Skip to main content

การตั้งชื่อทวินาม เนื้อหา ประวัติ กฎการตั้งชื่อ ดูเพิ่ม อ้างอิง รายการเลือกการนำทางWriting for Science and Engineering: Papers, Presentation"Recommendation 60F"Plant Names in Botanical Databases

ชีววิทยาระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต


อังกฤษสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ภาษาละตินสกุลคัสพาร์ เบาฮีนโยฮันน์ เบาฮีนระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบไตรนามคาร์ล ลินเนียส










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




การตั้งชื่อทวินาม




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางจาก ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม)





ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา


ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (อังกฤษ: Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง




เนื้อหา





  • 1 ประวัติ


  • 2 กฎการตั้งชื่อ


  • 3 ดูเพิ่ม


  • 4 อ้างอิง




ประวัติ


ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ถูกคิดขึ้นใช้เป็นครั้งแรกโดยคัสพาร์ เบาฮีน (Gaspard Bauhin) และโยฮันน์ เบาฮีน (Johann Bauhin) ซึ่งมีชีวิตก่อนคาร์ล ลินเนียสเกือบ 200 ปี ทว่าการใช้ระบบนี้ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ ซึ่งในสมัยนั้นส่วนใหญ่ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบไตรนาม แต่ต่อมาถึงสมัยของคาร์ล ลินเนียส ระบบนี้ก็เป็นที่แพร่หลายขึ้นมาก



กฎการตั้งชื่อ


มีหลักเกณฑ์ในการเขียนดังนี้


  1. ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล (genus) และ คำแสดงคุณลักษณะ (specific epithet)

  2. ชื่อทวินามมักจะถูกพิมพ์ด้วยตัวเอียง เช่น Homo sapiens หากเป็นการเขียนด้วยลายมือควรขีดเส้นใต้ลงไปแทน

  3. คำศัพท์คำแรก (ชื่อสกุล) ต้องขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่เสมอ นอกจากนั้นใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด[1][2]เช่น Canis lupus หรือ Anthus hodgsoni แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ตั้งชื่อทวินามไว้ก่อนหน้าศตวรรษที่ 20 และขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่อยู่แล้ว ไม่ต้องเขียนเป็นตัวเล็กอีก เช่น Carolus Linnaeus

  4. ในสปีชีส์ย่อย ชื่อจะประกอบด้วยสามส่วนและสามารถเขียนได้สองแบบ โดยพืชและสัตว์จะเขียนต่างกัน[3] เช่น

    • เสือโคร่งเบงกอลคือ Panthera tigris tigris และ เสือโคร่งไซบีเรียคือ Panthera tigris altaica

    • ต้นเอลเดอร์ดำยุโรปคือ Sambucus nigra subsp. nigra และเอลเดอร์ดำอเมริกาคือ Sambucus nigra subsp. canadensis


  5. ในตำราเรียน มักมีชื่อสกุลย่อ หรือชื่อสกุลเต็มของนักวิทยาศาสตร์ผู้จัดทำชื่อนั้นต่อท้าย โดยชื่อสกุลย่อใช้กับพืช ส่วนชื่อสกุลเต็มใช้กับสัตว์ ในบางกรณีถ้าชื่อสปีชีส์เคยถูกกำหนดให้ชื่อสกุลที่ต่างออกไปจากชื่อในปัจจุบัน จะคร่อมชื่อสกุลนักวิทยาศาสตร์กับปีที่จัดทำไว้ เช่น Amaranthus retroflexus L., Passer domesticus (Linnaeus, 1758) ที่ใส่วงเล็บเพราะในอดีตชื่อหลังอยู่ในสกุล Fringilla

  6. หากใช้กับชื่อสามัญ เรามักใส่ชื่อทวินามไว้ในวงเล็บต่อท้ายชื่อสามัญ เช่น "นกกระจอกบ้าน (Passer domesticus) กำลังมีจำนวนลดลงอย่างน่าตกใจ"

  7. การเขียนชื่อทวินามเป็นครั้งแรกในรายงานหรือสิ่งพิมพ์ เราเขียนเป็นชื่อเต็มก่อน หลังจากนั้นเราสามารถย่อชื่อสกุลให้สั้นลงเป็นอักษรตัวแรกของชื่อสกุลและตามด้วยจุด เช่น Canis lupus ย่อเป็น C. lupus ด้วยเหตุที่เราสามารถย่อชื่อในลักษณะนี้ได้ ทำให้ชื่อย่อเป็นที่รู้จักและกล่าวถึงมากกว่าชื่อเต็ม เช่น T. Rex คือ Tyrannosaurus rex หรือ E. coli คือ Escherichia coli เป็นต้น

  8. บางกรณี เราเขียน "sp." (สำหรับสัตว์) หรือ "spec." (สำหรับพืช) ไว้ท้ายชื่อสกุล ในกรณีที่ไม่ต้องการเจาะจงชื่อสปีชีส์ และเขียน "spp." ในกรณีที่ต้องการกล่าวถึงหลายสปีชีส์ ตัวอย่างเช่น "Canis sp.", หมายถึงสปีชีส์หนึ่งในสกุล Canis

  9. สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งอาจมีชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่าหนึ่งชื่อ ให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนเป็นชื่อหลัก ส่วนชื่ออื่นเป็นชื่อพ้อง[4]

  10. ชื่อวิทยาศาสตร์มักจะบอกลักษณะบางอย่างกับสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น[4] ดังเช่น
























บอกสถานที่พบหรือที่อยู่อาศัย
ชื่อสามัญชื่อวิทยาศาสตร์ความหมาย
ไส้เดือนดินLumbricus terrestristerrestris หมายถึง อาศัยอยู่บนบกหรือในดิน

พยาธิใบไม้ในตับแกะ
Fasciola hepaticahepatica หมายถึง ตับ
ปลาซีลาแคนท์Latimeria chalumnaeLatimeria มาจากคำว่า Latimer ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ที่สนใจและพบปลาชนิดนี้
chalumnae มาจากคำว่า Chalumna ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำที่พบปลาชนิดนี้บริเวณปากแม่น้ำ
ไดโนเสาร์ภูเวียงโกซอรัสPhuwiangosaurus sirindhornaePhuwiangosaurus หมายถึงไดโนเสาร์ที่พบใน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
ไม้รวกThyrsostachys siamensissiamensis มาจากคำว่า siam ซึ่งหมายถึง ประเทศไทย
มะม่วงMangifera indicaindica หมายถึง ประเทศอินเดีย




















บอกลักษณะ เช่น สี รูปร่าง ขนาด
ชื่อสามัญชื่อวิทยาศาสตร์ความหมาย
จำปีMichelia albaalba หมายถึง สีขาว

กล้วยไม้ชนิดหนึ่ง
Musa rubrarubra หมายถึง สีแดง
มะยมPhyllantus acidusacidus หมายถึง มีรสเปรี้ยว
ปลาบึกPangasianodon gigasgigas หมายถึง ใหญ่ที่สุด
เชื้อโรคแอนแทรกซ์
Bacillus anthracisbacillus หมายถึง รูปท่อน
anthrasis หมายถึง โรคแอนแทรกซ์

















บอกชื่อผู้ตั้งชื่อหรือเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ใดผู้หนึ่ง
ชื่อสามัญชื่อวิทยาศาสตร์ความหมาย
ปลาบู่มหิดลMahidoli mystasinaMahidoli มาจากพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ปูเจ้าฟ้าPhricothalphusa sirindhornsirindhorn มาจากพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กั้งเจ้าฟ้า
Acanthosquilla sirindhorn (Naiyanetr, 1995)
sirindhorn มาจากพระนามของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
Naiyanetr คือชื่อย่อของ ศ. ไพบูลย์ นัยเนตร ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ตั้งชื่อเมื่อปี ค.ศ. 1995
กุ้งดีดขันAlpheus sudarasadara มาจากชื่อสกุลของ ดร.สุรพล สุดารา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ดูเพิ่ม


  • การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

  • อนุกรมวิธาน


อ้างอิง




  1. Heather Silyn-Roberts (2000). Writing for Science and Engineering: Papers, Presentation. p. 198. ISBN 0750646365..mw-parser-output cite.citationfont-style:inherit.mw-parser-output qquotes:"""""""'""'".mw-parser-output code.cs1-codecolor:inherit;background:inherit;border:inherit;padding:inherit.mw-parser-output .cs1-lock-free abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/65/Lock-green.svg/9px-Lock-green.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-limited a,.mw-parser-output .cs1-lock-registration abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d6/Lock-gray-alt-2.svg/9px-Lock-gray-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-lock-subscription abackground:url("//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/aa/Lock-red-alt-2.svg/9px-Lock-red-alt-2.svg.png")no-repeat;background-position:right .1em center.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registrationcolor:#555.mw-parser-output .cs1-subscription span,.mw-parser-output .cs1-registration spanborder-bottom:1px dotted;cursor:help.mw-parser-output .cs1-hidden-errordisplay:none;font-size:100%.mw-parser-output .cs1-visible-errorfont-size:100%.mw-parser-output .cs1-subscription,.mw-parser-output .cs1-registration,.mw-parser-output .cs1-formatfont-size:95%.mw-parser-output .cs1-kern-left,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-leftpadding-left:0.2em.mw-parser-output .cs1-kern-right,.mw-parser-output .cs1-kern-wl-rightpadding-right:0.2em


  2. "Recommendation 60F". International Code of Botanical Nomenclature, Vienna Code. 2006. pp. 60F.1.


  3. Frank A. Bisby, Plant Names in Botanical Databases, Plant Taxonomic Database Standards No. 3, Version 1.00, December 1994, Published for the International Working Group on Taxonomic Databases for Plant Sciences (TDWG) by the Hunt Institute for Botanical Documentation, Carnegie Mellon University, Pittsburgh


  4. 4.04.1 ผศ.ประสงค์ หลำสะอาด และ ผศ.ดร.จิตเกษม หลำสะอาด, ชีววิทยา ม.6 เล่ม 5, บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด, หน้า 259-260










ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=การตั้งชื่อทวินาม&oldid=7237396"










รายการเลือกการนำทาง


























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.096","walltime":"0.147","ppvisitednodes":"value":233,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":4446,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":214,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":7,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":0,"limit":500,"unstrip-depth":"value":1,"limit":20,"unstrip-size":"value":7303,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 122.377 1 -total"," 87.67% 107.287 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 62.40% 76.361 1 แม่แบบ:Cite_book"," 6.43% 7.863 1 แม่แบบ:Cite_web"," 3.27% 4.004 1 แม่แบบ:Lang-en"," 2.18% 2.674 1 แม่แบบ:Main_other"," 1.53% 1.867 1 แม่แบบ:LangWithName"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.043","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":1502162,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1271","timestamp":"20190428172026","ttl":2592000,"transientcontent":false););"@context":"https://schema.org","@type":"Article","name":"u0e01u0e32u0e23u0e15u0e31u0e49u0e07u0e0au0e37u0e48u0e2du0e17u0e27u0e34u0e19u0e32u0e21","url":"https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1","sameAs":"http://www.wikidata.org/entity/Q36642","mainEntity":"http://www.wikidata.org/entity/Q36642","author":"@type":"Organization","name":"Contributors to Wikimedia projects","publisher":"@type":"Organization","name":"Wikimedia Foundation, Inc.","logo":"@type":"ImageObject","url":"https://www.wikimedia.org/static/images/wmf-hor-googpub.png","datePublished":"2006-12-15T08:28:26Z","dateModified":"2017-09-29T04:26:31Z"(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgBackendResponseTime":141,"wgHostname":"mw1250"););

Popular posts from this blog

Masuk log Menu navigasi

Identifying “long and narrow” polygons in with PostGISlength and width of polygonWhy postgis st_overlaps reports Qgis' “avoid intersections” generated polygon as overlapping with others?Adjusting polygons to boundary and filling holesDrawing polygons with fixed area?How to remove spikes in Polygons with PostGISDeleting sliver polygons after difference operation in QGIS?Snapping boundaries in PostGISSplit polygon into parts adding attributes based on underlying polygon in QGISSplitting overlap between polygons and assign to nearest polygon using PostGIS?Expanding polygons and clipping at midpoint?Removing Intersection of Buffers in Same Layers

Старые Смолеговицы Содержание История | География | Демография | Достопримечательности | Примечания | НавигацияHGЯOLHGЯOL41 206 832 01641 606 406 141Административно-территориальное деление Ленинградской области«Переписная оброчная книга Водской пятины 1500 года», С. 793«Карта Ингерманландии: Ивангорода, Яма, Копорья, Нотеборга», по материалам 1676 г.«Генеральная карта провинции Ингерманландии» Э. Белинга и А. Андерсина, 1704 г., составлена по материалам 1678 г.«Географический чертёж над Ижорскою землей со своими городами» Адриана Шонбека 1705 г.Новая и достоверная всей Ингерманландии ланткарта. Грав. А. Ростовцев. СПб., 1727 г.Топографическая карта Санкт-Петербургской губернии. 5-и верстка. Шуберт. 1834 г.Описание Санкт-Петербургской губернии по уездам и станамСпецкарта западной части России Ф. Ф. Шуберта. 1844 г.Алфавитный список селений по уездам и станам С.-Петербургской губернииСписки населённых мест Российской Империи, составленные и издаваемые центральным статистическим комитетом министерства внутренних дел. XXXVII. Санкт-Петербургская губерния. По состоянию на 1862 год. СПб. 1864. С. 203Материалы по статистике народного хозяйства в С.-Петербургской губернии. Вып. IX. Частновладельческое хозяйство в Ямбургском уезде. СПб, 1888, С. 146, С. 2, 7, 54Положение о гербе муниципального образования Курское сельское поселениеСправочник истории административно-территориального деления Ленинградской области.Топографическая карта Ленинградской области, квадрат О-35-23-В (Хотыницы), 1930 г.АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Л., 1933, С. 27, 198АрхивированоАдминистративно-экономический справочник по Ленинградской области. — Л., 1936, с. 219АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Л., 1966, с. 175АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Лениздат, 1973, С. 180АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — Лениздат, 1990, ISBN 5-289-00612-5, С. 38АрхивированоАдминистративно-территориальное деление Ленинградской области. — СПб., 2007, с. 60АрхивированоКоряков Юрий База данных «Этно-языковой состав населённых пунктов России». Ленинградская область.Административно-территориальное деление Ленинградской области. — СПб, 1997, ISBN 5-86153-055-6, С. 41АрхивированоКультовый комплекс Старые Смолеговицы // Электронная энциклопедия ЭрмитажаПроблемы выявления, изучения и сохранения культовых комплексов с каменными крестами: по материалам работ 2016-2017 гг. в Ленинградской области