วย ได้ระเบิดก่อนขึ้นบินราวครึ่งชั่วโมง มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน


  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับอูมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร์ ประธานาธิบดีซูดาน ฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม จากพฤติการณ์ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์

ดูเพิ่ม: 3 มีนาคม – 4 มีนาคม – 5 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



5 มีนาคม:



ภาพเกร์รีเยโร เอโรยโกต้นฉบับ




  • พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) – ทหารบริติชยิงปืนใส่ฝูงชนในบอสตัน แมสซาชูเซตส์ ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิต 5 คน


  • พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) – สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง สงครามครั้งยาวนานและราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์บริติชราช เริ่มต้นขึ้น


  • พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ใช้คำว่า "ม่านเหล็ก" ครั้งแรกในสุนทรพจน์ที่วิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ นครฟุลตัน รัฐมิสซูรี สหรัฐ อันหมายถึงการแบ่งแยกทวีปยุโรปทางกายภาพ สัญลักษณ์ และอุดมการณ์ออกเป็นสองระหว่างสงครามเย็น


  • พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – อัลเบร์โต กอร์ดา ช่างภาพชาวคิวบา ถ่ายภาพอันเป็นสัญรูปของนักปฏิวัติลัทธิมาร์กซ เช เกบารา (ในภาพ)


  • พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศเพื่อจำกัดการกระจายอาวุธนิวเคลียร์มีผลใช้บังคับ

ดูเพิ่ม: 4 มีนาคม – 5 มีนาคม – 6 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



6 มีนาคม: วันเอกราชในกานา (พ.ศ. 2500)



ดมีตรี เมนเดเลเยฟ




  • พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) – อุปรากร ลา ทราวิอาทา ของจูเซปเป แวร์ดี เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ลาเฟนิซที่เวนิส แต่การแสดงนั้นเลวมากจนผู้ประพันธ์ต้องปรับบางส่วน


  • พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) – ดมีตรี เมนเดเลเยฟ (ในภาพ) เสนอตารางธาตุชุดแรกต่อสมาคมเคมีรัสเซีย


  • พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1899) – บริษัทเคมีและเภสัชภัณฑ์สัญชาติเยอรมัน ไบเออร์ จดทะเบียนแอสไพรินเป็นเครื่องหมายการค้า


  • พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) – ตั้งเรอัลมาดริด สโมสรฟุตบอลที่รวยที่สุดในโลก ในชื่อ สโมสรฟุตบอลมาดริด


  • พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – ในการแพร่สัญญาณวิทยุ ผู้นำชาติอิสลาม อีไลจาห์ มูฮัมหมัด ประกาศว่า เคสเซียส เคลย์ นักมวยชาวอเมริกัน จะเปลี่ยนชื่อเป็นมูฮัมหมัด อาลี

ดูเพิ่ม: 5 มีนาคม – 6 มีนาคม – 7 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



7 มีนาคม: วันครูในแอลเบเนีย



โรอัลด์ อะมุนด์เซน




  • พ.ศ. 704 (ค.ศ. 161) – หลังจักรพรรดิโรมัน อันโตนีนุส ปิอุส เสด็จสวรรคต มาร์กุส เอาเรลิอุสและลูกิอุส เวรุสตกลงปกครองจักรวรรดิโรมันร่วมกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน


  • พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1912) – นักสำรวจชาวนอร์เวย์ โรอัลด์ อะมุนด์เซน (ในภาพ) ประกาศว่าตนไปถึงขั้วโลกใต้สำเร็จเป็นคนแรก ระหว่างการสำรวจเมื่อ ค.ศ. 1910–1911


  • พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ในปฏิบัติการช่างตัดไม้ กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรยึดสะพานลูเดนดอฟฟ์ข้ามแม่น้ำไรน์ ทำให้สถาปนาและขยายพื้นที่ยึดอาศัยบนแผ่นดินเยอรมันซึ่งเปลี่ยนสภาพความขัดแย้งในแนวรบด้านตะวันตก


  • พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – ออกซิงเกิลการกุศล "วีอาร์เดอะเวิลด์" โดยยูเอสเอฟอร์แอฟริกา และจะขายได้ 20 ล้านก๊อปปี


  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – มีการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ซึ่งออกแบบมาเพื่อค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่น

ดูเพิ่ม: 6 มีนาคม – 7 มีนาคม – 8 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



8 มีนาคม: วันสตรีสากล; วันแม่ในหลายประเทศ



อากาศยานมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370




  • พ.ศ. 1553 (ค.ศ. 1010) – กวีชาวเปอร์เซีย เฟอร์โดว์ซี ประพันธ์ผลงานชิ้นเอก ชาห์นาเมะ มหากาพย์แห่งชาติของอิหร่านและสังคมที่เกี่ยวเนื่อง เสร็จสิ้น


  • พ.ศ. 2161 (ค.ศ. 1618) – นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน โยฮันเนส เคปเลอร์ ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ข้อที่สาม


  • พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) – เจ้าหญิงแอนน์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ถัดจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3


  • พ.ศ. 2279 (ค.ศ. 1736) – ชาห์นาเดอร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาฟชาริยะห์ ราชาภิเษกเป็นชาห์แห่งอิหร่าน


  • พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) – มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (อากาศยานในภาพ) สาบสูญระหว่างทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปกรุงปักกิ่ง ทำให้เกิดการค้นหาที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์การบิน

ดูเพิ่ม: 7 มีนาคม – 8 มีนาคม – 9 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



9 มีนาคม:



เอมัน เดฟเลอรา




  • พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) – มีการพิมพ์ความมั่งคั่งของประชาชาติ โดย อดัม สมิธ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวสกอต ครั้งแรก นับเป็นงานสมัยใหม่ชิ้นแรกในสาขาเศรษฐศาสตร์


  • พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – เอมัน เดฟเลอรา (ในภาพ) บุคคลสำคัญทางการเมืองคนหนึ่งในประเทศไอร์แลนด์คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นประธานสภาบริหารเสรีรัฐไอร์แลนด์


  • พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐทิ้งระเบิดโฉบฉวยถล่มกรุงโตเกียว ทำให้เกิดพายุเพลิงซึ่งคร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นกว่า 100,000 คน


  • พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – บาร์บี้ ตุ๊กตาที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก เปิดตัวครั้งแรกในมหกรรมของเล่นนานาชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดขึ้นที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา


  • พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – ฟอร์ด มัสแตงคันแรก ออกจากสายการผลิตในเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน

ดูเพิ่ม: 8 มีนาคม – 9 มีนาคม – 10 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



10 มีนาคม:



ดาวยูเรนัสกับดวงจันทร์บางส่วน




  • พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1831) – พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงตั้งกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส เป็นหน่วยอาสาสมัครต่างด้าว เพราะคนต่างชาติถูกห้ามรับราชการในกองทัพฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติกรกฎาคม ค.ศ. 1830


  • พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) – ฟุลเคนเซียว บาติสตา อดีตประธานาธิบดีคิวบา รัฐประหารในคิวบา เพื่อรักษาอำนาจของตน หลังน่าจะแพ้การเลือกตั้ง


  • พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – นักดาราศาสตร์ใช้หอดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์นของนาซาซึ่งเป็นหอดูดาวบนเครื่องบินเจ็ตดัดแปลง ค้นพบระบบวงแหวนดาวเคราะห์จาง (ในภาพ) รอบดาวยูเรนัส


  • พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) – ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก แตะจุดสูงสุดที่ 5,048.62 จุด ณ ช่วงเฟื่องฟูของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ด็อตคอม


  • พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ของนาซาเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคาร

ดูเพิ่ม: 9 มีนาคม – 10 มีนาคม – 11 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



11 มีนาคม: วันเอกราชในลิทัวเนีย (พ.ศ. 2533)



ซูการ์โน




  • พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) – รัฐบาลญี่ปุ่นยุคเมจิผนวกอาณาจักรรีวกีวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอะกินะวะ


  • พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: รัฐบัญญัติให้ยืม-เช่ามีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ซึ่งอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาจัดหายุทธปัจจัยปริมาณมากให้แก่สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต จีน ฝรั่งเศส และประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น


  • พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – ซูการ์โน (ในภาพ) ประธานาธิบดีอินโดนีเซียผู้อยู่ในอำนาจตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกซูฮาร์โตและกองทัพบังคับให้ลงจากตำแหน่ง


  • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – จอห์น โฮเวิร์ด เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 25


  • พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ทำให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิตามมา

ดูเพิ่ม: 10 มีนาคม – 11 มีนาคม – 12 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



12 มีนาคม: วันต่อต้านการตรวจพิจารณาไซเบอร์โลก‎; วันเอกราชในมอริเชียส (พ.ศ. 2511)



คานธีระหว่างสัตยาเคราะห์เกลือ




  • พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) – สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 15 ทรงประกาศให้อิกเนเชียสแห่งโลโยลาและฟรันซิสโก คาเบียร์ ผู้ก่อตั้งคณะเยซูอิต เป็นนักบุญ


  • พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1930) – มหาตมะ คานธีเริ่มสัตยาเคราะห์เกลือ (ในภาพ) การเดินทางไกล 320 กิโลเมตร ในเวลา 24 วัน เพื่อประท้วงภาษีเกลือที่รัฐบาลอังกฤษตั้งไว้ในอาณานิคมอินเดีย


  • พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1938) – เวร์มัคท์ยึดครองออสเตรีย และถูกแปลงเป็นออสท์มาร์ค จังหวัดหนึ่งของนาซีเยอรมนี ในเวลาต่อมา


  • พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) – สงครามโลกครั้งที่สอง: มีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพมอสโก ซึ่งยุติสงครามฤดูหนาวระหว่างฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียต


  • พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – สงครามเย็น: ประธานาธิบดีสหรัฐ แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประกาศลัทธิทรูแมน เพื่อช่วยสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์

ดูเพิ่ม: 11 มีนาคม – 12 มีนาคม – 13 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



13 มีนาคม: วันช้างไทย



วิลเลียม เฮอร์เชล




  • พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1781) – วิลเลียม เฮอร์เชล (ในภาพ) นักดาราศาสตร์และคีตกวีชาวเยอรมันโดยกำเนิด ค้นพบดาวยูเรนัส ขณะพักอยู่ในบ้านของเขาใน บาธ มณฑลซอมเมอร์เซ็ท ประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นดาวหาง


  • พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) – ไวโอลินคอนแซร์โตของเฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น คีตกวีชาวเยอรมัน ไวโอลินคอนแซร์โตที่ได้รับความนิยมที่สุดและมีการแสดงบ่อยครั้งที่สุดอันหนึ่งตลอดกาล เล่นครั้งแรกในไลพ์ซิจ


  • พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1881) – จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียถูกลอบปลงพระชนม์ใกล้พระราชวังของพระองค์ในแผนขวางระเบิดของนักปฏิวัติสี่คน


  • พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – กองกำลังเวียดมินห์ภายใต้หวอ เงวียน ซ้าป เริ่มยิงปืนใหญ่ใส่ที่ตั้งของทหารฝรั่งเศส อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการสำคัญสุดยอดในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง


  • พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) – ฟรานซิสได้รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปา ทำให้พระองค์เป็นพระสันตะปาปาเยซูอิตคนแรก คนแรกจากทวีปอเมริกา คนแรกจากซีกโลกใต้ และที่มิใช่ยุโรปคนแรกในรอบกว่า 1,000 ปี

ดูเพิ่ม: 12 มีนาคม – 13 มีนาคม – 14 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



14 มีนาคม: วันขึ้นปีใหม่ (ศาสนาซิกข์); ไวต์เดย์ในญี่ปุ่น; วันพาย



เอลี วิทนีย์




  • พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1794) – เอลี วิทนีย์ (ในภาพ) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน จดสิทธิบัตรคอตตอนจิน เครื่องจักรเครื่องแรกซึ่งสามารถแยกใยฝ้ายออกจากฝักได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย


  • พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – ผู้สำรวจน้ำมันในเทศมณฑลเคิร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ขุดเข้าแหล่งสะสมน้ำมันความดันสูง ทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลโดยอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์


  • พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – กองทัพอากาศบริติชใช้ระเบิดแกรนด์สแลม ระเบิดคลื่นแผ่นดินไหวขนาดเกือบ 10 ตันเป็นครั้งแรก ต่อสะพานทางรถไฟยุทธศาสตร์ในบีเลอเฟลด์ ประเทศเยอรมนี


  • พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) – ระบบปฏิบัติการเคอร์เนล ลินุกซ์ เคอร์เนล เวอร์ชัน 1.0.0 ออกวางจำหน่าย กลายเป็นตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่โดดเด่นที่สุดตัวอย่างหนึ่ง


  • พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – เกิดชุดการจลาจล การประท้วงและการเดินขบวนในลาซาและที่อื่นในทิเบต

ดูเพิ่ม: 13 มีนาคม – 14 มีนาคม – 15 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



15 มีนาคม:



ภาพวาดการลอบสังหารจูเลียส ซีซาร์ โดย Vincenzo Camuccini




  • พ.ศ. 500 (44 ปีก่อน ค.ศ.) – ผู้เผด็จการจูเลียส ซีซาร์แห่งสาธารณรัฐโรมัน ถูกมาร์คัส จูนิอัส บรูตัสและสมาชิกวุฒิสภาโรมันอีกหลายคนใช้มีดแทงเสียชีวิต (ภาพวาดในภาพ)


  • พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) – ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลของอังกฤษ


  • พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) – ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติระหว่างการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ สิ้นสุดการปกครองกว่า 3 ศตวรรษของราชวงศ์โรมานอฟ


  • พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – เดอะก็อดฟาเธอร์ ภาพยนตร์อาชญากรรมซึ่งสร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกัน โดย มาริโอ พูโซ และผู้กำกับ ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา เข้าฉายเป็นวันแรก


  • พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – อาหรับสปริง: เกิดการประท้วงทั่วประเทศซีเรียต่อรัฐบาลอำนาจนิยม

ดูเพิ่ม: 14 มีนาคม – 15 มีนาคม – 16 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



16 มีนาคม:



คนอสซอส




  • พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) – รัฐสภายาว ซึ่งเดิมพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงเรียกหลังสงครามบาทหลวงเมื่อ ค.ศ. 1640 ยุบตัวลง


  • พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1900) – อาร์เธอร์ อีแวนส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ซื้อซากเมืองคนอสซอส (ในภาพ) ศูนย์กลางสำคัญของอารยธรรมไมนวนและแหล่งโบราณคดียุคสำริดแหล่งใหญ่ที่สุดบนเกาะครีต เพื่อการขุดค้น


  • พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) – โรเบิร์ต ก็อดเดิร์ด นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ปล่อยจรวดเชื้อเพลิงเหลวลำแรกของโลก ซึ่งลอยอยู่นาน 2.5 วินาทีก่อนตกลงสู่พื้นดิน


  • พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – สงครามเวียดนาม: ทหารอเมริกันสังหารพลเรือนไม่มีอาวุธหลายร้อยคน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองหมีลาย ประเทศเวียดนามใต้


  • พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติออกเสียงท่วมท้นให้จัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ดูเพิ่ม: 15 มีนาคม – 16 มีนาคม – 17 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



17 มีนาคม:



แวนการ์ด 1




  • พ.ศ. 2348 (ค.ศ. 1805) – นโปเลียนทรงเปลี่ยนสาธารณรัฐอิตาลีเป็นราชอาณาจักรอิตาลี


  • พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – มีการประกาศการสังเคราะห์ธาตุแคลิฟอร์เนียม ธาตุหลังยูเรเนียมกัมมันตรังสี เลขอะตอม 92


  • พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – แวนการ์ด 1 (ในภาพ) ดาวเทียมพลังงานแสงอาทิตย์ดวงแรกของโลก ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ที่ยังอยู่ในวงโคจรของโลกถึงปัจจุบัน


  • พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – การปะทุของภูเขาไฟอากุงครั้งล่าสุด บนจังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,500 ศพ


  • พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – สงครามกลางเมืองลิเบีย: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ 1973 อนุมัติให้มีการแทรกแซงทางทหารเพื่อคุ้มครองพลเรือนในประเทศลิเบีย

ดูเพิ่ม: 16 มีนาคม – 17 มีนาคม – 18 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



18 มีนาคม: วันธงในอารูบา (พ.ศ. 2519)



จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2




  • พ.ศ. 778 (ค.ศ. 235) – อเล็กซานเดอร์ เซเวรัส จักรพรรดิโรมันถูกลีเจียนารีของพระองค์เองลอบปลงพระชนม์ เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3


  • พ.ศ. 1772 (ค.ศ. 1229) – สงครามครูเสดครั้งที่หก: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 (ในภาพ) จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เยรูซาเลม


  • พ.ศ. 1857 (ค.ศ. 1314) – พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสทรงให้เผาฌักแห่งมอแล ผู้นำของอัศวินเทมพลาร์คนสุดท้าย ทั้งเป็น


  • พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) – สงครามโปแลนด์-โซเวียต ซึ่งเป็นตัวกำหนดพรมแดนระหว่างโปแลนด์และโซเวียตรัสเซีย ยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยสนธิสัญญาสันติภาพริกา


  • พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – สมัชชาแห่งชาติกัมพูชาขับเจ้านโรดม สีหนุออกจากประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีลน นลใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อยึดอำนาจ

ดูเพิ่ม: 17 มีนาคม – 18 มีนาคม – 19 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



19 มีนาคม: วันพ่อในหลายประเทศ



สะพานฮาร์เบอร์ในซิดนีย์




  • พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – คลารา เซทคิน นักการเมืองเยอรมันสังคมนิยม สถาปนาวันสตรีสากลครั้งแรก


  • พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1915) – ถ่ายภาพดาวพลูโตครั้งแรก 15 ปีก่อนไคลด์ ทอมบอก์ค้นพบอย่างเป็นทางการ ณ หอดูดาวโลเวลล์


  • พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ (ในภาพ) สิ่งก่อสร้างสำคัญแห่งหนึ่งของซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เปิดใช้อย่างเป็นทางการ


  • พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – บ็อบ ดิลลัน นักดนตรีชาวอเมริกันทรงอิทธิพลอย่างสูง ออกอัลบั้มแรกของเขาชื่อเดียวกัน


  • พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) – กองกำลังอาร์เจนตินา นำโดย อัลเฟรโด แอสทิซ เข้ายึดครองเซาท์จอร์เจีย ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก จุดชนวนสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กับสหราชอาณาจักร

ดูเพิ่ม: 18 มีนาคม – 19 มีนาคม – 20 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



20 มีนาคม: วันเอกราชในตูนิเซีย (พ.ศ. 2499)



แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์




  • พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) – ราชอาณาจักรสยามลงนามสนธิสัญญาโรเบิร์ต เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ทำกับสหรัฐ


  • พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1852) – กระท่อมน้อยของลุงทอม โดย แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (ในภาพ) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน วางจำหน่ายเป็นวันแรก วรรณกรรมดังกล่าวมีอิทธิพลกับทัศนคติที่มีต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกันและความเป็นทาสในสหรัฐอเมริกาอย่างลึกซึ้ง


  • พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1883) – 11 ประเทศร่วมลงนามอนุสัญญาปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม สนธิสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรก ๆ


  • พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) – ยาต้านรีโทรไวรัส ไซโดวูดีน (เอแซดที) กลายเป็นยาต้านไวรัสชนิดแรก ที่ได้รับการรับรองให้ใช้กับเอชไอวีและโรคเอดส์


  • พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – กำลังผสมที่มีสหรัฐเป็นผู้นำบุกครองอิรัก เริ่มสงครามอิรัก

ดูเพิ่ม: 19 มีนาคม – 20 มีนาคม – 21 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



21 มีนาคม: วันดาวน์ซินโดรมโลก; วันกวีนิพนธ์สากล; วันแม่ในโลกอาหรับ; วันเอกราชในนามิเบีย (พ.ศ. 2533)



ออทโท ฟอน บิสมาร์ค




  • พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1804) – ประมวลกฎหมายนโปเลียน กฎหมายแพ่งฉบับแรกของฝรั่งเศสซึ่งสถาปนาในรัชกาลนโปเลียน มีผลใช้บังคับ โดยมีอิทธิพลต่อกฎหมายแพ่งในหลายประเทศในเวลาต่อมา


  • พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) – ออทโท ฟอน บิสมาร์ค (ในภาพ) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมัน ได้รับประกาศเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก


  • พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – ทัณฑสถานของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาบนเกาะอัลคาทราซ ในอ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ปิดตัวลง


  • พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – ประธานาธิบดีสหรัฐ จิมมี่ คาร์เตอร์ ประกาศคว่ำบาตรการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ในกรุงมอสโก เพื่อประท้วงการรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต


  • พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – มีชายใช้ค้อนพังศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร และถูกผู้พบเห็นเหตุการณ์ทุบตีจนเสียชีวิต

ดูเพิ่ม: 20 มีนาคม – 21 มีนาคม – 22 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



22 มีนาคม: วันน้ำของโลก



รูปปั้นอเมริโก เวสปุชชี




  • พ.ศ. 2051 (ค.ศ. 1508) – พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนทรงตั้งอเมริโก เวสปุชชี (รูปปั้นในภาพ) ให้รั้งตำแหน่งหัวหน้านักเดินเรือสเปน


  • พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1785) – มีการประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในที่ตั้งปัจจุบัน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในเขตพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร


  • พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – ฮอโลคอสต์: การก่อสร้างค่ายกักกันนาซีแห่งแรกที่ดาเชาเสร็จ


  • พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ประเทศอียิปต์ อิรัก เลบานอน ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย ทรานส์จอร์แดนและเยเมนก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นองค์การภูมิภาคซึ่งตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่โครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ของโลกอาหรับ


  • พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – พลีสพลีสมี อัลบั้มแรกของวงร็อกอังกฤษ เดอะบีตเทิลส์ ออกวางจำหน่าย

ดูเพิ่ม: 21 มีนาคม – 22 มีนาคม – 23 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



23 มีนาคม: วันชาติในปากีสถาน (พ.ศ. 2499)



สถานีอวกาศมีร์




  • พ.ศ. 2344 (ค.ศ. 1801) – ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 สืบราชบัลลังก์รัสเซียหลังพอลที่ 1 พระบรมราชชนก ถูกปลงพระชนม์ในห้องบรรทมที่ปราสาทเซนต์ไมเคิล


  • พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – ไรชส์ทาคเยอรมันผ่านรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ซึ่งมอบอำนาจเผด็จการแก่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ทำให้เขาและคณะรัฐมนตรีตรากฎหมายได้โดยรัฐสภาไม่ต้องมีส่วนร่วม


  • พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – มีการส่งกำลังชั่วคราวสหประชาชาติในเลบานอนเพื่อยืนยันการถอนกำลังของอิสราเอลหลังการบุกครองเมื่อเก้าวันก่อน


  • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – หลี่ เติงฮุยได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประเทศไต้หวัน


  • พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียทำให้สถานีอวกาศมีร์ (ในภาพ) อายุ 15 ปีหลุดจากวงโคจร ทำให้กลับเข้าบรรยากาศของโลกและสลายเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก

ดูเพิ่ม: 22 มีนาคม – 23 มีนาคม – 24 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



24 มีนาคม: วันวัณโรคโลก



โรเบิร์ต คอค




  • พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1603) – พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสี่ดินแดนพระองค์แรก


  • พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1882) – แพทย์ชาวเยอรมัน โรเบิร์ต คอค (ในภาพ) ประกาศการค้นพบ Mycobacterium tuberculosis แบคทีเรียสาเหตุของวัณโรค


  • พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) – รัฐบัญญัติไทดิงส์–แม็กดัฟฟีมีผลใช้บังคับ ซึ่งกำหนดการปกครองตนเองของฟิลิปปินส์และเอกราชจากสหรัฐของฟิลิปปินส์เป็นระยะเวลาสิบปปี


  • พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – พรรคสันติภาพและความรุ่งเรืองของภูฏาน นำโดย จิกมี ทินเลย์ ได้ 45 จาก 47 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรภูฏาน ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของประเทศ


  • พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) – นักบินร่วมของเยอรมันวิงส์ เที่ยวบินที่ 9525 เจตนาชนอากาศยานในการฆ่าคนหมู่-ฆ่าตัวตายในเทือกเขาแอลป์ฝรั่งเศส ทั้ง 150 คนบนเครื่องเสียชีวิต

ดูเพิ่ม: 23 มีนาคม – 24 มีนาคม – 25 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



25 มีนาคม: วันประกาศเอกราชในกรีซ (พ.ศ. 2363)



ภาพวาดคริสเตียน ไฮเกนส์




  • พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1655) – คริสตียาน เฮยเคินส์ นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ (ในภาพ) ค้นพบดาวไททัน ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์


  • พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) – พระราชบัญญัติการค้าทาสมีใช้ผลบังคับ เป็นผลให้ค้าทาสในจักรวรรดิอังกฤษถูกยกเลิก


  • พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – เหตุเพลิงไหม้โรงงานไทรแองเกิลเชิร์ตเวสต์ในนครนิวยอร์กคร่าชีวิตคนงานทอผ้าไปกว่า 140 คน ซึ่งคนงานจำนวนมากไม่สามารถหนีออกมาได้เพราะผู้จัดการล็อกประตูไปยังปล่องบันไดและทางออก


  • พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – ประเทศเยอรมนีตะวันตก เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก อิตาลี ฝรั่งเศส และเบลเยียมลงนามสนธิสัญญาโรม เพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป


  • พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – สมเด็จพระราชาธิบดีไฟซาลแห่งซาอุดีอาระเบียถูกฟัยศ็อล บิน มูซาอิด พระภาติยะ ปลงพระชนม์ด้วยพระแสงปืน


  • พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – วอร์ด คันนิงแฮม โปรแกรมเมอร์คอมพิวเตอร์ชาวอเมริกัน สร้างวิกิแห่งแรก วิกิวิกิเว็บ

ดูเพิ่ม: 24 มีนาคม – 25 มีนาคม – 26 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



26 มีนาคม: วันประกาศเอกราชในบังกลาเทศ (พ.ศ. 2514)



โจนัส ซอล์กใน ค.ศ. 1959




  • พ.ศ. 1569 (ค.ศ. 1026) – สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 19 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกให้พระเจ้าคอนราดที่ 2 แห่งเยอรมนี เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์


  • พ.ศ. 2249 (ค.ศ. 1707) – ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์รวมกันเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707


  • พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1917) – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการสถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย


  • พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – โจนัส ซอล์ก (ในภาพ) ประกาศการทดสอบวัคซีนโรคโปลิโอของเขาที่สำเร็จต่อผู้ใหญ่และเด็กกลุ่มเล็ก


  • พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ สนธิสัญญาจำกัดอาวุธหลายฝ่ายฉบับแรกซึ่งห้ามการผลิตอาวุธชีวภาพทุกประเภท มีผลใช้บังคับ

ดูเพิ่ม: 25 มีนาคม – 26 มีนาคม – 27 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



27 มีนาคม:



นิกิตา ครุสชอฟ




  • พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – นิกิตา ครุสชอฟ (ในภาพ) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี


  • พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – เครื่องบินโดยสารโบอิง 747 สองลำชนกันบนทางวิ่งภายในท่าอากาศยานโลสโรเดโอส เกาะเตเนรีเฟ หมู่เกาะคานารี ประเทศสเปน เป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต 583 คน นับเป็นอุบัติเหตุอากาศยานเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การบิน


  • พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – เจียง เจ๋อหมินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สืบจากหยาง ซั่งคุน


  • พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – องค์การอาหารและยาสหรัฐรับรองยาซิลเดนาฟิล หรือชื่อการค้า ไวอะกร้า ให้ใช้รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ นับเป็นยาตัวแรกที่ได้รับการรับรองให้รักษาอาการนี้ในสหรัฐ


  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – เขื่อนกั้นซิตู จินตุง ทะเลสาบประดิษฐ์ในเขตตังเกอรัง ประเทศอินโดนีเซีย แตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 100 คน

ดูเพิ่ม: 26 มีนาคม – 27 มีนาคม – 28 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



28 มีนาคม: วันครูในสาธารณรัฐเช็ก



โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรีไมล์




  • พ.ศ. 736 (ค.ศ. 193) – องค์รักษ์เพรทอเรียนลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิโรมัน เพอร์ทิแน็กซ์ และประมูลขายราชบัลลังก์ให้ไดดิอัส จูลิอานัส


  • พ.ศ. 2345 (ค.ศ. 1802) – นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ไฮนริค วิลเฮล์ม มัททีอัส โอลเบอส์ ค้นพบ 2 พัลลัส ดาวเคราะห์น้อยอันดับที่ 2 ซึ่งมนุษย์รู้จัก


  • พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – ประเทศจีนตั้งปันเชนลามะเป็นหัวหน้ารัฐบาล หลังทะไลลามะที่ 14 หลบหนีจากราชอาณาจักรทิเบต


  • พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – การหลอมละลายของแกนบางส่วนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ (ในภาพ) ใกล้กับเมืองแฮริสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของธาตุคริปทอนกัมมันตรังสีที่ประเมินไว้ 43,000 คิวรี (1.59 เพตาเบ็กแรล) สู่สิ่งแวดล้อม


  • พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – แผ่นดินไหวนีอัสถล่มเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย คร่าชีวิตประชาชนไปประมาณ 1,300 ศพ

ดูเพิ่ม: 27 มีนาคม – 28 มีนาคม – 29 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



29 มีนาคม:



กองทัพเครื่องดินเผา




  • พ.ศ. 2004 (ค.ศ. 1461) – กองทัพราชวงศ์ยอร์กชนะกองทัพราชวงศ์แลงแคสเตอร์ในยุทธการที่โทว์ทัน ยอร์กเชอร์ ประเทศอังกฤษ นับเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดในสงครามดอกกุหลาบจนถึงเวลานั้น มีทหารเสียชีวิตประมาณ 20,000 นาย


  • พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1638) – ชาวสวีเดนก่อตั้งนิวสวีเดน ใกล้อ่าวเดลาแวร์ เป็นอาณานิคมสวีเดนแห่งแรกในทวีปอเมริกา


  • พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) – ไฮน์ริช วิลเฮล์ม มัททีอัส โอลเบิร์ส นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ค้นพบ 4 เวสตา ดาวเคราะห์น้อยซึ่งสว่างที่สุดและเป็นวัตถุซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในแถบดาวเคราะห์น้อย


  • พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) – มาริเนอร์ 10 ของนาซา ที่ปล่อยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 เป็นยานอวกาศลำแรกที่บินผ่านดาวพุธ

  • พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) – ชาวนากลุ่มหนึ่งในมณฑลส่านซี ประเทศจีน ค้นพบหมู่รูปปั้นเครื่องดินเผาสีหม้อใหม่ที่แสดงกองทัพของจักรพรรดิฉินสื่อหวง ปฐมจักรพรรดิจีน ซึ่งปัจจุบันเรียก กองทัพเครื่องดินเผา (ในภาพ)

ดูเพิ่ม: 28 มีนาคม – 29 มีนาคม – 30 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



30 มีนาคม:



วาง จิงเว่ย




  • พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1845) – ครอว์ฟอร์ด ลอง แพทย์ชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่ใช้ไดเอทิลอีเทอร์เป็นยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด


  • พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1867) – รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ วิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด เจรจาซื้ออะแลสกาจากจักรวรรดิรัสเซียเป็นเงิน 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


  • พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) – สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง: จักรวรรดิญี่ปุ่นแต่งตั้งวาง จิงเว่ย (ในภาพ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลหุ่นในประเทศจีน


  • พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – มีการลงนามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ สนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านการผลิตและการค้าสารเสพติดอย่างผิดกฎหมาย


  • พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) – ประธานาธิบดีสหรัฐ โรนัลด์ เรแกน กับผู้อื่นอีก 3 คน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ดูเพิ่ม: 29 มีนาคม – 30 มีนาคม – 31 มีนาคม



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



31 มีนาคม: วันมหาเจษฎาบดินทร์ในไทย



หอไอเฟล




  • พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) – พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี แห่งกองทัพเรือสหรัฐและรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะลงนามสนธิสัญญาคะนะงะวะ บีบให้เปิดท่าญี่ปุ่นค้าขายกับสหรัฐ


  • พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1889) – หอไอเฟล (ในภาพ) เปิดอย่างเป็นทางการในกรุงปารีส กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศฝรั่งเศส และสิ่งก่อสร้างที่มีผู้รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก


  • พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1917) – หมู่เกาะอินเดียตะวันตกของเดนมาร์กกลายเป็นหมู่เกาะเวอร์จินแห่งสหรัฐอเมริกา หลังสหรัฐจ่ายเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐซื้อหมู่เกาะแคริบเบียนจากประเทศเดนมาร์ก


  • พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1934) – ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน" ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย นับเป็นการสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน องค์การบัญญัติหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทย


  • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – ยูเอสเอส มิสซูรี เรือประจัญบานประจำการลำสุดท้ายของกองทัพเรือสหรัฐ ปลดประจำการในลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย

ดูเพิ่ม: 30 มีนาคม – 31 มีนาคม – 1 เมษายน



จดหมายเหตุรายชื่อบทความวันนี้ในอดีต



ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ



มกราคม - กุมภาพันธ์ - มีนาคม - เมษายน - พฤษภาคม - มิถุนายน - กรกฎาคม - สิงหาคม - กันยายน - ตุลาคม - พฤศจิกายน - ธันวาคม










ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/มีนาคม&oldid=4851572"










รายการเลือกการนำทาง


























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.352","walltime":"0.549","ppvisitednodes":"value":330,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":112846,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":107,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":5,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":0,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 160.712 1 -total"," 6.47% 10.391 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/1_มีนาคม"," 5.42% 8.708 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/8_มีนาคม"," 4.63% 7.435 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/7_มีนาคม"," 4.58% 7.364 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/26_มีนาคม"," 3.68% 5.911 3 แม่แบบ:Nowrap"," 3.30% 5.310 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/18_มีนาคม"," 3.18% 5.104 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/19_มีนาคม"," 3.07% 4.926 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/5_มีนาคม"," 2.94% 4.724 1 วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/31_มีนาคม"],"cachereport":"origin":"mw1267","timestamp":"20190322080313","ttl":3600,"transientcontent":true);mw.config.set("wgBackendResponseTime":693,"wgHostname":"mw1267"););

Popular posts from this blog

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Masuk log Menu navigasi

อาณาจักร (ชีววิทยา) ดูเพิ่ม อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง10.1086/39456810.5962/bhl.title.447410.1126/science.163.3863.150576276010.1007/BF01796092408502"Phylogenetic structure of the prokaryotic domain: the primary kingdoms"10.1073/pnas.74.11.5088432104270744"Towards a natural system of organisms: proposal for the domains Archaea, Bacteria, and Eucarya"1990PNAS...87.4576W10.1073/pnas.87.12.4576541592112744PubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by hand"A revised six-kingdom system of life"10.1111/j.1469-185X.1998.tb00030.x9809012"Only six kingdoms of life"10.1098/rspb.2004.2705169172415306349"Kingdoms Protozoa and Chromista and the eozoan root of the eukaryotic tree"10.1098/rsbl.2009.0948288006020031978เพิ่มข้อมูล