Skip to main content

ทวีปอเมริกาใต้ เนื้อหา ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง

แอฟริกาเหนือแอฟริกาใต้สะฮาราแอฟริกากลางแอฟริกาตะวันออกแอฟริกาตะวันตกแอฟริกาใต้เอเชียกลางเอเชียตะวันออกอินดีสตะวันออกตะวันออกไกลอนุทวีปอินเดียเอเชียเหนือไซบีเรียเอเชียใต้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ตะวันออกกลางตะวันออกใกล้อานาโตเลียอาหรับยุโรปกลางยุโรปตะวันออกยุโรปเหนือยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ยุโรปใต้ยุโรปตะวันตกอาร์กติกแอนตาร์กติกา


ทวีปอเมริกาใต้ทวีป


ทวีปเส้นศูนย์สูตรมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรแอตแลนติกทวีปอเมริกาเหนือคอคอดปานามาเทือกเขาแอนดีสแม่น้ำแอมะซอนป่าดิบชื้นพื้นที่เอเชียแอฟริกาอเมริกาเหนือประชากรเอเชียแอฟริกายุโรปอเมริกาเหนือเคิปเปนAfrica (orthographic projection).svgทวีปแอฟริกาAntarctica (orthographic projection).svgทวีปแอนตาร์กติกาAsia (orthographic projection).svgทวีปเอเชียAustralia-New Guinea (orthographic projection).svgทวีปออสเตรเลียEurope orthographic Caucasus Urals boundary.svgทวีปยุโรปLocation North America.svgทวีปอเมริกาเหนือSouth America (orthographic projection).svgทวีปอเมริกาใต้Afro-Eurasia (orthographic projection).svgทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียAmericas (orthographic projection).svgทวีปอเมริกาEurasia (orthographic projection).svgทวีปยูเรเชียOceania, broad (orthographic projection).svgโอเชียเนียกอนด์วานาAmazoniaKerguelen Plateauพันเจียอัลติมาแอตแลนติส










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




ทวีปอเมริกาใต้




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา


เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือ





















อเมริกาใต้
South America
South America (orthographic projection).svg
พื้นที่17,840,000 ตร.กม.
(อันดับที่ 4)
ประชากร410,013,492 คน (พ.ศ. 2558)
(อันดับที่ 5)
ความหนาแน่น21.4 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 5)
คำเรียกผู้อาศัยชาวอเมริกาใต้ (South American)
จำนวนประเทศ12 ประเทศ
จำนวนดินแดน
ภาษา
โปรตุเกส สเปน อังกฤษ ฝรั่งเศส ดัตช์ เกชัว และอื่น ๆ
เขตเวลา
UTC-2 ถึง UTC-5
เมืองใหญ่


แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้


ทวีปอเมริกาใต้ไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น


ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ




เนื้อหา





  • 1 ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์


  • 2 ลักษณะทางกายภาพ

    • 2.1 ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต


    • 2.2 อาณาเขต



  • 3 ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้


  • 4 ลักษณะภูมิประเทศ

    • 4.1 เขตที่สูงกายอานา


    • 4.2 เขตเทือกเขาแอนดีส


    • 4.3 เขตลุ่มน้ำภาคใต้


    • 4.4 เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิล



  • 5 ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

    • 5.1 ลักษณะภูมิอากาศ


    • 5.2 ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ

      • 5.2.1 ป่าดิบ




  • 6 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


  • 7 อ้างอิง




ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์



Bariloche- Argentina2.jpg


หลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีคนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ประมาณ 12,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพบเครื่องมือหินและเครื่องใช้ที่ทำด้วยหนังสัตว์ในประเทศชิลี กระทั่ง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศเปรูปัจจุบันมีวัฒนธรรมนาสคา เกิดขึ้นโดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์และมีการใช้เครื่องประดับ


ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปเอเชียเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบเบริง แล้วเดินทางลงใต้ผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้เช่นปัจจุบัน ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือจึงมีความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติ โดยในเปรูชนพื้นเมืองอินเดียนได้สร้างอาณาจักรอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองคุชโกเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร


ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทศโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนในทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอล่า ให้เป็นอิสระจากสเปนและปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากประเทศโปรตุเกสในลำดับถัดมา
จนกระทั่งปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่ยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้



ลักษณะทางกายภาพ



ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต


ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่บนซีกโลกใต้เป็นส่วนมากโดยอยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 องศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ และลองจิจูด 35 องศาตะวันออก ถึง 117 องศาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยล่ะ 14 ของแผ่นดินโลก ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเนื้อที่แผ่นดินติดต่อกันทำให้ชายฝั่งของทะเลมีน้อยเมื่อเทียบกับขนาดของทวีป โดยทวีปอเมริกาใต้มีแผ่นดินใหญ่รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม



อาณาเขต


ทวีปอเมริกาใต้มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปต่าง ๆ ดังนี้



ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศปานามาของทวีปอเมริกาเหนือ และจดทะเลแคริบเบียน


ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะจอร์เจียใต้


ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะอีสเตอร์ของประเทศชิลี


ทิศใต้ จดช่องแคบเดรกในทวีปแอนตาร์กติกา และ อาณาเขตสิ้นสุดที่แหลมฮอร์นของประเทศชิลี

ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 12 ประเทศ และ 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะภูมิประเทศได้ 4 กลุ่ม ดังนี้


  • เขตที่สูงกายอานา อยู่ทางตอนเหนือของทวีป มี 4 ประเทศ คือ ประเทศกายอานา ซูรินาม เวเนซุเอลา และโคลอมเบีย ประเทศโคลอมเบียมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้

  • เขตเทือกเขาแอนดีส อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศเปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และ ชิลี ประเทศโบลิเวียมีเนื้อที่มากที่สุด ส่วนประเทศเปรูมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้

  • เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดิส ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา ปารากวัย และ อุรุกวัย ประเทศอาร์เจนตินามีเนื้อที่และประชากรมากที่สุดในเขตนี้

  • เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่ราบสูงบราซิล ได้แก่ ประเทศบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร

ตารางแสดงประเทศในทวีปอเมริกาใต้


















































































ประเทศ

พื้นที่
(km²)

ประชากร
(1 กรกฎาคม 2548)

ความหนาแน่น
(per km²)

เมืองหลวง

 กายอานา
  214,970
    765,283
3.6

จอร์จทาวน์

 โคลอมเบีย
1,138,910
 42,954,279
37.7

โบโกตา

 ชิลี [1]
  756,950
 15,980,912
21.1

ซานเตียโก

 ซูรินาม
  163,270
    438,144
2.7

ปารามารีโบ

 บราซิล
8,514,877
187,550,726
22.0

บราซีเลีย

 โบลิเวีย
1,098,580
  8,857,870
8.1

ซูเกร

 ปารากวัย
  406,750
  6,347,884
15.6

อาซุนซีออน

 เปรู
1,285,220
 27,925,628
21.7

ลิมา

 เวเนซุเอลา
  912,050
 25,375,281
27.8

การากัส

 หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
   12,173
      2,967
0.24

สแตนลีย์

 อาร์เจนตินา
2,766,890
 39,537,943
14.3

บัวโนสไอเรส

 อุรุกวัย
  176,220
  3,415,920
19.4

มอนเตวิเดโอ

 เอกวาดอร์
  283,560
 13,363,593
47.1

กีโต

 เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช ( สหราชอาณาจักร)
    3,093
          0a
0

คิงเอดเวิร์ดพอยต์

 เฟรนช์เกียนา ( ฝรั่งเศส)
   91,000
    195,506
2.1

กาแยน


ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้





























จุดที่สุดในทวีปอเมริกาใต้สถานที่รัฐ/ประเทศ
จุดเหนือสุดแหลมกายีนาสกวาคีรา/โคลัมเบีย
จุดใต้สุดแหลมฟาวเวิร์ด
มากายาเนส/ชิลี
จุดตะวันออกสุดแหลมโคเคอรูส
ปาราอีบา/บราซิล
จุดตะวันตกสุดแหลมปารีนเนียสปิวรา/ เปรู
ยอดเขาที่สูงที่สุดยอดเขาอากอนกากวา
เมนโดซา/อาร์เจนตินา
เกาะที่ใหญ่ที่สุดเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก
-
แม่น้ำที่ยาวที่สุดแม่น้ำแอมะซอน
-
ผิวน้ำต่ำที่สุดทะเลสาบซานตากรุซ
ซานตากรุซ/อาร์เจนตินา


ลักษณะภูมิประเทศ


แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่



เขตที่สูงกายอานา


เขตที่สูงกายอานาประกอบด้วย เขตที่สูงกายอานา (Guiana Highland) และที่ลุ่มยาโนส (Llanos) เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีป เป็นหินอัคนีหรือหินแกรนิต มีความยาวในแนวตะวันออกถึงตะวันตกมากว่า 1,600 กิโลเมตร พื้นที่สูงเริ่มจากตอนใต้ของประเทศเวเนซุเอลาไปถึงเหนือสุดของประเทศบราซิล ประกอบด้วยที่ราบสูง มีร่องน้ำลึกมาก มีน้ำตกที่สูงสุดของโลก คือ น้ำตกแองเจิล ซึ่งสูง 979 เมตร


ที่ลุ่มยาโนสอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของที่สูงกายอานา เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่สูงกายอานา อยู่ในประเทศโคลอมเบียและเวเนซุเอลา มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ โอริโนโค (Orinoco) และสาขา ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำทำให้เป็นที่ราบลุ่มสมบูรณ์



เขตเทือกเขาแอนดีส


เทือกเขาแอนดิส เป็นเทือกเขาแคบวางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มตั้งแต่แหลมเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแนวยาวลงไปจนสุดแหลมฮอร์นของประเทศชิลี ด้านทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก มีชายฝั่งแคบมากและภูเขาสูงชัน มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก บางบริเวณเป็นเขตแห้งแล้งหรือหนาวเย็นจัด ด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสจะมีความลาดชันน้อยกว่าซีกตะวันตก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ เช่นแม่น้ำแอมะซอน เป็นต้น



เขตลุ่มน้ำภาคใต้


เขตลุ่มน้ำภาคใต้อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส เริ่มตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศโบลิเวียไปจนสุดแหลมภาคใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ประกอบด้วยที่ราบแพมพาส (Pampas) และปาตาโกเนีย (Patagonia) ในประเทศอาร์เจนตินา


ที่ราบแพมพาสมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านไปลงสู่อ่าวริโอ เดอ ลา พลาตา (Rio de la Plata) ระหว่างเมืองหลวงของประเทศอุรุกวัยและอาร์เจนตินา


ที่ราบปาตาโกเนีย มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายหนาวเย็น อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา มีพื้นที่ค่อนข้างขรุขระและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พื้นที่บางส่วนเป็นธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ชายฝั่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกเพนกวิน แมวน้ำ และวาฬ และสัตว์อื่น ๆ อีกนานาชนิดที่เข้ามาอาศัยอยู่



เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิล


เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิลในประเทศบราซิล เริ่มตั้งแต่ด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเปรูจนถึงด้านตะวันออกของบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกลุ่มน้ำแอมะซอน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "แอมะโซเนีย" (Amazonia) เป็นพื้นที่ราบต่ำ มีระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร มีความลาดเทน้อยมาก แม่น้ำมีความยาว 6,570 กิโลเมตร คลุมพื้นที่มากกว่า 8 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนที่สูงบราซิลอยู่ทางทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มตั้งแต่ตอนกลางของประเทศบราซิลลงไปติดประเทศอุรุกวัย มีความยาวประมาณ 1,280 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไม่สูงมากนัก นอกจากภูมิประเทศทั้ง 4 เขต แล้ว ทวีปอเมริกาใต้ยังมีชายฝั่งทะเล โดยทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปจะเป็นฟยอร์ด (Fjord) ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธารน้ำแข็ง และมีสัตว์และนกหลายชนิดอาศัยอยู่


ทางตอนเหนือของทวีปมีแม่น้ำไหลลงทะเลแคริบเบียน แม่น้ำแอมะซอนไหลจากเทือกเขาแอนดีสลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองมาคาปา (Macapa) ประเทศบราซิล โดยบริเวณปากแม่น้ำนั้นมีเกาะจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำปารากวัย แม่น้ำอุรุกวัย แม่น้ำซาลาโต แม่น้ำโคโลราโด แม่น้ำซูบัต และแม่น้ำสายสั้น ๆ อีกไหลจากทางทิศตะวันตกของทวีปไปลงมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออก



ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ



ลักษณะภูมิอากาศ


ทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ส่วนมากอยู่ในเขตร้อน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อนจนถึงแบบอบอุ่น ส่วนในทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น สามารถแบ่งภูมิอากาศตามแบบเคิปเปนได้ดังนี้


  1. เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน (Af) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีฝนตกชุกมากทั้งปี เช่น พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ตอนเหนือและชายฝั่งตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นต้น

  2. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศบราซิลและทางทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์

  3. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี เช่น พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกับทะเลแคริบเบียน เป็นต้น

  4. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศเปรูและชิลี

  5. เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BSh) เป็นเขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร ได้แก่ พื้นที่ทางเหนือสุดของทวีปในประเทศโคลอมเบียและทางตอนกลางของอาร์เจนตินา

  6. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื้องจากชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้ เช่น บริเวณประเทศอาร์เจนตินาและอุรุกวัยที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก

  7. เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีฤดูหนาวยาวนาน ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศชิลีและปลายแหลมของทวีป

  8. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส


ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ


ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยลุ่มน้ำแอมะซอนนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญ พืชพรรณธรรมชาติในทวีปอเมริกาแบ่งออกได้เป็นเขตดังนี้



ป่าดิบ


เป็นป่าไม้ที่มีลำต้นสูง ไม่มีกิ่งสาขาในระดับต่ำ รากมีลักษณะเป็นแนวนูนขึ้นมาบนต้น ใบใหญ่ และมีสีเขียวตลอดปี พันธุ์ไม้มีความหลากหลายมาก มักพบกล้วยไม้ ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น และมอส เป็นต้น ป่าดิบชื้นในลุ่มน้ำแอมะซอนเป็นป่าไม้ประมาณร้อยล่ะ 25 ของพื้นที่ป่าไม้โลก นอกจากนั้นยังพบป่าดินชื้นในประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ อีกด้วย



ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



อ้างอิง




  1. Includes Easter Island in the Pacific Ocean, a Chilean territory frequently reckoned in Oceania. Santiago is the administrative capital of Chile; Valparaíso is the site of legislative meetings.







ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=ทวีปอเมริกาใต้&oldid=8218417"










รายการเลือกการนำทาง



























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.420","walltime":"0.562","ppvisitednodes":"value":5105,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":205401,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":37238,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":15,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":524,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 333.514 1 -total"," 46.02% 153.473 10 แม่แบบ:Navbox"," 36.69% 122.360 5 แม่แบบ:Navbox_with_columns"," 28.21% 94.084 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_ทวีป"," 27.23% 90.819 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล"," 26.59% 88.692 1 แม่แบบ:ทวีป"," 19.10% 63.709 2 แม่แบบ:Collapsible_list"," 11.84% 39.490 1 แม่แบบ:โครงส่วน"," 11.11% 37.038 1 แม่แบบ:Ambox"," 10.02% 33.411 15 แม่แบบ:Flagicon"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.069","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":2244727,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1323","timestamp":"20190417095347","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e17u0e27u0e35u0e1bu0e2du0e40u0e21u0e23u0e34u0e01u0e32u0e43u0e15u0e49","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q18","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q18","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2005-02-13T08:10:27Z","dateModified":"2019-04-11T03:38:51Z","image":"https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/0f/South_America_%28orthographic_projection%29.svg","headline":"u0e0au0e37u0e48u0e2du0e17u0e27u0e35u0e1b"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":149,"wgHostname":"mw1257"););

Popular posts from this blog

Masuk log Menu navigasi

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Старые Смолеговицы Содержание История | География | Демография | Достопримечательности | Примечания | НавигацияHGЯOLHGЯOL41 206 832 01641 606 406 141Административно-территориальное деление Ленинградской области«Переписная оброчная книга Водской пятины 1500 года», С. 793«Карта Ингерманландии: Ивангорода, Яма, Копорья, Нотеборга», по материалам 1676 г.«Генеральная карта провинции Ингерманландии» Э. Белинга и А. Андерсина, 1704 г., составлена по материалам 1678 г.«Географический чертёж над Ижорскою землей со своими городами» Адриана Шонбека 1705 г.Новая и достоверная всей Ингерманландии ланткарта. Грав. А. Ростовцев. СПб., 1727 г.Топографическая карта Санкт-Петербургской губернии. 5-и верстка. Шуберт. 1834 г.Описание Санкт-Петербургской губернии по уездам и станамСпецкарта западной части России Ф. Ф. Шуберта. 1844 г.Алфавитный список селений по уездам и станам С.-Петербургской губернииСписки населённых мест Российской Империи, составленные и издаваемые центральным статистическим комитетом министерства внутренних дел. XXXVII. Санкт-Петербургская губерния. По состоянию на 1862 год. СПб. 1864. С. 203Материалы по статистике народного хозяйства в С.-Петербургской губернии. Вып. IX. Частновладельческое хозяйство в Ямбургском уезде. СПб, 1888, С. 146, С. 2, 7, 54Положение о гербе муниципального образования Курское сельское поселениеСправочник истории административно-территориального деления Ленинградской области.Топографическая карта Ленинградской области, квадрат О-35-23-В (Хотыницы), 1930 г.АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Л., 1933, С. 27, 198АрхивированоАдминистративно-экономический справочник по Ленинградской области. — Л., 1936, с. 219АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Л., 1966, с. 175АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Лениздат, 1973, С. 180АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Лениздат, 1990, ISBN 5-289-00612-5, С. 38АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — СПб., 2007, с. 60АрхивированоКоряков Юрий База данных «Этно-языковой состав населённых пунктов России». Ленинградская область.Административно-территориальное деление Ленинградской области. — СПб, 1997, ISBN 5-86153-055-6, С. 41АрхивированоКультовый комплекс Старые Смолеговицы // Электронная энциклопедия ЭрмитажаПроблемы выявления, изучения и сохранения культовых комплексов с каменными крестами: по материалам работ 2016-2017 гг. в Ленинградской области