พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื้อหา พระประวัติ พระโอรส-ธิดา พระกรณียกิจ พระเกียรติยศ สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม รถยนต์พระที่นั่ง การระลึก พงศาวลี อ้างอิง แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รายการเลือกการนำทาง"ข่าวราชการและพระเจ้าลูกเธอทรงผนวช""พระเจ้าลูกเธอลาผนวช""พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม"ข่าวสิ้นพระชนม์สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวงพระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานพระสุพรรณบัตรพระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์"พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา"ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทยราชสกุลวงศ์กกกกกก
เจ้าฟ้าฉิมเจ้าฟ้าจุ้ยพระองค์เจ้ากล้ายพระองค์เจ้าทับทิมพระองค์เจ้าอภัยทัตพระองค์เจ้าอรุโณทัยพระองค์เจ้าทับพระองค์เจ้าคันธรสพระองค์เจ้าสุริยาพระองค์เจ้าวาสุกรีพระองค์เจ้าฉัตรพระองค์เจ้าสุริยวงศ์พระองค์เจ้าไกรสรพระองค์เจ้าดารากรพระองค์เจ้าดวงจักรพระองค์เจ้าสุทัศน์พระองค์เจ้าคเนจรพระองค์เจ้าลักขณานุคุณพระองค์เจ้าโกเมนพระองค์เจ้าศิริวงศ์พระองค์เจ้างอนรถพระองค์เจ้าลดาวัลย์พระองค์เจ้าอุไรพระองค์เจ้าชุมสายพระองค์เจ้าเปียกพระองค์เจ้าอรรณพพระองค์เจ้าลำยองพระองค์เจ้าเฉลิมวงศ์พระองค์เจ้าอมฤตย์พระองค์เจ้าสุบรรณพระองค์เจ้าสิงหราพระองค์เจ้าชมพูนุทพระองค์เจ้าจินดาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรงเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัยเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์พระองค์เจ้ายุคลฑิฆัมพรพระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมารพระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดมพระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดชพระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์พระองค์เจ้าวุฒิสมัยวโรดมพระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ์พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2417บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2463พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5พระองค์เจ้าชายกรมหลวงพระราชโอรสในรัชกาลที่ 5องคมนตรีในรัชกาลที่ 6ราชสกุลรพีพัฒน์นักกฎหมายชาวไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยบุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเสียชีวิตจากโรคไต
ราชสกุลรพีพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์หม่อมอ่อนหม่อมแดงหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าจอมมารดาตลับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญาพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)ภาษาไทยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)พระบรมมหาราชวังบาบู รามซามีโรงเรียนทหารมหาดเล็กโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอดินบะระประเทศสกอตแลนด์หม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ภาษาละตินภาษาอังกฤษภาษาฝรั่งเศสประเทศไทยลอนดอนประเทศอังกฤษไครส์ตเชิร์ชมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์วัดพระศรีรัตนศาสดารามพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์อุปัชฌาย์พระพุทธปรางค์ปราสาทวัดบวรนิเวศราชวรวิหารสำนักราชเลขาธิการองคมนตรีศาลฎีกาต่อมลูกหมากไตปารีสประเทศฝรั่งเศสหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบกระทรวงยุติธรรมศาลศาลกงสุลชาวไทยผู้พิพากษาเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์)นักกฎหมายกฎหมายฎีกาเครื่องราชอิสริยาภรณ์พ.ศ. 2447พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนักกฎหมายวันรพีอนุสาวรีย์พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์สำนักงานศาลยุติธรรมเนติบัณฑิตยสภาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินกรมพระจันทบุรีนฤนาถกรมพระยาชัยนาทนเรนทรกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสกรมขุนเทพทวาราวดีกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชกรมหลวงนครราชสีมากรมพระนครสวรรค์วรพินิตกรมหลวงปราจิณกิติบดีกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์กรมหลวงสงขลานครินทร์กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดีกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชากรมพระเทพนารีรัตน์กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธรกรมหลวงศรีรัตนโกสินทรกรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดีกรมขุนสุพรรณภาควดีกรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารีกรมพระยาเดชาดิศรกรมพระยาบำราบปรปักษ์กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์กรมพระยาวชิรญาณวโรรสกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการกรมพระยาดำรงราชานุภาพกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กรมพระยาชัยนาทนเรนทรกรมพระอนุรักษ์เทเวศร์กรมพระปรมานุชิตชิโนรสกรมพระรามอิศเรศกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์กรมพระพิทักษ์เทเวศร์กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์กรมพระจักรพรรดิพงษ์กรมพระนเรศรวรฤทธิ์กรมพระสมมตอมรพันธ์กรมพระจันทบุรีนฤนาถกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิตกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินกรมหลวงธิเบศรบดินทร์กรมหลวงนรินทรรณเรศกรมหลวงจักรเจษฎากรมหลวงอิศรสุนทรกรมหลวงเทพหริรักษ์กรมหลวงศรีสุนทรเทพกรมหลวงเสนานุรักษ์กรมหลวงพิทักษ์มนตรีกรมหลวงเทพพลภักดิ์กรมหลวงรักษ์รณเรศกรมหลวงเสนีบริรักษ์กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชยกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศร์กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชากรมหลวงวงศาธิราชสนิทกรมหลวงวรศักดาพิศาลกรมหลวงพิชิตปรีชากรกรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถกรมหลวงปราจิณกิติบดีกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์กรมหลวงอดิศรอุดมเดชกรมหลวงพรหมวรานุรักษ์กรมหลวงนครราชสีมากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชากรมหลวงลพบุรีราเมศร์กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์กรมหลวงสงขลานครินทร์กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรกรมหลวงวชิรญาณวงศ์กรมขุนสุนทรภูเบศร์กรมขุนกษัตรานุชิตกรมขุนอิศรานุรักษ์กรมขุนอิศเรศรังสรรค์กรมขุนสถิตย์สถาพรกรมขุนนรานุชิตกรมขุนธิเบศร์บวรกรมขุนพินิตประชานาถกรมขุนวรจักรธรานุภาพกรมขุนราชสีหวิกรมกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาลกรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์กรมขุนเทพทวาราวดีกรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดากรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยกรมขุนสิริธัชสังกาศกรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์กรมหมื่นศักดิพลเสพกรมหมื่นนราเทเวศร์กรมหมื่นนเรศร์โยธีกรมหมื่นเสนีเทพกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์กรมหมื่นอินทรพิพิธกรมหมื่นจิตรภักดีกรมหมื่นศรีสุเรนทร์กรมหมื่นสุรินทรรักษ์กรมหมื่นสุนทรธิบดีกรมหมื่นนรินทรเทพกรมหมื่นศรีสุเทพกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์กรมหมื่นเสพสุนทรกรมหมื่นอมรมนตรีกรมหมื่นนเรนทรบริรักษ์กรมหมื่นไกรสรวิชิตกรมหมื่นสนิทนเรนทร์กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์กรมหมื่นถาวรวรยศกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชากรมหมื่นภูบาลบริรักษ์กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์กรมหมื่นภูมินทรภักดีกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสกรมหมื่นมนตรีรักษากรมหมื่นเทวานุรักษ์กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรกรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติกรมหมื่นอุดมรัตนราษีกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยกรมหมื่นบวรวิไชยชาญกรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดชกรมหมื่นอมเรศรัศมีกรมหมื่นอานุภาพพิศาลศักดิ์กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์กรมหมื่นสิทธิสุขุมการกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิกรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัยกรมหมื่นปราบปรปักษ์กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชากรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณกรมหมื่นพงษาดิศรมหิปกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากรกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกรมหมื่นอนุพงษ์จักรพรรดิ์กรมหมื่นชาญไชยบวรยศกรมหมื่นสรรควิไสยนรบดีกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชากรมหมื่นพิทยาลงกรณ์กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสกรมหมื่นอนุวัตน์จาตุรนต์กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดชกรมหมื่นเทววงศวโรทัยกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์กรมหมื่นอดิศรอุดมศักดิ์กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ
(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ | |
---|---|
เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม | |
พ.ศ. 2439 - 2453 | |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร |
ถัดไป | เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) |
ภรรยา | พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพัทธ์ประไพ (หย่า) หม่อม หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
พระบุตร | 13 พระองค์ |
ประสูติ | 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 |
สิ้นพระชนม์ | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (45 ปี) |
มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 - 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ทรงเป็นต้นราชสกุลรพีพัฒน์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้วางรากฐานด้านกฎหมายในเมืองไทย จนได้รับพระสมัญญานามว่าพระบิดาแห่งกฎหมายไทย[1]
ทางด้านชีวิตส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเสกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ พระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ แต่ทรงใช้ชีวิตคู่ร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกัน หลังจากนั้นทรงรับหม่อมอ่อนเป็นมาหม่อมเอก และหลังจากนั้นทรงรับหม่อมมาเพิ่มอีก 2 ท่าน คือ หม่อมแดงและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 พระชนมายุได้ 45 ปี
เนื้อหา
1 พระประวัติ
1.1 ประสูติ
1.2 การศึกษา
1.3 พระราชพิธีโสกันต์
1.4 ผนวช
1.5 รับราชการ
1.6 สิ้นพระชนม์
2 พระโอรส-ธิดา
2.1 หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
2.2 หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
2.3 หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช
3 พระกรณียกิจ
3.1 ด้านกฎหมาย
4 พระเกียรติยศ
4.1 พระอิสริยยศ
4.2 เครื่องราชอิสริยาภรณ์
4.3 พระสมัญญา
5 สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม
6 รถยนต์พระที่นั่ง
7 การระลึก
7.1 วันรพี
7.2 อนุสาวรีย์พระรูปหน้าสำนักงานศาลยุติธรรม
8 พงศาวลี
9 อ้างอิง
10 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
พระประวัติ
ประสูติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417[2] มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่าพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ มีพระเชษฐภคินีคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการอภิบาลจากเจ้าจอมมารดาตลับ หม่อมราชวงศ์ พึ่งบุญ และพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)[3]
การศึกษา
เมื่อเจริญวัยขึ้นพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยเบื้องต้นกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยใช้เก๋งกรงนกภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ทรงพระอักษร [4] เมื่อทรงศึกษาจบแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาต่อที่สำนักของบาบู รามซามี โดยใช้โรงเรียนทหารมหาดเล็กเป็นที่ถวายพระอักษรจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2426[4] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ในการส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ
พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ)
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)
พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี)
พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)
แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ทรงแยกกันเรียน โดยพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ เสด็จไปศึกษาที่กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ โดยให้หมอเกาวัน เป็นผู้จัดการศึกษา[5] ในการนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น จึงมีเพียงครูชาวต่างชาติมาถวายพระอักษรที่ตำหนักครึ่งวัน และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ ถวายการสอนภาษาไทยอีกครึ่งวัน
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงศึกษาวิชาภาษาละติน วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาฝรั่งเศสอยู่ 2 ปี จึงเสด็จนิวัติประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2431 จึงเสด็จไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และต่อมาปี พ.ศ. 2434 ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิร์ช ในมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 ทรงสามารถสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม[6] จากนั้นจึงเสด็จกลับประเทศไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพที่มีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงได้รับพระสมญาว่า เฉลียวฉลาดรพี
พระราชพิธีโสกันต์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้ตั้งพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 3 พระองค์พร้อมกันคือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช และพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นการสมโภช 3 วัน ตั้งแต่วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2427 ถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2427 แล้วจึงประกอบพระราชพิธีโสกันต์ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2427[7] โดยโปรดให้ทรงเครื่องต้นทั้ง 4 พระองค์
ผนวช
หลังจากพระราชพิธีโสกันต์ผ่านพ้นไปแล้ว จึงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์ที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้ผนวชเป็นสามเณรพร้อมกันตามโบราณราชประเพณี โดยวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 เวลาย่ำค่ำ มีการเวียนเทียนสมโภชทั้ง 4 พระองค์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เช้าวันรุ่งขึ้นแห่พระเจ้าลูกยาเธอทั้ง 4 พระองค์จากพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ไปวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผนวชเป็นสามเณรโดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ในคืนนั้นพระองค์เจ้าสามเณรทั้ง 4 พระองค์ทรงประทับแรมที่พระพุทธปรางค์ปราสาท เช้าวันถัดมาพระองค์เจ้าสามเณรทรงรับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง เวลาย่ำค่ำจึงเสด็จไปอยู่ที่ตำหนักในวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[8] ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2428 ทั้ง 4 พระองค์จึงทรงลาผนวช ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร[9]
รับราชการ
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเริ่มรับราชการในสำนักราชเลขาธิการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี ทรงประกอบพระกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อวงการกฎหมายไทยและศาลสถิตยุติธรรม ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม ร.ศ. 115[10] เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ จัดการปรับปรุงศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ จัดตั้งศาลมณฑล และศาลจังหวัด ทั่วประเทศ, ทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย ประมวลขึ้นเป็นกฎหมายอาญาฉบับ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายเพื่อเปิดการสอนกฎหมาย ทรงรวบรวมและแต่งตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ มากมาย และทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง, ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาซึ่งเทียบได้กับศาลฎีกาในปัจจุบัน, เมื่อ พ.ศ. 2443 ทรงตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้น สำหรับตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาในคดีอาญา ตำแหน่งสุดท้ายทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ทรงปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดิน[11]
สิ้นพระชนม์
ในปี พ.ศ. 2462 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ประชวรด้วยพระโรคที่ต่อมลูกหมากและมีการแทรกซ้อนต่อไปยังพระวักกะ (ไต)[12] จึงทรงขอลาพักราชการในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 เพื่อรักษาพระองค์แต่อาการยังไม่ทุเลา ต่อมาจึงเสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่พระโรคที่พระวักกะก็ยังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นเกินที่แพทย์จะเยียวยาได้ จนกระทั่งถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา จึงสิ้นพระชนม์ สิริพระชันษา 45 ปี 9 เดือน 17 วัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เอกอัครราชทูตสยามประจำประเทศฝรั่งเศสจัดการถวายพระเพลิง ณ กรุงปารีส ตามที่กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์รับสั่งไว้[13][14] หลังจากนั้นหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ เสด็จไปรับและอัญเชิญพระอัฐิของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์มาถึงประเทศไทยในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ในคราวนั้นเจ้าเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)หวนระลึกถึงรับสั่งของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ตรัสไว้ก่อนที่เสด็จไปรักษาพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศสว่า
|
พระโอรส-ธิดา
ราชสกุลรพีพัฒน์ ต้นราชสกุล คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
หลังพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เสด็จกลับจากศึกษาที่ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสู่ขอ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงอรพัทธ์ประไพ พระธิดาองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ พระราชทานเสกสมรสให้ โดยในครั้งนั้น เป็นครั้งแรกที่มีการพระราชทานน้ำสังข์ แต่ทรงมีชีวิตร่วมกันเพียงไม่นานก็หย่าขาดจากกัน หลังจากนั้นพระองค์จึงรับหม่อมอ่อนเป็นชายา
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ มีพระโอรส-ธิดา ที่ประสูติกับหม่อมอ่อน หม่อมแดง และหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช ทุกพระองค์ทรงตั้งชื่อคล้องจองกันหมด และมีความหมายเกี่ยวกับ พระอาทิตย์[16]
หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา ธิดาใน หม่อมราชวงศ์สำอาง เสนีวงศ์ [17] กับพระยาสุพรรณพิจิตร (โต) ก็ได้รับหม่อมอ่อนเข้ามาเป็นชายา เสด็จในกรมหลวงราชบุรีและหม่อมอ่อนมีโอรสธิดารวม 11 พระองค์ ดังนี้
หม่อมเจ้าหญิงพิมพ์รำไพ รพีพัฒน์ (18 มกราคม 2441 - 22 กุมภาพันธ์ 2510) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าทองต่อ ทองแถม และ หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล- หม่อมราชวงศ์หญิงนภาจรี ทองแถม สมรสกับ เด็ดดวง บุนนาค และ สมใจ สิริสิงห
- นภดล บุนนาค (เป็นบุคคคลแรกในชั้นที่ 4 ลำดับราชสกุลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือ ลูกคนแรกของพระราชปนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) สมรสกับ ศุลีพร ตระกูลดิษฐ์ พิจินา นำพา และ กรรณิการ์ ศรีตระกูลพันธ์
- ดัชนี บุนนาค สมรสกับ บรรลือ วิไลวัลย์
- สุทธาจรี สิริสิงห สมรสกับ ทิวาพล ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา
- นภาจร สิริสิงห สมรสกับ เรนา อิซาเบล ซานเซส
- นันทินี สิริสิงห สมรสกับ หม่อมราชวงศ์วโรรส บริพัตร
- หม่อมราชวงศ์ปรียา โสณกุล
- หม่อมราชวงศ์หญิงนภาจรี ทองแถม สมรสกับ เด็ดดวง บุนนาค และ สมใจ สิริสิงห
หม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ (29 ตุลาคม 2442 - 19 ตุลาคม 2521) ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงเริงจิตรแจรง อาภากร และ หม่อมหลวงสุมิตรา สุทัศน์- หม่อมราชวงศ์หญิงเติมแสงไข รพีพัฒน์ สมรสกับ ปรีดา กรรณสูต
- รุจน์ กรรณสูต
- จรัลธาดา กรรณสูต
- แสงสูรย์ กรรณสูต
- ดาลัด กรรณสูต
- หม่อมราชวงศ์ศักดิ์รพี รพีพัฒน์ สมรสกับ สุนทรี ศิริจิตต์
- หม่อมหลวงสุพัฒรี รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเติมแสงไข รพีพัฒน์ สมรสกับ ปรีดา กรรณสูต
หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา รพีพัฒน์ (16 เมษายน 2444 - 19 กุมภาพันธ์ 2513) ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร กฤดากร และ หม่อมเจ้าเสรฐสิริ กฤดากร- หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร สมรสกับ จิ๋ว สุริเวก
- หม่อมหลวงสุดา กฤดากร
- หม่อมหลวงสุธีรา กฤดากร
- หม่อมหลวงกฤษดา กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงประภาสิริ กฤดากร สมรสกับ ฉลอง ชุมพล
- ธีระวัฒน์ กฤดากร (ใช้นามสกุลตามมารดา)
- สุภิญดา กฤดากร (ใช้นามสกุลตามมารดา)
- หม่อมราชวงศ์ฤทธิ์สุรีย์ กฤดากร สมรสกับ จิ๋ว สุริเวก
หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ (25 ธันวาคม 2445 - 29 ธันวาคม 2501) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงวินิตา กิติยากร- หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงวุฒิวิฑู วุฒิชัย และ เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์
- หม่อมหลวงอิทธากร รพีพัฒน์
- หม่อมหลวงนิภาพร รพีพัฒน์
- หท่อมหลวงปกรวิช รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงวุฒิวิฑู วุฒิชัย และ เย็นจิตต์ สัมมาพันธ์
หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส รพีพัฒน์ (11 กุมภาพันธ์ 2447 - 18 มิถุนายน 2475) ทรงเสกสมรสกับ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และ หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร- หม่อมราชวงศ์กิตินัดดดา กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์อมราภินพ กิติยากร สมรสกับ แจเน็ท กริม์
- หม่อมหลวงกิติ กิติยากร
- หม่อมหลวงชวลิต กิติยากร
- หม่อมหลวงอัมฤทธิ์ กิติยากร
- หม่อมหลวงนฤนาท กิติยากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงกิติอัจฉรา กิติยากร สมรสกับ สมิทธิ์ ปวนะฤทธิ์
- พิมพ์อัจฉรา ปวนะฤทธิ์
- อัจฉราพร ปวนะฤทธิ์
- เอกฤทธิ์ ปวนะฤทธิ์
- ปิยกิต ปวนะฤทธิ์
หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ (19 พฤศจิกายน 2448 - 18 พฤษภาคม 2475)
หม่อมเจ้าเพลิงนภดล รพีพัฒน์ (30 ธันวาคม 2449 - 22 กรกฎาคม 2528) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงทรงอัปษร กิติยากร
หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ สมรสกับ จันทรา ปิตรชาติ และ บังเอิญ เกิดอารีย์- หม่อมหลวงกฤติกา รพีพัฒน์
- หม่อมหลวงณพอร รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์รพีพงศ์ รพีพัฒน์ สมรสกับ หม่อมหลวงศิริมา ศรีธวัช และ จริยา รอดประเสริฐ
- หม่อมหลวงศิริธิดา ศรีธวัช
- หม่อมราชวงศ์หญิงอัปษร รพีพัฒน์ สมรสกับ ทวีเกียรติ กฤษณามระ และ จอห์น อ. โรก๊อซ
- นพรังษี กฤษณามระ
- แอลแลน (อรัญ) โรก๊อซ
หม่อมเจ้าถกลไกรวัล รพีพัฒน์ (2 มกราคม 2452 - 16 กันยายน 2523) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมตลับ ศรีโรจน์- หม่อมราชวงศ์หญิงมธุรา รพีพัฒน์ สมรสกับ จรูญ ชินาลัย
- นิสาร ชินาลัย
- ไกวัล ชินาลัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงมธุรา รพีพัฒน์ สมรสกับ จรูญ ชินาลัย
หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ (5 กันยายน 2455 - 18 กุมภาพันธ์ 2531) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมจำเริญ จุลกะ, หม่อมเจ้าหญิงฉัตรสุดา ฉัตรชัย และ หม่อมเพ็ญศรี รพีพัฒน์ ณ อยุธยา- หม่อมราชวงศ์พันธุ์รพี รพีพัฒน์ สมรสกับ ฉวีวรรณ จันโทภาสกร และ ปราณี อรรถพันธ์
- หม่อมหลวงรพีโพยม รพีพัฒน์
- หม่อมราชวงศ์หญิงพัฒนฉัตร รพีพัฒน์ สมรสกับ ทักษพล เจียมวิจิตร (หย่า)
- หม่อมราชวงศ์ ดิเรกฤทธิ์ รพีพัฒน์ สมรสกับ อรุณวรรณ วงศ์ใหญ่
- หม่อมราชวงศ์หญิงวินิตา รพีพัฒน์ สมรสกับ โชค อัศวรักษ์
- วรากร อัศวรักษ์
- อัคคภัค อัศวรักษ์
- รวิภา อัศวรักษ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงนิสากร รพีพัฒน์ สมรสกับ วรวิทย์ เหมจุฑา
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์รพี รพีพัฒน์ สมรสกับ ฉวีวรรณ จันโทภาสกร และ ปราณี อรรถพันธ์
หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ (11 ตุลาคม 2457 - 4 มีนาคม 2542) ทรงเสกสมรสกับ พลเรือเอกหม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร- หม่อมราชวงศ์ชาย (ไม่มีพระนาม ถึงแก่กรรมในวัยเยาว์)
- หม่อมราชวงศ์หญิงทิพพากร อาภากร สมรสกับ หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์พรระพี อาภากร สมรสกับ อุทุมพร ศุภสมุทร
- หม่อมหลวงพงศ์ระพีพร อาภากร
หม่อมเจ้าฑิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ (21 พฤษภาคม 2459 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์- หม่อมราชวงศ์หญิงกทลี จักรพันธุ์ สมรสกับ พลตำรวจตรีวศิษฐ์ สุนทรสิงคาร
- ชะยิน สุนทรสิงคาร
- ขนิษฐา สุนทรสิงคาร
หม่อมราชวงศ์หญิงสดศรีสุริยา จักรพันธุ์ สมรสกับ อานันท์ ปันยารชุน- นัดดา ปันยารชุน สมรสกับ ไกรทิพย์ ไกรฤกษ์
- ดารณี ปันยารชุน สมรสกับ ชัชวิน เจริญรัชตภาคย์
- หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์ สมรสกับ อรวรรณ ทันตเยาวนารถ
- หม่อมหลวงตรีนุช จักรพันธุ์
- หม่อมหลวงจุลจักร จักรพันธุ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงกทลี จักรพันธุ์ สมรสกับ พลตำรวจตรีวศิษฐ์ สุนทรสิงคาร
หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา
หม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา เป็นบุตรสาวของพ่อค้าจีนเจ้าของร้านเพชรหัวเม็ด ในประมาณปี พ.ศ. 2458 เสด็จในกรมหลวงราชบุรี ทรงรับหม่อมแดงเข้ามาเป็นหม่อมในพระองค์ เสด็จในกรมหลวงราชบุรีและหม่อมแดง รพีพัฒน์ ณ อยุธยา มีธิดารวม 1 พระองค์ ดังนี้
หม่อมเจ้าหญิงคันธรสรังษี รพีพัฒน์ (5 มีนาคม 2459 - 23 พฤษภาคม 2526) ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าทรงวุฒิไชย วุฒิชัย และลาออกเพื่อทำการสมรสกับหลวงชำนาญนิติเกษตร (อุทัย แสงมณี)- หม่อมราชวงศ์หญิงวุฒิรสรังษี วุฒิชัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงอัจฉรีเพราพรรณ วุฒิชัย สมรสกับ สากล วรรณพฤกษ์
- อัษฎา วรรณพฤกษ์
- พรภัทิรา วรรณพฤกษ์
- อดิเทพ วรรณพฤกษ์
หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช บุตรีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ และหม่อมนุ่ม เสด็จในกรมหลวงราชบุรีและหม่อมราชวงศ์สอางค์ ปราโมช มีธิดารวม 1 พระองค์ ดังนี้
หม่อมเจ้าหญิงรำไพศรีสอางค์ รพีพัฒน์ (17 กันยายน 2462 - 4 เมษายน 2543) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อเสกสมรสกับ หม่อมหลวงซัง สนิทวงศ์- สอางศรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ จิรายนต์ สังฆสุวรรณ
- ระวิพิมพ์ สัฆสุวรรณ
- จิตพัฒน์ สังฆสุวรรณ
- อรินทร์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ เวณิก จงเจริญ และ สุณีย์ ลีรเศรษฐกร
- ณัฐเดช สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- นันทิสา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- อภิภาวดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- แซม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ พอใจ ตัณสถิตย์
- สายสถิตย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- สายใจ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- สายทิพย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
- สอางศรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา สมรสกับ จิรายนต์ สังฆสุวรรณ
พระกรณียกิจ
ด้านกฎหมาย
เมื่อพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิรูปการศาล ซึ่งปัญหาสำคัญสำหรับศาลไทยในเวลานั้น คือ เรื่องของศาลกงสุลต่างชาติ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในยุคนั้น เป็นที่รู้กันว่าชาวต่างชาติเหล่านี้มีอำนาจอิทธิพลมาก เมื่อเกิดคดีความหรือข้อโต้แย้ง ชาวไทยมักตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะชาวต่างชาติมักจะอ้างว่ากฎหมายยังล้าหลังไม่ทันสมัยเพื่อเป็นข้ออ้างเอาเปรียบชาวไทยซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลของไทยยังไม่พร้อมที่จะรับข้อกฎหมายใหม่ ๆ ในเวลานั้น พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยการจ้างชาวต่างชาติมาเป็นผู้พิพากษาเป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลไทยเกิดความกระตือรือร้นเร่งศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศทำให้ศาลไทยมีความเชื่อถือมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติ ถึงกับยกเลิกศาลกงสุลยอมให้คนชาติตัวเองมาขึ้นศาลไทยนอกจากนั้น ยังทรงปฏิรูปการศาลในด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ
- ขอพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้ศาลในสังกัดกระทรวงยุติธรรมสามารถกำหนดโทษเองได้ เนื่องจากในสมัยนั้นเมื่อศาลกำหนดโทษจำคุกผู้ต้องหาแล้ว ต้องให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดเวลาให้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุของความล่าช้าในวงการศาล
- ทรงปรับปรุงเงินเดือนผู้พิพากษาให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่
- ออกประกาศ ออกประกาศยกเลิก หรือแก้ไขพระราชบัญญัติ กฎเสนาบดีกว่า 60 ฉบับ เพื่อแก้ไขจุดที่บกพร่อง เพิ่มสิทธิของคู่ความให้เท่าเทียมกัน หรือแก้ไขบทลงโทษที่ล้าหลัง ที่สำคัญได้แก่
ที่ทรงออกใหม่ | ที่ทรงแก้ไข |
---|---|
พระราชบัญญัติเพิ่มเติมวิธีพิจารณาความอาญา | พระราชบัญญัติกระบวนวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 115 |
พระราชบัญญัติอุทธรณ์ ร.ศ. 123 | พระราชบัญญัติกฎหมายพยาน มาตรา 6 |
พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม | |
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาความแพ่ง ร.ศ. 127 | |
กฎเสนาบดีเรื่องการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา | |
กฎเสนาบดีเรื่องอัตราธรรมเนียมค่าทนายความ | |
ห้ามนำคดีที่ศาลโปริสภาตัดสินแล้วฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลอาญา | |
การเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยในคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์ |
- ให้อำนาจศาลเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร
ฯลฯ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น โดยมีเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (โรลังยัคมินส์) เป็นที่ปรึกษา และพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าสอนเป็นประจำ ต่อมาได้จัดให้มีการสอบไล่ขึ้นด้วย ในปีแรกที่มีการสอบปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านเพียง 9 คนจากจำนวนกว่าร้อยคน และแม้ใน 14 ปีแรกมีผู้สอบผ่านเพียง 129 คนเท่านั้น แต่ก็ถือเป็นการผลิตนักกฎหมายที่มีคุณภาพให้สังคมเป็นอย่างมาก ต่อมายังทรงเป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย, กรรมการตรวจตัดสินความฎีกา และกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญาอีกด้วย
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (พ.ศ. 2419 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)
พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[18]
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)[19]
พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)[20]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - ปัจจุบัน)[21]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังต่อไปนี้[13]
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)- พ.ศ. ไม่ปรากฎ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
พระสมัญญา
- พระบิดาแห่งกฎหมายไทย[22]
สถานที่อันเนื่องด้วยพระนาม
สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม- อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
รถยนต์พระที่นั่ง
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เสด็จไปทอดพระเนตรโรงงานผลิตรถยนต์ของบริษัท Diamler - Motorin - Gesellschaft ในปี พ.ศ. 2447 และทรงว่าจ้างให้บริษัทดังกล่าวประกอบรถยนต์ขึ้นจำนวน 1 คัน โดยเป็นรถเมอร์ซิเดส - เดมเลอร์สีเหลืองหลังคาเปิดประทุนซึ่งต่อมาพระองค์จึงทรงถวายรถคันนี้แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงราชบุรีฯ สั่งซื้อรถเมอร์ซิเดส - เดมเลอร์สีแดงเข้ามาอีก 1 คัน แต่ปรากฏว่าไอน้ำมันระเหยขึ้นติดตะเกียงไฟลุกไหม้ประตูรถเสียหายไป 1 บาน หลังจากที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วจึงนำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงพระราชทานนามรถพระที่นั่งคันนี้ว่า "แก้วจักรพรรดิ์"
การระลึก
วันรพี
นักกฎหมายได้ถือเอาวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือวันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันรพีเพื่อเป็นวันรำลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่มีต่อวงการกฎหมายไทย โดยจะมีการจัดกิจกรรมวันรพีที่อนุสาวรีย์พระรูป พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าสำนักงานศาลยุติธรรม โดยมีการจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507[23]
อนุสาวรีย์พระรูปหน้าสำนักงานศาลยุติธรรม
เมื่อ พ.ศ. 2498 คณะกรรมการเนติบัณฑิตยสภาได้มีมติจัดสร้างอนุสาวรีย์พระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขึ้น โดยได้จัดการเรี่ยไรเงินจำนวน 500,000 บาท ต่อมาวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507 ได้รับเงินบริจาครวมทั้งหมดเป็นจำนวน 296,546.75 บาท ซึ่งก็ยังไม่ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้ แต่แม้จำนวนเงินบริจาคนั้นจะยังไม่ครบ แต่ในส่วนของตัวอนุสาวรีย์นั้นได้มีการปั้นเสร็จในปี พ.ศ. 2506 และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์พระรูปพระองค์เจ้ารพีพัฒน์ศักดิ์ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2507
พงศาวลี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ | พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี | พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย | |||
พระชนนี: เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 | พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) | พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาเพ็ชรพิไชย (หนู) | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ขรัวยายอิ่ม | พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 454
↑ บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี -- กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2539. หน้า 587 (ISBN 9740056508)
↑ สัมภาษณ์ หม่อมราชวงศ์นภาจรี ทองแถม วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546
↑ 4.04.1 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 43
↑ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. สมุดพิเศษเล่ม 16. หน้า 99-100
↑ บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี -- กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2539. หน้า 589 (ISBN 9740056508)
↑ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. เรื่องเดิม, หน้า 48 (ISBN 9740056508)
↑ "ข่าวราชการและพระเจ้าลูกเธอทรงผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (21): 178–180. 29 มิถุนายน จ.ศ. 1247. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em
↑ "พระเจ้าลูกเธอลาผนวช" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (24): 214. 15 กรกฎาคม จ.ศ. 1247. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561.
↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศเปลี่ยนตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (48): 576. 8 มีนาคม ร.ศ. 115. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561.
↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 411
↑ สัมภาษณ์หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพัฒน์ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2546
↑ 13.013.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 37, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2463, หน้า 1480
↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 439
↑ ประวัติเจ้าพระยายมราช พระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า 47
↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา, สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548, 136 หน้า, ISBN 974-221-746-7
↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442, หน้า 482-483
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์, เล่ม 27, ตอน ก, 30 ตุลาคม พ.ศ. 2453, หน้า 1
↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 246–247. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561.
↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์, เล่ม 52, ตอน 0 ง, 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2478, หน้า 1179
↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย, หน้า 454
↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
- บรรณานุกรม
- นิกร ทัสสโร. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ : พระบิดาแห่งกฎหมายไทย -- กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2549. หน้า 83 (ISBN 9740056508)
สมชาย ปรีชาศิลปกุล (2546). ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย (PDF). กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ISBN 9749645065.- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 84. ISBN 978-974-417-594-6
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล. "ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย." ศิลปวัฒนธรรม 23, 9 (ก.ค. 2545): 70-86; 23, 10 (ส.ค. 2545): 82-89.
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร (พ.ศ. 2437 - 2439) | เสนาบดีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พ.ศ. 2439 - 2453) | เจ้าพระยาอภัยราชามหายุติธรรมธร (หม่อมราชวงศ์ลบ สุทัศน์) (พ.ศ. 2455 - 2469) | ||
เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) | เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ (พ.ศ. 2462 - 2463) | เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) (พ.ศ. 2463 - 2473) |
|
|
|
|
|
|
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2417
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2463
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ราชสกุลรพีพัฒน์
- นักกฎหมายชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด
- เสียชีวิตจากโรคไต
(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.656","walltime":"0.790","ppvisitednodes":"value":3256,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":501325,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":26450,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":15,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":27344,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 419.816 1 -total"," 38.04% 159.682 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 28.70% 120.469 4 แม่แบบ:Cite_journal"," 20.66% 86.730 1 แม่แบบ:Infobox_royalty"," 18.74% 78.666 1 แม่แบบ:Infobox"," 18.03% 75.703 15 แม่แบบ:Navbox"," 12.98% 54.478 2 แม่แบบ:Navbox_with_collapsible_groups"," 9.49% 39.823 1 แม่แบบ:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม"," 6.42% 26.937 1 แม่แบบ:รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์"," 5.30% 22.266 7 แม่แบบ:Br_separated_entries"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.157","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":3798966,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1294","timestamp":"20190329171338","ttl":2592000,"transientcontent":false);mw.config.set("wgBackendResponseTime":110,"wgHostname":"mw1248"););