ชีววิทยา เนื้อหา แขนงวิชาชีววิทยา ระบบการศึกษา ปรากฏการณ์ทางชีววิทยา หลักของวิชาชีววิทยา ขอบเขตของชีววิทยา ประวัติศาสตร์ของชีววิทยา สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง รายการอ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางชีววิทยาOSU's PhylocodeBiology Online - Wiki DictionaryMIT video lecture series on biologyBiology and BioethicsBiological SystemsThe Tree of LifeUsing the Biological Literature Web ResourcesPLos BiologyCurrent BiologyBiology LettersScience MagazineInternational Journal of Biological Sciencesกกก
กายวิภาคศาสตร์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กำเนิดสิ่งมีชีวิตคณิตชีววิทยาคัพภวิทยาเคมีชีวภาพจีโนมิกส์จุลชีววิทยาชีวกลศาสตร์ชีวเคมีชีวดาราศาสตร์ชีวฟิสิกส์ชีวภูมิศาสตร์ชีววิทยาการเจริญชีววิทยาของเซลล์ชีววิทยาควอนตัมชีววิทยาโครงสร้างชีววิทยาเชิงคำนวณชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ชีววิทยาทางทะเลชีววิทยามนุษย์ชีววิทยาระบบชีววิทยาสังคมชีววิวัฒนาการชีวสถิติชีวสารสนเทศศาสตร์เซลล์พันธุศาสตร์ธรณีชีววิทยานิเวศวิทยาบรรพชีวินวิทยาปรสิตวิทยาประสาทวิทยาศาสตร์พยาธิวิทยาพฤกษศาสตร์พันธุศาสตร์พิษวิทยาโภชนาการเภสัชวิทยามิญชวิทยาวิทยาการระบาดวิทยาภูมิคุ้มกันวิทยาไวรัสสรีรวิทยาสัตววิทยาอณูชีววิทยาอนุกรมวิธานอีพีเจเนติกส์เคมีชีววิทยาดาราศาสตร์ฟิสิกส์วิทยาศาสตร์โลก
ธรรมชาติชีววิทยา
อังกฤษวิทยาศาสตร์ธรรมชาติชีวิตสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการการกระจายพันธุ์อนุกรมวิธานอะตอมโมเลกุลอณูชีววิทยาชีวเคมีอณูพันธุศาสตร์เซลล์เซลล์วิทยาเนื้อเยื่อสรีรวิทยากายวิภาคศาสตร์มิญชวิทยาคัพภวิทยาพันธุศาสตร์พันธุกรรมพฤติกรรมวิทยาพันธุศาสตร์ประชากรนิเวศวิทยาชีววิทยาของวิวัฒนาการสารพันธุกรรมกรดนิวคลีอิกดีเอ็นเอรหัสพันธุกรรมไวรัสเอ็มบริโอยีนวิวัฒนาการแบคทีเรียน้ำตาลสิงโตทุ่งหญ้าซาวันนาปรสิตระบบนิเวศนิเวศวิทยาเซลล์ยีนดีเอ็นเออณูชีววิทยาโมเลกุลพันธุศาสตร์ชีวเคมีชีววิทยาของเซลล์โมเลกุลแบคทีเรียมนุษย์พันธุศาสตร์โครโมโซมดีเอ็นเอสรีรวิทยาสรีรวิทยาของพืชสรีรวิทยาของสัตว์ยีสต์มนุษย์กายวิภาคศาสตร์ระบบประสาทระบบภูมิคุ้มกันระบบต่อมไร้ท่อระบบหายใจระบบไหลเวียนโลหิตประสาทวิทยาวิทยาภูมิคุ้มกันอนุกรมวิธานพฤกษศาสตร์สัตววิทยาสรีรวิทยากายวิภาคศาสตร์คัพภวิทยาอณูชีววิทยาอณูพันธุศาสตร์ชีววิทยาของการเจริญนิเวศวิทยาพฤติกรรมวิทยาสัตววิทยา
(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());
ชีววิทยา
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ชีววิทยา (อังกฤษ: Biology) เป็นแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural science) ที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิต และสิ่งมีชีวิต ซึ่งรวมถึง โครงสร้าง การทำงาน การเจริญเติบโต ถิ่นกำเนิด วิวัฒนาการ การกระจายพันธุ์ และอนุกรมวิธาน[1] โดยเป็นการศึกษาในทุก ๆ แง่มุมของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก คือคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos" แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล
เนื้อหา
1 แขนงวิชาชีววิทยา
2 ระบบการศึกษา
2.1 ประเภทสาขา
3 ปรากฏการณ์ทางชีววิทยา
4 หลักของวิชาชีววิทยา
4.1 สารพันธุกรรม
4.2 วิวัฒนาการ
4.3 ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
5 ขอบเขตของชีววิทยา
5.1 โครงสร้างของชีวิต
5.2 สรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต
5.3 ความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
5.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
6 ประวัติศาสตร์ของชีววิทยา
7 สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
7.1 กลุ่มวิชาที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มสิ่งมีชีวิต
7.2 กลุ่มวิชาที่ศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต
7.3 อิ่น ๆ
8 รายการอ้างอิง
9 แหล่งข้อมูลอื่น
10
แขนงวิชาชีววิทยา
มีแขนงย่อย 4 กลุ่ม
- การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เช่นเซลล์ ยีน
- การศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย
- การศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต เช่น วิวัฒนาการ
- การศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต เช่น การพึงพาอาศัยกัน การเกื้อกุลของสิ่งมีชีวิต
ระบบการศึกษา
การศึกษาสิ่งมีชีวิตในระดับอะตอมและโมเลกุล จัดอยู่ในสาขาวิชาอณูชีววิทยา ชีวเคมี และอณูพันธุศาสตร์ การศึกษาในระดับเซลล์ จัดอยู่ในสาขาวิชาเซลล์วิทยา และในระดับเนื้อเยื่อ จัดอยู่ในสาขาวิชาสรีรวิทยา กายวิภาคศาสตร์ และมิญชวิทยา สาขาวิชาคัพภวิทยาเป็นการศึกษาการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิต
ประเภทสาขา
สาขาวิชาพันธุศาสตร์เป็นการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง สาขาวิชาพฤติกรรมวิทยาเป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
สาขาวิชาพันธุศาสตร์ประชากรเป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่อาศัย จัดอยู่ในสาขาวิชานิเวศวิทยาและชีววิทยาของวิวัฒนาการ
ปรากฏการณ์ทางชีววิทยา
ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงจากทางธรรมชาติ เกิดจากการความแตกต่างของสภาพพื้นที่ และการใช้ชีวิตของการดำรงชีวิต เช่น นกนางแอ่น ในทะเล กับ นกนางแอ่น บนภาคพื้นที่อยู่ในวงศ์ตระกูลเดียวกันแต่ แตกต่างในการดำรงชีวิตและลักษณะของสภาพร่างกาย เป็นต้น
หลักของวิชาชีววิทยา
- หลักทฤษฎีเซลล์ (Cell Theory). ซึ่งทฤษฎีนี้ระบุว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะต้องประกอบไปเซลล์อย่างน้อยหนึ่งเซลล์ ซึ่งเซลล์ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของการทำงานในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ กระบวนการทางกลศาสตร์และทางเคมีต่างก็ล้วนอาศัยเซลล์เป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการเช่นเดียวกัน ทั้งเชื่อว่าเซลล์สามารถเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (perexisting cells) ได้เท่านั้น
- หลักวิวัฒนาการ (Evolution). เชื่อในการเลือกสรรของธรรมชาติ (natural selection) และการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- หลักทฤษฎีพันธุกรรม (Gene Theory). เชื่อว่าลักษณะทางพันธุกรรมนั้น ถูกเก็บเป็นรหัสสิ่งมีชีวิตใน DNA ในยีนอันเป็นมูลฐานแห่งการถ่ายทอดพันธุกรรม
- หลักภาวะธำรงดุล (Homeostasis). เป็นหลักที่เชื่อในการรักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต ในการปรับระบบภาวะแวดล้อมทั้งทางฟิสิกส์และเคมีของระบบภายในสิ่งมีชีวิตให้เข้ากับระบบภายนอกสิ่งมีชีวิต
สารพันธุกรรม
สารพันธุวิศวกรรม หรือ สารพันธุกรรม ชื่ออื่น ๆ DNA เป็นสสารประเภท นาโนไมโคร ที่มีการประกอบด้วย กรดนิวคลีอิก เช่น ดีเอ็นเอ ทำหน้าที่เป็นรหัสพันธุกรรม
หลักของลักษณะร่วมกันอีกสิ่งหนึ่งคือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิด นอกเหนือจากเซลล์ของไวรัส ประกอบขึ้นจากเซลล์ และยังมีกระบวนการเจริญเติบโตคล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น สิ่งมีชีวิตชั้นสูงส่วนใหญ่จะมีเอ็มบริโอที่มีลักษณะขั้นต้นคล้ายกัน และมียีนคล้ายกันอีกด้วย ต้องเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันเท่านัน้จึงจะสามารถได้รับการผสมกันได้
วิวัฒนาการ
แนวคิดหลักของชีววิทยาคือ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีต้นกำเนิดร่วมกัน และมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโดยกระบวนการที่เรียกว่า วิวัฒนาการเช่นลิงมาเป็นมนุษย์
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
จอห์น แมคเคน กล่าวว่า พ่อผมบุกชิงควายในสนามรบ และเขาก็ทำได้สำเร็จ เพราะเขารู้ว่าควายมีรูปร่างอย่างไร
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ และกับสิ่งแวดล้อม เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การศึกษาระบบทางชีววิทยาทำได้ยากคือ ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีมากมายหลายทางที่เป็นไปได้ แม้แต่ในการศึกษาระดับที่เล็กที่สุด เช่น แบคทีเรียจะมีปฏิกิริยากับน้ำตาลที่อยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับที่สิงโตมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมขณะที่ออกหาอาหารในทุ่งหญ้าซาวันนา ส่วนพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อาจเป็นไปทั้งในลักษณะอาศัยอยู่ร่วมกัน คุกคามต่อกัน เป็นปรสิต หรือพึ่งพาอาศัยกัน ความสัมพันธ์นี้จะซับซ้อนมากขึ้นหากมีสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด หรือมากกว่า มีความเกี่ยวข้องต่อกันในระบบนิเวศ การศึกษาความสัมพันธ์นี้จัดเป็นสาขาวิชานิเวศวิทยา
ขอบเขตของชีววิทยา
ชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากจนไม่อาจศึกษาเป็นสาขาเดียวได้ จึงต้องแยกออกเป็นสาขาย่อยต่าง ๆ ในหัวข้อนี้จะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นสาขาที่ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต อย่างเช่นเซลล์ ยีน เป็นต้น กลุ่มที่สองศึกษาการทำงานของโครงสร้างต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย กลุ่มที่สามศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มที่สี่ศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่าง ๆ ในชีววิทยาให้เป็นระเบียบและเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว ขอบเขตของสาขาต่าง ๆ นั้นไม่แน่นอน และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์ เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ
โครงสร้างของชีวิต
อณูชีววิทยาเป็นสาขาหนึ่งในชีววิทยา ซึ่งศึกษาในระดับโมเลกุล สาขานี้มีความสอดคล้องกับสาขาอื่น ๆ ในชีววิทยา โดยเฉพาะสาขาพันธุศาสตร์และชีวเคมี อณูชีววิทยาเป็นการศึกษาปฏิสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในเซลล์ ซึ่งได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอ การสังเคราะห์โปรตีน และการควบคุมความสัมพันธ์เหล่านี้
ชีววิทยาของเซลล์เป็นสาขาที่ศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของเซลล์ รวมไปถึงพฤติกรรม ปฏิสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมของเซลล์ ทั้งระดับจุลภาคและระดับโมเลกุล สาขาวิชานี้จะศึกษาวิจัยทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อย่างเช่นแบคทีเรีย และเซลล์ที่ทำหน้าที่พิเศษในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ อย่างเช่นมนุษย์
พันธุศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษายีน พันธุกรรม และการผันแปรของสิ่งมีชีวิต ในการศึกษาวิจัยสมัยใหม่ มีเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาหน้าที่ของยีน หรือความสัมพันธ์ทางพันธุกรรม ในสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางพันธุกรรมจะอยู่ในโครโมโซม ซึ่งข้อมูลจะแทนที่ด้วยโครงสร้างทางเคมีของโมเลกุลของดีเอ็นเอ
สรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต
สรีรวิทยาเป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางกายภาพและทางชีวเคมีในสิ่งมีชีวิต เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ของโครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการศึกษาทางชีววิทยา การศึกษาทางสรีรวิทยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่หลักของสรีรวิทยาในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนแต่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์สามารถประยุกต์ใช้กับการศึกษาในเซลล์มนุษย์ได้ สรีรวิทยาของสัตว์เป็นการศึกษาทั้งในมนุษย์และสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ สรีรวิทยาของพืชก็มีวิธีการศึกษาเช่นเดียวกับในสัตว์
กายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่สำคัญในสรีรวิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่และความสัมพันธ์ของระบบอวัยวะในสิ่งมีชีวิต เช่น ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต การศึกษาเกี่ยวกับระบบเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็นสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อีก เช่น ประสาทวิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน
ความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาวิวัฒนาการมีความเกี่ยวข้องกับต้นกำเนิดและการสืบทอดลักษณะของสปีชี่ส์ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะที่ผ่านมา และต้องอาศัยนักวิทยาศาสตร์จากหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิต สาขาวิวิฒนาการมีรากฐานจากสาขาบรรพชีวินวิทยา ซึ่งอาศัยซากดึกดำบรรพ์ในการตอบคำถามเกี่ยวกับรูปแบบและจังหวะของวิวิฒนาการ
สาขาวิชาหลักใหญ่ที่เกี่ยวกับอนุกรมวิธานมี 2 สาขา คือ พฤกษศาสตร์ และสัตววิทยา พฤกษศาสตร์เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวพืช มีเนื้อหาครอบคลุมกว้างขวางตั้งแต่การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ เมแทบอลิซึม โรค และวิวัฒนาการของพืช ส่วนสัตววิทยาจะศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ รวมทั้งลักษณะทางสรีรวิทยาของสัตว์ซึ่งอยู่ในสาขากายวิภาคศาสตร์และคัพภวิทยา กลไกทางพันธุศาสตร์และการเจริญของพืชและสัตว์จะศึกษาในสาขาอณูชีววิทยา อณูพันธุศาสตร์ และชีววิทยาของการเจริญ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
สาขานิเวศวิทยาจะศึกษาการกระจายและความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตจะหมายถึงถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งจะรวมไปถึงปัจจัยทางกายภาพอย่างสภาพภูมิอากาศและลักษณะทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน การศึกษาระบบทางนิเวศวิทยามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับสิ่งมีชีวิต ระดับประชากร ระดับระบบนิเวศ ไปจนถึงระดับโลกของสิ่งมีชีวิต จึงจะเห็นได้ว่า นิเวศวิทยาเป็นสาขาที่ครอบคลุมถึงสาขาอื่น ๆ อีกมากมาย
สาขาพฤติกรรมวิทยาจะศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ (โดยเฉพาะสัตว์สังคมอย่างสัตว์จำพวกลิงและสัตว์กินเนื้อ) บางครั้งอาจจัดเป็นสาขาหนึ่งในสัตววิทยา นักพฤติกรรมวิทยาจะเน้นศึกษาที่วิวัฒนาการของพฤติกรรม และความเข้าใจในพฤติกรรม โดยตั้งอยู่บนทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์ของชีววิทยา
การค้นพบที่สำคัญทางด้านชีววิทยาได้แก่
- ทฤษฎีเซลล์
- ทฤษฎีการเกิดโรค
- พันธุศาสตร์
- วิวัฒนาการ
- ดีเอ็นเอ
สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มวิชาที่ศึกษาสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มสิ่งมีชีวิต
สัตววิทยา (zoology) ศึกษาชีววิทยาของสัตว์ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำพวก ฟองน้ำ แมงกะพรุน พยาธิตัวแบน พยาธิตัวกลม กลุ่มหนอนปล้อง สัตว์ที่มีข้อปล้อง กลุ่มสัตว์พวกหอย ปลาดาว จนถึง สัตว์มีกระดูกสันหลัง และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
พฤกษศาสตร์ (Botany) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับพืช ศึกษาทั้งในด้านโครงสร้าง การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ กระบวนการสร้าง (แอแนบอลิซึม) และสลาย (แคแทบอลิซึม) โรค และคุณสมบัติทางเคมีและความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ การกระจายของพืชในส่วนต่าง ๆ ของโลก
จุลชีววิทยา (Microbiology) คือการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก ส่วนมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งเรียกว่าจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย ไวรัส เชื้อรา และ ยีสต์
กีฏวิทยา (Entomology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์ในกลุ่มของแมลง การจัดจำแนก สรีรวิทยา สัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของแมลง
ปักษีวิทยา (Ornithology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับนก
เห็ดวิทยา ราวิทยาหรือ กิณวิทยา (Mycology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ด และ รา
มีนวิทยา (Ichthyology) ศึกษาปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบต่าง ๆ ภายในตัวปลา การจัดจำแนกปลาออกเป็นกลุ่มหรือประเภทต่าง ๆ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปลา
สังขวิทยา (Malacology) ศึกษาหอย โดยเฉพาะหอยน้ำจืดที่เป็นเจ้าบ้านส่งผ่านของพยาธิ
ปรสิตวิทยา (Parasitology) ศึกษาปรสิต ซึ่งดำรงชีพโดยเป็นตัวเบียฬของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน
กลุ่มวิชาที่ศึกษาจากโครงสร้างหน้าที่และการทำงานของสิ่งมีชีวิต
กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) เป็นการศึกษาโครงสร้างและการจัดเรียงตัวของร่างกายมนุษย์ สาขาวิชาหลักของกายวิภาคศาสตร์ได้แก่
มหกายวิภาคศาสตร์ (Gross anatomy) ซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงสร้างที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
จุลกายวิภาคศาสตร์ หรือมิญชวิทยา หรือวิทยาเนื้อเยื่อ (Histology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษากายวิภาคศาสตร์ในระดับจุลภาคซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศน์
สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษาโครงสร้างและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต
สรีรวิทยา (Physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี แบ่งเป็น 2 สาขาย่อย คือ สรีรวิทยาของพืช และสรีรวิทยาของสัตว์- * อณูชีววิทยา (Molecular biology) หรือ ชีววิทยาโมเลกุล เป็นสาขาย่อย ที่แตกออกมาจากชีวเคมี เน้นศึกษาโครงสร้างและการทำงานของยีน (gene) ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมบนสายดีเอ็นเอ หรือ อาร์เอ็นเอ ตลอดจนการควบคุมการทำงานของยีน ในระดับต่าง ๆ จนออกมาเป็น สาย อาร์เอ็นเอ และ เป็น โปรตีน
พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ สาขาแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการศึกษาหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน, กรรมพันธุ์ (heredity) , และวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ลักษณะทางพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต จากชั่วชีวิตหนึ่งไปอีกชั่วชีวิตหนึ่ง
เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) ศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ รูปร่าง ลักษณะ และจำนวนของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม และการแบ่งเซลล์ในสิ่งมีชีวิต
นิเวศวิทยา (Ecology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม
คัพภวิทยา หรือ วิทยาเอ็มบริโอ (Embryology) เป็นการศึกษาการเจริญของเอ็มบริโอ เอ็มบริโอคือขั้นหนึ่งของการเจริญของสิ่งมีชีวิตก่อนคลอดหรือออกจากไข่ หรือในพืชคือในระยะก่อนการงอก (germination)
ชีววิทยาของเซลล์ (cell biology) หรือ วิทยาเซลล์ (cytology) เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ ทั้งในด้านคุณสมบัติทางสรีรวิทยา, โครงสร้าง, ออร์แกเนลล์ที่อยู่ภายใน, ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม, วัฎจักรเซลล์, การแบ่งเซลล์, และการตายของเซลล์
มหพยาธิวิทยา (Gross pathology) หมายถึงลักษณะแสดงในระดับมหัพภาค (หรือระดับตาเปล่า) ของโรคที่เกิดในอวัยวะ, เนื้อเยื่อ และช่องตัว ศัพท์ดังกล่าวใช้กันทั่วไปในวิชาพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology) เพื่อหมายถึงการตรวจเพื่อวินิจฉัยหาข้อมูลในชิ้นเนื้อตัวอย่างหรือการชันสูตรพลิกศพ (autopsy)
อิ่น ๆ
ชีวเคมี (Biochemistry) เป็นการศึกษา ความเป็นไปในระดับชีวโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต ทั้งองค์ประกอบทางชีวเคมีของเซลล์หรืออณุภาคต่าง ๆ (รวมไวรัส) โครงสร้างและการเปลี่ยนแปลง ทั้งการสร้างและทำลายโมเลกุลเหล่านั้น (ทั้งสารโมเลกุลเล็ก และ โมเลกุลใหญ่ เป็น มหโมเลกุล (macromolecules) เช่น โปรตีน (Protein) (รวม เอ็นไซม์ / Enzyme) ดีเอ็นเอ (DNA) อาร์เอ็นเอ (RNA) การควบคุมการเปลี่ยนแปลงของโมเลกุล การควบคุมการทำงานในระดับต่าง ๆ การสร้างพลังงานและการใช้พลังงาน อันเป็นปรากฏการณ์ของชีวิต
สัณฐานวิทยา (Morphology) ศึกษารูปพรรณสัณฐานของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจุลชีพ สัตว์ หรือพืช เพื่อประกอบการระบุชนิด เช่น ลักษณะรูปร่างของดอกไม้ หรือ การจัดเรียงตัวของใบ
อนุกรมวิธาน (Taxonomy) ศึกษาการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต ออกเป็นหมวดหมู่ ในทางวิวัฒนาการ (evolution) สมัยก่อนเน้นข้อมูลสัณฐานวิทยา ปัจจุบันใช้ข้อมูลระดับโมเลกุลมากขึ้น กลายเป็นวิชา Molecular Systematics
บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) ศึกษาฟอสซิล (fossils)
ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) หรือ ชีววิทยาเชิงคำนวณ (computational biology) เป็นบูรณาการของสหวิชา ศึกษาโดยใช้ความรู้จาก อณูชีววิทยา ชีวเคมี คณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สืบค้น ประมวลผลข้อมูลทางชีววิทยา เพื่อตอบปัญหาทางชีววิทยา หรือทำแบบจำลองเพื่อทำนายความเป็นไปได้ทางชีววิทยา ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ต่อ ๆ มา เช่น จีโนมิกส์ (Genomics) โปรตีโอมิส์ (Proteomics) เมตะโบโลมิกส์ (Metabolomics) ฯลฯ
ชีววิทยาระบบ (Systems biology) เป็นศาสตร์ที่อาศัยความรู้ทางชีวสารสนเทศศาสตร์ คณิตศาสตร์ชั้นสูง วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ ชีวเคมี เพื่อทำแบบจำลองของปราฏการณ์ภายในเซลล์ หรือในสิ่งมีชีวิต บนคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยการคำนวณ จุดมุ่งหมายก็เพื่อทำนายปรากฏการณ์ของชีวิตในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การตอบสนองของเซลล์ต่อยา หรือ ต่อสภาวะต่าง ๆ เป็นต้น ก่อนการทำการทดลองจริงในห้องปฏิบัติการ (wet lab)
ประสาทวิทยาศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ โครงสร้าง หน้าที่ การเจริญเติบโต พันธุกรรมศาสตร์ ชีวเคมี สรีรวิทยา, เภสัชวิทยา และ พยาธิวิทยา ของระบบประสาท นอกจากนี้การศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรม และ การเรียนรู้ ยังถือว่าเป็นสาขาของประสาทวิทยาอีกด้วย
รายการอ้างอิง
↑ http://www.bio.txstate.edu/~wetlands/Glossary/glossary.html
แหล่งข้อมูลอื่น
ชีววิทยา ที่ดีมอซ- OSU's Phylocode
- Biology Online - Wiki Dictionary
- MIT video lecture series on biology
Biology and Bioethics.
Biological Systems - Idaho National Laboratory
The Tree of Life: A multi-authored, distributed Internet project containing information about phylogeny and biodiversity.- Using the Biological Literature Web Resources
- ลิงก์วารสาร
PLos Biology A peer-reviewed, open-access journal published by the Public Library of Science
Current Biology General journal publishing original research from all areas of biology
Biology Letters A high-impact Royal Society journal publishing peer-reviewed Biology papers of general interest
Science Magazine Internationally Renowned AAAS Science Publication - See Sections of the Life Sciences
International Journal of Biological Sciences A biological journal publishing significant peer-reviewed scientific papers
Perspectives in Biology and Medicine An interdisciplinary scholarly journal publishing essays of broad relevance
Animalia - Bos primigenius taurus
Planta - Triticum
Fungi - Morchella esculenta
Stramenopila/Chromista - Fucus serratus
Bacteria - Gemmatimonas aurantiaca (- = 1 Micrometer)
Archaea - Halobacteria
Virus - Gamma phage
|
หมวดหมู่:
- ธรรมชาติ
- ชีววิทยา
(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.180","walltime":"0.238","ppvisitednodes":"value":684,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":61039,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":22641,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":7,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":5926,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 125.217 1 -total"," 38.87% 48.674 1 แม่แบบ:Navboxes"," 17.42% 21.818 1 แม่แบบ:Multiple_image"," 11.22% 14.050 2 แม่แบบ:Navbox"," 10.95% 13.708 1 แม่แบบ:Nature_nav"," 9.55% 11.964 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 6.28% 7.863 1 แม่แบบ:วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ"," 5.33% 6.674 1 แม่แบบ:ชีววิทยา"," 4.89% 6.124 1 แม่แบบ:Lang-en"," 4.62% 5.779 1 แม่แบบ:Navbox_generic"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.022","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":1267861,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1274","timestamp":"20190426031146","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e0au0e35u0e27u0e27u0e34u0e17u0e22u0e32","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q420","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q420","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2004-04-05T22:02:02Z","dateModified":"2019-04-06T03:57:44Z","headline":"u0e01u0e32u0e23u0e28u0e36u0e01u0e29u0e32u0e2au0e34u0e48u0e07u0e21u0e35u0e0au0e35u0e27u0e34u0e15"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":151,"wgHostname":"mw1241"););