Skip to main content

เบญจศีล เนื้อหา ประวัติ องค์ประกอบ การรักษาศีล การจูงใจ เชิงอรรถ อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทาง121ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

ศีลธรรมหมวด 5


Dhamma Cakra.svgDharmacakra flag (Thailand).svgพระโคตมพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ศีลพระโคตมพุทธเจ้าพระศาสดาศาสนาพุทธโสดาบันภาษาบาลีบุคคลพุทธกาลจักกวัตติสูตรบาลีพระเจ้าจักรพรรดิบาลีบาลีบาลีบาลีบาลีบัณเฑาะว์ประหารชีวิตอุตริมนุษยธรรมพระโคตมพุทธเจ้าศาสนาพุทธปาราชิก 4คฤหัสถ์ราชบัณฑิตยสถานอังกฤษศาสนาพุทธพระโพธิสัตว์ยักษ์บาลีพระไตรปิฎกภาษาบาลีพระเจ้ามหานามะนิโครธารามกบิลพัสดุ์แคว้นสักกะอุบาสก









(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Enu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());



เบญจศีล


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปัญจศีล)

ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา



ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svgสถานีย่อย



Dharmacakra flag (Thailand).svg
ประวัติศาสนาพุทธ




ศาสดา

พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)



จุดมุ่งหมาย

นิพพาน

พระรัตนตรัย

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์



ความเชื่อและการปฏิบัติ

ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา

คัมภีร์และหนังสือ

พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก

หลักธรรม

ไตรลักษณ์ · อริยสัจ 4 · มรรค 8 · ปฏิจจสมุปบาท · มงคล 38

นิกาย

เถรวาท · มหายาน · วัชรยาน

สังคมศาสนาพุทธ

ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน

การจาริกแสวงบุญ

พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ

ดูเพิ่มเติม

อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
บทความนี้เกี่ยวกับเกี่ยวกับพุทธศาสนา สำหรับการเมืองอินโดนีเซีย ดูที่ ปัญจศีล (การเมือง)

เบญจศีล หรือ ปัญจสีล แปลว่า ศีล 5 เป็นศีลหรือข้อห้ามในลำดับเบื้องต้นตามพระโอวาทของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาพระองค์ปัจจุบันแห่งศาสนาพุทธ แต่ทั้งนี้เบญจศีลเป็นหลักการที่มีมาและเป็นที่สั่งสอนทั่วไปก่อนพระพุทธโคดมอุบัติแล้ว[1] จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระโสดาบัน


เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมมนุษย์ ในพิธีกรรมทั้งปวงแห่งพุทธศาสนา ภิกษุจึงนิยมกล่าวเป็นภาษาบาลีมอบศีลที่ตนมีให้บุคคลร่วมรักษาด้วย เรียกว่า "ให้ศีล" และพุทธศาสนิกจักกล่าวรับปากว่าจะรักษาศีลหรือที่เรียกว่ากล่าว "รับศีล" ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ภิกษุเท่านั้นที่ให้ศีล ฆราวาสผู้รักษาศีลอยู่แล้วก็สามารถให้ศีลแก่บุคคลอื่นได้ด้วย[2]


เบญจศีลเป็นข้อไม่พึงปฏิบัติ คู่กับ "เบญจธรรม" อันเป็นข้อพึงปฏิบัติ การรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์ควรกระทำพร้อมกับรักษาเบญจธรรมด้วย แต่การรักษาเบญจศีลนี้มิใช่ข้อบังคับของพุทธศาสนิก เป็นคำแนะนำให้พึงยึดถือด้วยความสมัครใจเท่านั้น[3]




เนื้อหา





  • 1 ประวัติ


  • 2 องค์ประกอบ


  • 3 การรักษาศีล


  • 4 การจูงใจ


  • 5 เชิงอรรถ


  • 6 อ้างอิง


  • 7 แหล่งข้อมูลอื่น




ประวัติ


เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ปรากฏในจักกวัตติสูตร[4] (บาลี: จกฺกวตฺติสุตฺต) อันกล่าวถึงเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ (บาลี: ปาโณ น หนฺตพฺโพ), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ (บาลี: อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ (บาลี: กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา), ต้องไม่กล่าวเท็จ (บาลี: มุสา น ภาสิตพฺพา) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา (บาลี: มชฺชํ น ปาตพฺพํ) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคมบัณเฑาะว์เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อนประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ[1]


เบญจศีลมีอิทธิพลมากในสังคมอินเดียโบราณ จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์จักวัตติสูตรดังกล่าว เมื่อกาลผ่านไปก็กลายเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับนักบวชทั่วไปในสังคมอินเดีย แต่ปรับปรุงเหลือเพียงสี่ข้อเท่านั้น ประกอบด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ 1 ไม่ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ 1 ไม่มีเพศสัมพันธ์ 1 และไม่อวดอุตริมนุษยธรรม 1


ต่อมาพระโคตมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นและประกาศศาสนาพุทธก็ทรงยอมรับเอาข้อห้ามห้าประการตามจักวัตติสูตรมาสั่งสอนในพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย เรียกว่า "ศีล" บ้าง "สิกขาบท" บ้าง แต่ในทางปฏิบัติหมายถึง เจตนางดเว้นจากการกระทำความชั่วห้าประการข้างต้น ไม่เพียงเท่านี้ ครั้งเสด็จออกบรรพชาก็ทรงถือปฏิบัติตามคุณธรรมนักบวชสี่ประการดังกล่าว โดยทรงขนานชื่อว่า "อกรณียกิจ 4" แปลว่า เรื่องที่นักบวชไม่พึงทำสี่ประการ และทรงนำไปเป็นเกณฑ์บัญญัติพระวินัยอีกด้วย ที่เห็นได้ชัดคือ ปาราชิก 4[2]


โดยเหตุที่เบญจศีลเป็นหลักธรรมสำหรับอุ้มชูโลก จึงได้รับสมญาต่าง ๆ อาทิ สมญาว่า "มนุษยธรรม" คือ ธรรมของมนุษย์ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รักษาธรรมะห้าประการนี้แล้ว โลกหรือสังคมก็จะสงบสุข[2], ว่า "นิจศีล" หรือ "นิตยศีล" คือ ศีลที่บุคคลทั้งนักบวชและฆราวาสพึงรักษาเป็นนิตย์, ว่า "คิหิศีล" คือ ศีลของคฤหัสถ์, ว่า "อาคาริยวินัย" คือ วินัยของผู้ครองเรือน เป็นต้น[5]ราชบัณฑิตยสถานแสดงความเห็นว่า "...น่าจะถือได้ว่า ศีล 5 เป็นรากฐานของศีลทั้งปวง..."[5]


ต่อมา ได้มีผู้นำทางการเมืองของบางประเทศนำคำว่า "ปัญจสีล" ไปใช้ในทางการเมืองโดยเรียกว่า "ปัญจสีละ" และได้ให้นิยามตามความคิดเห็นของตนเอง ได้ความว่าคือการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (อังกฤษ: non-alignment)[5]



องค์ประกอบ


เบญจศีลในศาสนาพุทธประกอบด้วยข้อห้ามห้าข้อเช่นที่ปรากฏในคำสมาทานศีล ดังต่อไปนี้[2]




















ลำดับที่คำสมาทานคำแปล
1. ปาณาติบาตปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิเราจักถือศีลโดยเว้นจากการเบียดเบียนชีวิต
2. อทินนาทานอทินฺนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิเราจักถือศีลโดยเว้นจากการเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้
3. กาเมสุมิจฉาจารกาเมสุมิจฺฉาจารา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิเราจักถือศีลโดยเว้นจากการประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ
4. มุสาวาทมุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิเราจักถือศีลโดยเว้นจากการกล่าวเท็จ
5. สุราเมรยมัชปมาทัฏฐานสุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํสมาทิยามิเราจักถือศีลโดยเว้นจากการบริโภคสุรายาเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท


การรักษาศีล


การรักษาเบญจศีลสามารถกระทำได้สองวิธี ดังนี้[2]


1. สมาทานวิรัติ คือ สมาทานหรือขอรับศีลจากภิกษุ ซึ่งต่อมามีการพัฒนารูปแบบให้เป็นการกล่าวคำขอและคำรับศีล รวมทั้งมีคำสรุปอานิสงส์ของศีลด้วย ในอรรถกถาชาดก[6] ปรากฏกตอนหนึ่งว่า พระโพธิสัตว์เคยให้เบญจศีลแก่ยักษ์ด้วย นี้หมายความว่า มิใช่แต่ภิกษุเท่านั้น แม้คฤหัสถ์ที่มีศีลก็สามารถให้ศีลตามที่มีผู้ขอได้


2. สัมปัตวิรัติ (บาลี: สมฺปตฺตวิรติ) คือ งดเว้นไม่ทำบาปขณะประสบกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้ทำบาป



การจูงใจ


ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค มหานามสูตร[7] ปรากฏการสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระเจ้ามหานามะ ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าประทับ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระเจ้ามหานามะทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล." มีพระกระแสวิสัชนาว่า


"ดูกร มหาบพิตร, อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต, เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน, เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร, เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท, เป็นผู้งดเว้นจากสุราเมรยมัชปมาทัฏฐาน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.


นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎก โสตาปัตติสังยุตต์ ปุญญาภิสันทวรรค อภิสันทสูตรที่ 1[8] ปรากฏพระพุทธดำรัสสรรเสริญเบญจศีลอันเป็นพระธรรมว่า


"ดูกร ภิกษุทั้งหลาย. ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข 4 ประการนี้, 4 ประการเป็นไฉน. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม...นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข..."



เชิงอรรถ




  1. 1.01.1 ราชบัณฑิตยสถาน, 2548 : 363.


  2. 2.02.12.22.32.4 ราชบัณฑิตยสถาน, 2548 : 364.


  3. Stewart McFarlane, 2001 : 187.


  4. พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 30-6-52


  5. 5.05.15.2 ราชบัณฑิตยสถาน, 2548 : 365.


  6. อรรถกถาชาดก ทั้งหมด 547 เรื่อง, ม.ป.ป. : ออนไลน์.


  7. วิกิซอร์ซ, 23 มกราคม 2550 : ออนไลน์.


  8. วิกิซอร์ซ, 23 มกราคม 2550 : ออนไลน์.




อ้างอิง




  • ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2, แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. ISBN 9749588339.


  • วิกิซอร์ซ.
    • (2550, 23 มกราคม). โสตาปัตติสังยุตต์ - 4. ปุญญาภิสันทวรรค - มหานามสูตร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 30 พฤษาภาคม 2552).

    • (2550, 23 มกราคม). โสตาปัตติสังยุตต์ - 4. ปุญญาภิสันทวรรค - อภิสันทสูตรที่ 1. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <2>. (เข้าถึงเมื่อ: 30 พฤษาภาคม 2552).



  • อรรถกถาชาดกทั้งหมด 547 เรื่อง. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <1>. (เข้าถึงเมื่อ: 30 พฤษาภาคม 2552).


  • Stewart McFarlane. (2001). Buddhism. Peter Harvey, editor. USA : Continuum.



แหล่งข้อมูลอื่น


  • ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ


ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=เบญจศีล&oldid=8072176"





รายการเลือกการนำทาง

























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.108","walltime":"0.143","ppvisitednodes":"value":439,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":7799,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":1447,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":7,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":4064,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 88.416 1 -total"," 28.11% 24.851 1 แม่แบบ:ความหมายอื่น"," 24.52% 21.684 1 แม่แบบ:Hatnote"," 20.71% 18.314 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 6.65% 5.879 7 แม่แบบ:Lang-pi"," 6.38% 5.645 1 แม่แบบ:พุทธศาสนา"," 3.15% 2.785 1 แม่แบบ:เริ่มอ้างอิง"," 3.07% 2.713 8 แม่แบบ:LangWithName"," 2.74% 2.420 1 แม่แบบ:Main_other"," 2.73% 2.414 1 แม่แบบ:Lang-en"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.006","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":652627,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1323","timestamp":"20190223233329","ttl":2073600,"transientcontent":false);mw.config.set("wgBackendResponseTime":116,"wgHostname":"mw1330"););

Popular posts from this blog

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Masuk log Menu navigasi

อาณาจักร (ชีววิทยา) ดูเพิ่ม อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง10.1086/39456810.5962/bhl.title.447410.1126/science.163.3863.150576276010.1007/BF01796092408502"Phylogenetic structure of the prokaryotic domain: the primary kingdoms"10.1073/pnas.74.11.5088432104270744"Towards a natural system of organisms: proposal for the domains Archaea, Bacteria, and Eucarya"1990PNAS...87.4576W10.1073/pnas.87.12.4576541592112744PubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by handPubMedJump the queueexpand by hand"A revised six-kingdom system of life"10.1111/j.1469-185X.1998.tb00030.x9809012"Only six kingdoms of life"10.1098/rspb.2004.2705169172415306349"Kingdoms Protozoa and Chromista and the eozoan root of the eukaryotic tree"10.1098/rsbl.2009.0948288006020031978เพิ่มข้อมูล