ชื่อพ้อง เนื้อหา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เปรียบเทียบระหว่างสัตววิทยาและพฤกษศาสตร์ อ้างอิง รายการเลือกการนำทาง
ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตชีววิทยา
ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินามอนุกรมวิธานสัตววิทยาพฤกษศาสตร์ตัวอย่างต้นแบบชนิดต้นแบบnomen oblitumnomen protectum
(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());
ชื่อพ้อง
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆ ให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร์
เนื้อหา
1 สัตววิทยา
2 พฤกษศาสตร์
3 เปรียบเทียบระหว่างสัตววิทยาและพฤกษศาสตร์
4 อ้างอิง
สัตววิทยา
ในระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา ชื่อพ้องคือชื่อวิทยาศาสตร์ที่ต่างกันแต่เป็นของสัตว์ชนิดเดียวกัน เข่น มีชื่อสองชื่อสำหรับสปีชีส์เดียวกัน ในหลักเกณฑ์ของระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา ชื่อแรกที่ถูกตีพิมพ์จะเป็น ชื่อพ้องหลัก (senior synonym) ชื่อที่เหลือจะกลายเป็น ชื่อพ้องรอง (junior synonyms)
ชื่อพ้องจะเป็น "ปรนัย หรือ โดยวัตถุ (objective)" ถ้าอ้างถึงสิ่งมีชีวิตเดียวกันอย่างชัดเจน ในกรณีนี้ถ้าอ้างถึงรูปร่างลักษณะหรือตัวอย่างต้นแบบเดียวกัน ไม่เช่นนั้น ชื่อพ้องจะเป็น "อัตนัย หรือ โดยบุคคล(subjective)" หมายความว่า มีลู่ทางสำหรับการโต้แย้ง นักวิจัยคนหนึ่งอาจพิจารณาชื่อสองชื่อเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวกัน ขณะที่คนอื่นอาจไม่เห็นด้วย
เช่น จอห์น เอ็ดวาร์ด เกรย์ (John Edward Gray) ตีพิมพ์ชื่อ Antilocapra anteflexa ในปี ค.ศ. 1855 ใช้สำหรับละมั่งอเมริกาบนพื้นฐานของเขาคู่ อย่างไรก็ตามตัวอย่างของเขาเป็นตัวอย่างที่ผิดปกติตัวอย่างหนึ่งของชนิด Antilocapra americana ที่ตีพิมพ์โดยจอร์จ ออต (George Ord) ในปี ค.ศ. 1815 ดังนั้นชื่อของออตจึงตั้งชื่อมาก่อน และ Antilocapra anteflexa ได้กลายชื่อพ้องอัตนัยรอง (junior subjective synonym)
ชื่อพ้องปรนัย (Objective synonyms) เป็นเรื่องธรรมดาของระดับสกุล เพราะนักวิจัยสองคนอาจมาถึงจุดตัดสินใจอย่างอิสระว่าสปีชีส์นั้นต่างจากชนิดอื่น ๆ ในสกุลอย่างพอเพียงที่จะตั้งสกุลของมันเอง ดังนั้นทุก ๆ ชื่อในสกุลใหม่ที่ใช้ชนิดต้นแบบเดียวกัน เป็นชื่อพ้องปรนัย (objective synonyms)
ที่ระดับชนิด ชื่อพ้องอัตนัยเป็นเรื่องธรรมดามากเพราะขอบเขตความแตกต่างมีขนาดใหญ่โตอย่างน่าประหลาดในสปีชีส์ หรือความไม่รู้เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะก่อนหน้าทั่ว ๆ ไป อาจทำให้นักชีววิทยาบรรยายลักษณะตัวอย่างที่ถูกค้นพบใหม่เป็นชนิดใหม่ อย่างไรก็ตามชื่อพ้องอัตนัยหาได้ยากมาก เช่นม้าป่ายุโรปบรรยายลักษณะโดยโยฮูนน์ ฟรีดริช เกม์ลลิน (Johann Friedrich Gmelin) ในปี ค.ศ. 1774 ในปี ค.ศ. 1784 พีตเตอร์ บอดเดอร์ต (Pieter Boddaert) ตั้งชื่อว่า Equus ferus โดยอ้างอิงการบรรยายลักษณะของเกม์ลลิน ต่อมาในปี ค.ศ. 1912 ออทโท อานโทเนียซ (Otto Antonius) กลับตีพิมพ์ในชื่อ Equus gmelini โดยไม่รู้ตัวก่อนว่ามีชื่อของบอดเดอร์ตอยู่แล้ว โดยอ้างถึงการบรรยายลักษณะของเกม์ลลินเช่นกัน ซึ่งชื่อทั้งสองนั้นอ้างการบรรยายลักษณะเดียวกัน ชื่อทั้งสองจึงเป็นชื่อพ้องอัตนัย
บางกรณีชื่อพ้องรองกลับเป็นที่แพร่หลายกว่าชื่อพ้องหลัก เกิดจากเมื่อชื่อหลักไม่ได้ถูกใช้อีกเลยตั้งแต่การบรรยายลักษณะครั้งแรก และชื่อพ้องรับกลับถูกใช้จนเป็นเรื่องปกติ ชื่อเก่าจะกลายเป็น "ชื่อตั้งไม่นิยม (nomen oblitum)" และชื่อรองเป็นที่ทราบว่าเป็น "ชื่อตั้งสงวนไว้ (nomen protectum)" นี้เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันการสับสนจากผลของชื่อที่รู้จักกันดีไปแทนที่ชื่อที่ถูกต้องแต่ไม่ค่อยคุ้นเคยที่ต้องเพิ่มเติมในสิ่งตีพิมพ์ เช่น ชื่อวิทยาศาสตร์ของ มดคันไฟแดงต่างประเทศ มีชื่อว่า Solenopsis invicta ถูกตีพมพ์โดยบูเรน (Buren) ในปี ค.ศ. 1972 และชื่อนี้ก็ถูกสงวนไว้ เพราะความจริงแล้วชื่อแรกของมดชนิดนี้เป็น Solenopsis saevissima wagneri ถูกตั้งโดยแซนต์ชิ (Santschi) ในปี ค.ศ. 1916 มีเอกสารมากกว่าพันฉบับที่ตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ invicta ก่อนจะมีคนค้นพบว่าเป็นชื่อพ้อง และในปี ค.ศ. 2001 ICZN บังคับให้ invicta เป็นลำดับเหนือกว่า wagneri
พฤกษศาสตร์
ในระบบการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ ชื่อพ้องของชื่อวิทยาศาสตร์คือชื่อที่ใช้ในพืชชนิดเดียวกัน โดยชื่อพ้องไม่สามารถกล่าวลอย ๆ ได้ ต้องอ้างว่าเป็น "ชื่อพ้องของ..." ชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์อาจเป็น:
ชนิด | ชื่อ | คำจำกัดความ |
---|---|---|
โฮโมไทปิก (homotypic) | การตั้งชื่อ (nomenclatural) | ในต้นแบบอันเดียวกัน ชื่อในระบบของลินเนียสคือ Pinus abies L. ซึ่งเป็นต้นแบบเดียวกับ Picea abies (L.) H.Karst เมื่อชื่อหลังเป็นชื่อที่ถูกต้อง(ได้รับการยอมรับ) Pinus abies จะเป็นชื่อพ้องโฮโมไทปิกของ Picea abies อย่างไรก็ตามถ้าพืชสปีชีส์นั้นถูกพิจารณาว่าอยู่ในสกุล Pinus (ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน) Picea abies จะกลายเป็นชื่อพ้องโฮโมไทปิกของ Pinus abies แทน |
เฮเทอโรไทปิก (heterotypic) | การจัดชั้น (taxonomic) | ในต้นแบบที่ต่างกัน นักพฤกษศาสตร์บางคนแบ่งแดนดิไลอัน(dandelion:ต้นไม้จำพวกหนึ่งมีใบหยิก ดอกสีเหลือง)ออกเป็นหลายๆสปีชีส์เพื่อจำกัดวงให้เหมาะสม ในแต่ละชื่อของแต่ละสปีชีส์มีต้นแบบเป็นของมันเอง เมื่อแดนดิไลอันถูกพิจารณาว่าเป็นการรวมเอาแบบ(form)หรือสปีชีส์ย่อยเข้าด้วยกันมากกว่า ชื่อของสปีชีส์ทั้งหมดนั้นจึงเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของ Taraxacum officinale F.H.Wigg เป็นการย่อหน่วยอนุกรมวิธานสู่ชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกเป็นการเรียกชื่อสู่"การลดลงในชุดชื่อพ้อง"หรือ"ตามชื่อพ้อง" |
ในทางพฤกษศาสตร์ ชื่อพ้องไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อตามกฎ (valid name) รายชื่อของชื่อพ้องบ่อยครั้งเป็นชื่อที่ไม่มีเหตุผลพอจะทำให้เป็นชื่อทางการ (formal name) (ไม่ได้ตีพิมพ์หรือเป็นชื่อต้นฉบับ) หรือยังไม่ได้ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ ชื่อพ้องต้องเป็นรูปแบบที่อยู่ในระเบียบการตั้งชื่อ ชื่อควรจะเป็นชื่อในภาษาละติน
ชื่อพ้องโฮโมไทปิกไม่จำเป็นต้องมีชื่อรองหรือชื่อเหมือนชื่อที่ถูกต้องแต่ต้องเป็นต้นแบบเดียวกัน เช่น ชื่อ Taraxacum officinale ซึ่งถูกอ้างอิงมากกว่า มีต้นแบบเดียวกับ Leontodon taraxacum L. ดังนั้น Leontodon taraxacum L. จึงเป็นชื่อพ้องโฮโมไทปิกของ Taraxacum officinale F.H.Wigg
เปรียบเทียบระหว่างสัตววิทยาและพฤกษศาสตร์
ในทางปฏิบัติของชื่อพ้องในระบบการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์มีความแตกต่างในคำศัพท์และรายละเอียดเล็กน้อยจากระบบการตั้งชื่อทางสัตววิทยา ตรงชื่อที่ถูกต้องนับรวมไปในชื่อพ้องด้วย โดยชื่อแรกนั้นเป็น "ชื่อพ้องหลัก":
- ชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์คือ "ชื่อพ้องรอง" ในทางสัตววิทยา
- ชื่อพ้องโฮโมไทปิกหรือชื่อพ้องการตั้งชื่อในทางพฤกษศาสตร์คือ "พ้องปรนัย" ในทางสัตววิทยา
- ชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกหรือชื่อพ้องการจัดชั้นในทางพฤกษศาสตร์คือ "พ้องอัตนัย" ในทางสัตววิทยา
อ้างอิง
- Blackwelder, R. A. (1966). Taxonomy: A text and reference book. New York: Wiley.
หมวดหมู่:
- ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต
- ชีววิทยา
(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.008","walltime":"0.015","ppvisitednodes":"value":22,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":0,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":0,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":2,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":0,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 0.000 1 -total"],"cachereport":"origin":"mw1322","timestamp":"20190409120646","ttl":2592000,"transientcontent":false);mw.config.set("wgBackendResponseTime":109,"wgHostname":"mw1248"););